ภาพถ่ายหาดูยากมาก..กับช่วงเวลาน่าทึ่งของธรรมชาติแสนงดงาม

 

ตื่นตาตื่นใจไปกับภาพลมฟ้าอากาศและภูเขาไฟ ซึ่งเป็นผลงานของ Astronomy Picture of the Day หรือ APOD เพิ่งเปิดตัวปฏิทินใหม่ล่าสุดของปี 2015 ซึ่งเต็มไปด้วยภาพอันสวยงามตระการตาของโลกและห้วงอวกาศ ปฏิทินดังกล่าวมีทั้งหมด 8 ชุดด้วยกันได้แก่ Galaxies, General, Skyscapes, Moons & Planets, Star Clusters, Spaceflight, Sun และ Weather & Volcanoes

แต่ปฏิทินชุดที่ยอดเยี่ยมที่สุดในความคิดของเราคือ Weather & Volcanoes ซึ่งคุณจะได้เห็นทุกอย่าง ตั้งแต่ภาพกลุ่มเมฆสีรุ้งที่สวยงามซึ่งถูกบันทึกภาพไว้ในปี 2009 จากบนเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล เหนือยอดเขาทัมเซอกุที่สูงราว 6,600 เมตร ไปจนถึงภาพถ่ายสายฟ้าฟาดทำให้มองเห็นมวลเถ้าถ่านที่กำลังพวยพุ่งออกมาจากภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ ภาพทั้งหมดนี้เป็นการสื่อถึงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่และความสวยงามของธรรมชาติกับโลกที่เราอาศัยอยู่

ถ้าถ่านและสายฟ้าฟาดเหนือภูเขาไฟแห่งไอซ์แลนด์

 

คำอธิบาย : ทำไมการปะทุของภูเขาไฟในปี 2010 ที่ไอซ์แลนด์จึงปรากฏเถ้าถ่านมากมายขนาดนี้? กลุ่มเถ้าภูเขาไฟขนาดมหึมากลายเป็นที่สังเกตเห็นเนื่องจากมันลอยผ่านพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์อยู่ทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์เริ่มปะทุครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปี 2010 และการปะทุครั้งที่ 2 เกิดขึ้นใต้บริเวณตรงกลางของธารน้ำแข็งในวันที่ 14 เมษายน ปี 2010 ทำให้ธารน้ำแข็งละลาย หลังจากนั้นลาวาก็เย็นตัวลงและกลายเป็นอนุภาคแก้วเม็ดเล็กๆซึ่งถูกดันขึ้นไปพร้อมกับภูเขาไฟที่กำลังปะทุ ภาพด้านบนคือการปะทุของภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ครั้งที่ 2 และสายฟ้าฟาดทำให้มองเห็นเถ้าถ่านที่กำลังพวยพุ่งออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ

Source : apod.nasa.gov/apod/ap140420.html

สายฟ้าฟาดยามจันทรคราส ณ the Planet of the Goats

 

Credit & Copyright: Chris Kotsiopoulos (GreekSky)

คำอธิบาย : เหตุการณ์ฝนฟ้าคะนองเกือบทำลายทัศนียภาพอันสวยงามของปรากฏการณ์จันทรคราส แต่เมฆและฝนเหล่านี้แยกออกจากกันนานราว 10 นาทีระหว่างที่เกิดจันทรคราส ส่วนสายฟ้าฟาดก็ทำให้ท้องฟ้าดูสวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ ภาพเงาของจันทรคราสแผ่กระจายไปเกือบทั่วโลกปกคลุมทั้งทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามภาพนี้ถูกถ่ายที่เกาะอิคาเรีย หรือที่รู้จักกันในนามว่า “The Planet of the Goats” เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ขรุขระและเต็มไปด้วยหินรูปร่างแปลกประหลาด

Source : apod.nasa.gov/apod/ap110618.html

กลุ่มเมฆสีรุ้งเหนือยอดเขาทัมเซอกุ

 

Image Credit & Copyright: Oleg Bartunov

คำอธิบาย : ทำไมเมฆจึงมีสีแตกต่างกัน? นี่คือปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยากมาก ที่กลุ่มเมฆสีรุ้งเหล่านี้ได้แสดงสเปกตรัมของทุกย่านสีออกมาพร้อมๆกัน โดยการก่อตัวจากหยดน้ำที่มีขนาดเท่าๆกัน เมื่อพระอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือถูกเมฆหนาบดบังเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มเมฆบางๆเหล่านี้ก็จะกระจายแสงอาทิตย์ออกมาในลักษณะที่เกือบใกล้เคียงกัน โดยมีการหักเหของสีในปริมาณที่ต่างกัน ผู้สังเกตการณ์จะมองเห็นสีสันได้จากทิศทางต่างๆรอบด้าน ภาพเมฆสีรุ้งด้านบนถูกบันทึกไว้ในปี 2009 จากเทือกเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล อยู่หลังยอดเขาทัมเซอกุที่สูงราว 6,600 เมตร

Source : apod.nasa.gov/apod/ap140708.html

ปรากฏการณ์เมฆแมมมาทัสเหนือเนบราสก้า

 

Image Credit & Copyright: Jorn Olsen Photography

คำอธิบาย : เหตุใดฐานเมฆจึงมีลักษณะคล้ายฟองอากาศ? ฐานเมฆโดยทั่วไปจะมีลักษณะแบนเรียบ ปรากฏการณ์นี้เกิดจากอากาศร้อนชื้นที่ลอยขึ้นและเย็นตัวลงจะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งตามปกติแล้วความสูงระดับนี้เมื่อกลายเป็นหยดน้ำเมฆครึ้มก็จะเริ่มก่อตัว อย่างไรก็ตามเมฆชนิดนี้อาจกลั่นตัวเป็นหยดน้ำขนาดใหญ่หรือผลึกน้ำแข็งตกลงมาในอากาศขณะที่กำลังระเหยเป็นไอ เมฆชนิดนี้อาจเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่วุ่นวายจากพายุฟ้าฝน และกลายเป็นปรากฏการณ์เมฆแมมมาทัสได้ถ้าหากมีแสงอาทิตย์ส่องจากด้านข้าง ภาพข้างบนนี้ถูกบันทึกได้ที่เมืองแฮสติงส์ รัฐเนบราสก้า ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2004

Source : apod.nasa.gov/apod/ap140415.html

ภูเขาไฟซากุระจิมะกับสายฟ้าฟาด

 

Credit & Copyright: Martin Rietze (Alien Landscapes on Planet Earth)

คำอธิบาย : เหตุใดภูเขาไฟระเบิดจึงต้องมีฟ้าผ่าในบางครั้ง? นี่คือภาพของภูเขาไฟซากุระจิมะที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นกำลังระเบิดเมื่อต้นเดือนที่แล้ว หินหลอมละลายร้อนมากจนพุ่งออกมาเป็นสาย และหินเหลวก็ปะทุขึ้นมาจากใต้ดิน อย่างไรก็ตามมีภาพสายฟ้าฟาดซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนปรากฏขึ้นใกล้กับยอดภูเขาไฟ สาเหตุการเกิดฟ้าผ่าในยามฝนฟ้าคะนองยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ส่วนการเกิดฟ้าผ่าในยามภูเขาไฟระเบิดก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ เหตุการณ์ฟ้าผ่ามักเกิดขึ้นได้ทุกที่ในโลกซึ่งปกติจะเกิดขึ้นมากกว่า 40 ครั้ง/วินาที

Source : apod.nasa.gov/apod/ap100210.html

เมฆ นก พระจันทร์ ดาวศุกร์

 

Image Credit & Copyright: Isaac Gutiérrez Pascual (Spain)

คำอธิบาย : บางครั้งบนท้องฟ้าก็เปรียบเสมือนเวทีการแสดง ยกตัวอย่างเมื่อต้นเดือนกันยายน ปี 2010 พระจันทร์กับดาวศุกร์โคจรมาบรรจบกันทำให้ผู้ที่สนใจในท้องฟ้าจากทั่วโลกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ภาพนี้ถูกบันทึกไว้ที่ประเทศสเปนขณะที่พระอาทิตย์กำลังตกดินทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีน้ำเงิน เบื้องหน้าของภาพนี้เป็นกลุ่มเมฆฝนกระจายตัวอยู่เต็มส่วนล่าง ขณะที่เมฆรูปร่างคล้ายทั่งตีเหล็กสีขาวปรากฏอยู่ด้านบน จุดสีดำในภาพคือฝูงนก แต่หลังจากถ่ายภาพนี้เสร็จ ฝูงนกก็บินผ่านไป พายุก็สงบลง ดาวศุกร์กับดวงจันทร์ก็เริ่มมองเห็นได้อีกครั้ง

Source : apod.nasa.gov/apod/ap130512.html

เงารูปสามเหลี่ยมของภูเขาไฟยักษ์

 

Image Credit & Copyright: Juan Carlos Casado (TWAN)

คำอธิบาย : ทำไมเงาของภูเขาไฟลูกนี้จึงคล้ายกับรูปสามเหลี่ยม? ภูเขาไฟเมาท์เตเดไม่ได้มีรูปทรงพีระมิดเหมือนกับเงาของมัน แต่ปรากฏการณ์เงาสามเหลี่ยมของเมาท์เตเดไม่ใช่เรื่องแปลกและมักเห็นได้จากยอดเขาหรือภูเขาไฟลูกอื่นๆ สาเหตุที่เงาของมันมีรูปร่างแปลกเกิดจากเงาที่เราเห็นในตอนพระอาทิตย์ตก (หรือพระอาทิตย์ขึ้น) ซึ่งจะเป็นเงาที่ยืดยาวไปสู่เส้นขอบฟ้า ต่อให้ภูเขาไฟมีลักษณะเป็นลูกบาศก์แต่เงาของมันก็จะกลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยยอดของเงาก็จะเบี่ยงเข้าหากันเป็นยอดแหลมเนื่องจากระยะที่มันยืดไกลออกไป เช่นเดียวกับการมองรางรถไฟไปในระยะไกลๆ ภาพด้านบนเป็นภาพปล่องภูเขาไฟปิโก เวียโฆ ตั้งอยู่ที่เกาะเตเนรีเฟ หมู่เกาะคานารี ประเทศสเปน

Source : apod.nasa.gov/apod/ap110705.html

เมฆม้วนเหนืออุรุกวัย

 

Credit & Licence: Daniela Mirner Eberl

คำอธิบาย : นี่คือเมฆชนิดไหนกัน? แท่งเมฆม้วนยาวหาดูยากเหล่านี้ก่อตัวขึ้นที่แนวปะทะอากาศเย็น การเคลื่อนที่ต่ำลงของแนวปะทะทำให้อากาศร้อนชื้นลอยขึ้นข้างบนและเย็นลงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดระเหยของน้ำ สุดท้ายก็กลายเป็นเมฆ เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นยาวออกไปตามแนวปะทะอย่างเท่าๆกันก็อาจก่อตัวกลายเป็นเมฆม้วน แกนกลางของเมฆม้วนจะมีอากาศไหลเวียนอยู่ และเชื่อกันว่าเมฆม้วนนี้ไม่สามารถกลายสภาพเป็นพายุหมุนได้ เมฆม้วนคือเมฆกันชนหรือเมฆอาร์คัสซึ่งเป็นเมฆที่แยกตัวออกมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส ปรากฏการณ์เมฆม้วนด้านบนนี้เกิดขึ้นเหนือชายหาดลาสโอลาสในเมืองมัลโดนาโด ประเทศอุรุกวัย เมื่อเดือนมกราคม ปี 2009

Source : apod.nasa.gov/apod/ap130602.html

การระเบิดของภูเขาไฟอลาสก้า

 

Credit : J. N. Williams, International Space Station 13 Crew, NASA

คำอธิบาย : เกิดอะไรขึ้นกับภูเขาไฟลูกนี้? มันระเบิดยังไงล่ะ! บุคคลแรกที่สังเกตเห็นว่าภูเขาไฟคลีฟแลนด์บนเกาะ Aleutian มีควันพวยพุ่งออกมาก็คือนักบินอวกาศ เจฟฟรีย์ วิลเลี่ยมส์ ซึ่งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ก่อนหน้าที่ภาพนี้จะถูกบันทึกไว้เพียง 2 ชั่วโมง ภูเขาไฟคลีฟแลนด์ก็ได้เกิดการปะทุเล็กน้อย ภูเขาไฟลูกนี้เป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ยังคงปะทุอยู่บนหมู่เกาะ Aleutian และได้รับพลังงานจากหินแม็กม่าที่เคลื่อนตัวจากการเหลื่อมกันของพื้นแผ่นดินแปซิฟิกที่อยู่ใต้พื้นแผ่นดินอเมริกาเหนืออีกที แล้วเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

Source : apod.nasa.gov/apod/ap060607.html

เมฆระฆังเหนือเซียร์ราเนวาดา

 

Image Credit & Copyright: Guido Montañés

คำอธิบาย : เดือนมกราคม ขณะที่พระอาทิตย์กำลังตกที่ย่าน Albayzin เมืองกรานาดา ประเทศสเปน ก็ปรากฏก้อนเมฆขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายระฆังกำลังปกคลุมยอดเขา Veleta เมฆรูปหมวกนี้ก่อตัวขึ้นจากอากาศที่ถูกดันขึ้นไปโดยยอดเขา จากนั้นอากาศจะเย็นลงกลายเป็นความชื้น ในที่สุดโมเลกุลน้ำจะกลั่นตัวเป็นละอองน้ำในก้อนเมฆ เมฆระฆังนี้เป็นเหตุการณ์พิเศษเนื่องจากปกติอากาศจะเคลื่อนที่ในแนวนอนทำให้เมฆส่วนใหญ่มีลักษณะค่อนข้างแบนเรียบและเรียงกันตัวกันอยู่ด้านล่างๆ คลื่นแนวตั้งสามารถเพิ่มเมฆให้เป็นชั้นๆได้อย่างที่เห็นในภาพ และด้วยสีสันยามพระอาทิตย์ตกทำให้เมฆก้อนนี้ดูสวยงามวิเศษยิ่งขึ้น

Source : apod.nasa.gov/apod/ap131126.html

พระอาทิตย์ทรงกลดบนฟากฟ้าสตอกโฮล์ม

 

Credit & Copyright: Peter Rosén

คำอธิบาย : เกิดอะไรขึ้นกับพระอาทิตย์? บางครั้งพระอาทิตย์ก็ดูเหมือนกำลังถูกมองผ่านเลนส์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามภาพข้างบนเมีเลนส์นับล้านๆเลนส์หรือผลึกน้ำแข็งนั่นเอง ขณะที่น้ำเย็นจัดในชั้นบรรยากาศด้านบนการผลึกตัวเป็นน้ำแข็งรูปทรงหกเหลี่ยมเล็กๆและแบนก็อาจก่อตัวขึ้นได้ โดยมันจะใช้เวลานานในการตกถึงพื้นเนื่องจากความแบนและการขนานกับพื้น ผู้สังเกตการณ์อาจอยู่ที่ระดับความสูงเดียวกับผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ ที่กำลังร่วงลงมาในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก แล้วด้วยตำแหน่งที่เหมาะเจาะผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ขนาดจิ๋วหักเหแสงอาทิตย์เข้าสู่ดวงตาของเรา และเกิดปรากฏการณ์พาฮีเลียหรือการทรงกลดแบบซันด็อก ภาพข้างบนนี้ถูกบันทึกเมื่อปีที่แล้วในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตรงกลางภาพคือดวงอาทิตย์ขนาบข้างด้วยทรงกลดแบบซันด็อกทั้งซ้ายและขวา และยังมีการสะท้อนแสงออกจากชั้นบรรยากาศของผลึกน้ำแข็งอีกด้วย

Source : apod.nasa.gov/apod/ap110110.html

เมฆฝนฟ้าคะนองล่าถอยยามพระอาทิตย์ตกดิน

 

Image Credit & Copyright: Alan Dyer (The Amazing Sky)

คำอธิบาย : นี่คือเมฆชนิดไหน? นี่คือเมฆคิวมูโลนิมบัสหรือที่เรียกกันว่าเมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งมีความแปลกตรงที่ความขรุขระและตะปุ่มตะป่ำบริเวณปลายของเมฆแมมมาทัสขณะที่มีฝนตกอยู่อีกด้านหนึ่ง ภาพนี้ถูกบันทึกเมื่อกลางเดือนมิถุนายนทางตอนใต้ของรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา เมฆก้อนนี้กำลังเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกและพระอาทิตย์ก็กำลังตกดินทำให้เมฆกลายเป็นสีส้มอมชมพูสวยตื่นตาตื่นใจ ส่วนพื้นหลังปกคลุมด้วยท้องฟ้าสีเข้ม ไกลออกไปทางขวามือจะเห็นดวงจันทร์

Source : apod.nasa.gov/apod/ap130828.html

เมฆพายุมหึมาเหนือมอนทาน่า

 

Image Credit & Copyright: Sean R. Heavey

คำอธิบาย : นี่คือยานอวกาศหรือเมฆกันแน่? แม้จะดูเหมือนยานแม่ของมนุษย์ต่างดาว แต่จริงๆแล้วนี่คือเมฆพายุที่เรียกกันว่าซูเปอร์เซลล์ พายุขนาดมหึมาจะหมุนขึ้นข้างบนซึ่งกินพื้นที่หลายกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองและลมพัดแรงรวมถึงทอร์นาโด เมฆที่ดูแปลกตาช่วยเสริมบรรยากาศโดยรอบของซุปเปอร์เซลล์ ในขณะที่ลมฝุ่นกับฝนก็ครอบคลุมทุกสิ่งที่อยู่ตรงกลาง ภาพเมฆซูเปอร์เซลล์ด้านบนถูกบันทึกเมื่อเดือนกรกฎาคมทางตะวันตกของเมืองกลาสโกว์ รัฐมอนทาน่า สหรัฐอเมริกา สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยและหมุนอยู่หลายชั่วโมงก่อนที่จะไปที่อื่น

Source : apod.nasa.gov/apod/ap130505.html

ภูเขาไฟกับแสงออโรรา ณ ไอซ์แลนด์

 

Image Credit & Copyright: Sigurdur H. Stefnisson

คำอธิบาย : บางครั้งสวรรค์ก็เกิดขึ้นบนดินได้ ณ ประเทศไอซ์แลนด์ ปี 1991 ภูเขาไฟเฮกลาได้ปะทุขึ้นพร้อมกับมีแสงออโรร่าสีเขียวปรากฏอยู่ด้านบน เฮกลาเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ได้เกิดการระเบิดอย่างน้อย 20 ครั้งในช่วงสหัสวรรษที่ผ่านมา บางครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง การระเบิดครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 12 ปีก่อนแต่สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แสงออโรร่าสีเขียวปรากฏขึ้นเหนือลาวาที่พวยพุ่งไกลออกไปราว 100 กิโลเมตร

ขอบคุณที่มา: http://issue247.com/around247/extreme-weather-and-volcanoes/

Source : apod.nasa.gov/apod/ap120708.html

Credit & Copyright: Sigurður Stefnisson

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...