20 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ

by ปัญญาณัฏฐ์ ณัธญาธรนินน์

1. ห่างออกไปไม่ไกล 3 ไมล์ จากจุดศูนย์กลางของการระเบิดมีสถานที่แข่งขันเกมโกะ หรือ หมากล้อม ซึ่งกำลังดำเนินการแข่งขันกันอยู่ แต่เมื่อเกิดการระเบิดขึ้น ส่งผลให้อาคารที่ใช้ทำการแข่งขันได้รับความเสียหาย ผู้เข้าแข่งขัน รวมทั้งผู้ที่มาชมการแข่งขันต่างพากันบาดเจ็บจากแรงระเบิด

 

วันที่ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ มีสถานที่แข่งขันเกมโกะ หรือ หมากล้อม ซึ่งกำลังดำเนินการแข่งขันกันอยู่ ที่มาของภาพ

2. ห้องใต้ดินของธนาคารในเมืองฮิโรชิม่า ซึ่งเป็นห้องนิรภัย เพื่อใช้เก็บทองคำและธนบัตร สามารถทนทานจากแรงระเบิดได้ ภายหลังสงครามผู้จัดการธนาคารได้ส่งจดหมายขอบคุณไปยังบริษัทที่สร้างห้องนิรภัยแห่งนี้ที่รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ใจความว่า “ห้องนิรภัยของคุณแข็งแกร่งทนทาน แม้กระทั่งระเบิดนิวเคลียร์”

 

ห้องนิรภัยของธนาคารในเมืองฮิโรชิม่าที่สามารถทนต่อแรงระเบิดนิวเคลียร์ได้

ที่มาของภาพ

 

ทัตซึโทมุ ยามากุชิ ผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ ทั้งที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ

ที่มาของภาพ

3. ทัตซึโทมุ ยามากุชิ คือหนึ่งในผู้โชคดีที่รอดจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในเมืองฮิโรชิม่า โดยเขารีบหลบลงไปยังหลุมหลบภัยทางอากาศในช่วงที่มีสัญญาณเตือนภัย หลังจากนั้นเขายังเดินทางต่อไปยังเมืองนางาซากิในเช้าของวันนั้น หลังจากนั้นสามวัน เมืองนางาซากิก็ถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์อีกแห่ง และเหลือเชื่อที่เขายังรอดชีวิตมาได้

4. กองทัพสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดสำหรับการฝึกลงบนแผ่นดินญี่ปุ่น ซึ่งมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับระเบิดนิวเคลียร์ที่กำลังจะถูกนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ จำนวนเกือบ 50 ลูก มันมีชื่อเล่นว่า “ระเบิดฟักทอง หรือ Pumpkin Bomb”

 

ระเบิดฟักทอง หรือ Pumpkin Bomb ที่มาของภาพ

5. กองทัพญี่ปุ่นสั่งระดมพลทั้งหมด โดยการเกณฑ์ทั้งชาย หญิง และเด็ก เพื่อเป็นกำลังรบในการต้านทานการบุกของกองทัพสหรัฐฯ ที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นต่อแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น แต่ทว่า เมื่อองค์จักรพรรดิมีพระราชประสงค์ที่จะยอมจำนนต่อกองกำลังพันธมิตรเพื่อยุติสงคราม กลับมีกำลังทหารบางส่วนไม่พอใจ และพยายามก่อการรัฐประหาร

6. Gingko Biloba หรือ ต้นแปะก๊วยในเมืองฮิโรชิม่า คือหนึ่งในประเภทของต้นไม้ที่เหลือรอดมาจากการระเบิดของนิวเคลียร์ ญี่ปุ่นเรียกต้นไม้เหล่านี้ว่า “ฮิบาคุจูมงกุ 被爆樹木 หรือ ต้นไม้นิวเคลียร์” ปัจจุบันมันยังยืนต้นอยู่จนถึงทุกวันนี้ ผลของต้นแปะก๊วยต้นนี้ได้รับการนำไปปลูกต่อในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

 

ต้นแปะก๊วยแห่งฮิโรชิม่า ที่มาของภาพ

7. ภายหลังจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโรชิม่า ประชาชนที่รอดชีวิตบางส่วนอพยพหนีไปยังเมืองนางาซากิ ซึ่งเมืองนางาซากิเองก็ถูกทิ้งระเบิดในอีกสามวันต่อมา รวมแล้วมีประชาชนที่รอดชีวิตจากเมืองฮิโรชิม่าที่เดินทางไปเมืองนางาซากิ และยังรอดชีวิตจากการระเบิดทิ้งระเบิดที่เมืองนางาซากิด้วยเช่นกัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 164 คน หนึ่งในนั้นมีทัตซึโทมุ ยามากุชิ รวมอยู่ด้วย

8. ในบรรดาชาวเมืองฮิโรชิม่าซึ่งเดินทางอพยพไปยังเมืองนางาซากิ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งรวมอยู่ด้วย เมื่อเขาไปถึงเมืองนางาซากิ เจ้าหน้าที่ตำรวจคนนี้ได้แนะนำเพื่อนตำรวจเมืองนางาซากิให้หมอบลงกับพื้นทันทีที่เห็นแสงจากการระเบิด รวมทั้งห้ามจ้องมองแสงของการระเบิดนี้ด้วย คำแนะนำนี้ส่งผลให้ไม่มีตำรวจเมืองนางาซากิเสียชีวิตจากการระเบิดนิวเคลียร์แม้แต่คนเดียว

9. เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่เสียชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ในเมืองฮิโรชิม่าและเมืองนางาซากิ เป็นชาวเกาหลี ซึ่งถูกเกณฑ์เข้ามาเป็นทหาร เพื่อทำการรบป้องกันประเทศญี่ปุ่น

 

ที่มาของภาพ

10. ในตอนแรก ประเทศสหรัฐอเมริกาปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า ระเบิดนิวเคลียร์จะทิ้งกัมมันตภาพรังสีเอาไว้

11. ทั้งเมืองฮิโรชิม่าและเมืองนางาซากิ คือเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มากที่สุด ตอนแรกก่อนที่เมืองทั้งสองแห่งนี้จะถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ กรุงโตเกียวได้รับความเสียหายมากที่สุด โดยเฉพาะยุทธการมีททิ่งเฮ้าส์ (Operation Meetinghouse) ซึ่งเป็นการทิ้งระเบิดเพลิงต่อกรุงโตเกียวครั้งใหญ่ของกองทัพพันธมิตร

 

เครื่องบินทิ้งระเบิดบี 29 ชื่อ อีโนล่า เกย์ (เป็นชื่อแม่ของกัปตันเครื่องบิน) บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไปทิ้งลงเมือง ฮิโรชิม่า ที่มาของภาพ

12. มีลูกเรือเพียง 3 นาย จาก 12 นาย บนเครื่องบินบี 29 ที่มีชื่อเล่นว่าอีโนล่า เกย์ (เป็นชื่อแม่ของพันเอกพอล ทิปเบตกัปตันเครื่องบิน) ที่บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ รู้ว่าแท้จริงแล้วภารกิจของพวกเขานั้นคืออะไร

13. เปลวเพลิงแห่งสันติภาพถูกจุดขึ้น ณ เมืองฮิโรชิม่า ในปี ค.ศ. 1964 ยังคงลุกโชติช่วงมาจนถึงทุกวันนี้ มันจะถูกดับก็ต่อเมื่อไม่มีอาวุธนิวเคลียร์อีกแล้วบนโลกใบนี้

 

เปลวเพลิงแห่งสันติภาพที่ถูกจุดขึ้น ณ เมืองฮิโรชิม่า ค.ศ. 1964 ยังคงลุกโชติช่วงมาจนถึงทุกวันนี้ ที่มาของภาพ

14. เมืองเกียวโตอยู่ในรายชื่อของเป้าหมายที่กองทัพสหรัฐฯ จะนำระเบิดนิวเคลียร์ไปทิ้ง แต่มันได้รับการคัดชื่อออกไป เพียงเพราะว่ามันเคยเป็นสถานที่ที่ เฮนรี่ แอล สติมสัน รัฐมนตรีกระทรวงสงครามของอเมริกาเคยเดินทางไปฮันนีมูนที่เมืองแห่งนี้มาก่อน จึงถูกเปลี่ยนเป้าหมายเป็นเมืองนางาซากิ

15. ต้องใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ทางกรุงโตเกียวจึงทราบว่าเมืองฮิโรชิม่าทั้งเมืองถูกทำลายไปแล้ว พวกเขาไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับเมืองเมืองฮิโรชิม่ากันแน่ ในตอนแรกพวกเขายังเข้าใจว่า ทั้งเมืองถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดตามแบบธรรมดา จนกระทั่ง 16 ชั่วโมงต่อมา เมื่อทางกรุงวอชิงตันประกาศแจ้งให้ทั้งโลกทราบว่า การโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลกได้เกิดขึ้นแล้ว

 

ศพของผู้เสียชีวิตภายหลังจากการทิ้งระเบิด ที่มาของภาพ

16. ก่อนที่จะมีการทิ้งระเบิด ทหารญี่ปุ่นตรวจพบการเข้ามาของฝูงบินรบอเมริกันฝูงเล็กฝูงหนึ่งเหนือน่านฟ้าญี่ปุ่น พวกเขากลับไม่ส่งเครื่องบินรบบินขึ้นไปสกัดกั้น เพราะเข้าใจว่าฝูงบินเล็กๆ ฝูงนี้คงจะไม่ใช่ภัยคุกคามร้ายแรงใดๆ ต่อญี่ปุ่น อาจเป็นเพียงแค่การบินมาเพื่อทิ้งระเบิดสำหรับการฝึก

17. นักบินและลูกเรือบนเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี 29 ที่บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไปทิ้งที่ฮิโรชิม่า ได้รับเม็ดยาไซยาไนด์ ซึ่งเป็นยาพิษ โดยลูกเรือทุกคนได้รับคำสั่งว่า หากเครื่องบินถูกยิงตกพวกเขาต้องตายไปพร้อมกับเครื่อง หรือถ้ารอดจากเครื่องตก พวกเขาต้องปลิดชีพตัวเองด้วยยาพิษนี้

18. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองฮิโรชิม่าเป็นสัญลักษณ์และตัวแทนของ “เมืองอนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพ หรือ Peace Memorial City” ย้ำเตือนให้คนทั้งโลกได้ตระหนักถึงหายนะของการทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และเมื่อใดก็ตามที่มีการทดลองนิวเคลียร์ ณ ส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก นายกเทศมนตรีเมืองฮิโรชิม่าจะเขียนจดหมายประท้วง ส่งไปยังผู้นำชาติที่ทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์เสมอ

19. ภาพยนตร์สัตว์ประหลาดอย่างก็อตซิล่าฉบับต้นตำหรับจากญี่ปุ่น ก็มีเนื้อเรื่องมาจากผลพวงของกัมมันตภาพรังสีที่มาจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ใส่ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบางอย่างกลายพันธุ์

 

ดร.ธีโอดอร์ ซุส กีเซล ผู้ประพันธ์หนังสือชื่อ“ฮอร์ตันได้ยินใคร!! หรือ Horton Hears a Who!!” ที่มาของภาพ

20. แม้จะอยู่ในช่วงระหว่างสงคราม แต่ผลงานของดอกเตอร์ธีโอดอร์ ซุส กีเซล นักเขียน นักวาดการ์ตูนชื่อดังชาวอเมริกัน ซึ่งมีผลงานถูกตีพิมพ์ไปกว่า 600 ล้านฉบับ และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 20 ภาษา ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวญี่ปุ่นเสมอ ผลงานหลังสงครามของเขาที่ชื่อ “ฮอร์ตันได้ยินใคร!! หรือ Horton Hears a Who!!” ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “ชาดกของฮิโรชิม่า หรือ Allegory of Hiroshima” โดยเนื้อหามีนัยยะของการขออภัยชาวญี่ปุ่นต่อการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ดอกเตอร์ซุสมอบหนังสือเล่มนี้ให้กับเพื่อนชาวญี่ปุ่นของเขา

 

ขอบคุณที่มา:http://www.gypzyworld.com/article/view/840

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Website : http://list25.com/25-things-you-might-not-know-about-hiroshima-and-nagasaki/5/

Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Horton_Hears_a_Who!

Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Dr._Seuss

Website : https://en.wikipedia.org/wiki/Hibakujumoku#List

Website : http://www.amusingplanet.com/2013/03/hibaku-jumoku-a-bombed-trees-that.html

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...