เปรียบเทียบวันลาคลอดและเงินชดเชยของ 20 ประเทศ

 

การลาคลอดถือเป็นสิทธิพิเศษที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทั่วโลกล้วนมีกฎหมายกำหนดให้ลาคลอดได้ ต่างกันเพียงจำนวนวันลาและเงินค่าจ้าง มาดูกันว่าแต่ละประเทศอนุญาตให้ลาคลอดและได้รับเงินค่าจ้างอย่างไร

1.เอสโตเนีย ระยะเวลา 166 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงินค่าจ้าง 100 % ในช่วง 20สัปดาห์แรก 45 % จากสัปดาห์ ที่ 21 เป็นต้นไป

2.รัสเซีย ระยะเวลา 166สัปดาห์ โดยจะได้รับเงินค่าจ้าง 100% ในช่วง 20สัปดาห์แรก 40% ช่วงสัปดาห์ที่ 21 จนเด็กอายุ 1 ขวบครึ่ง หลังจากนั้นจะไม่ได้รับเงินค่าจ้าง

3.อุซเบกิสถาน ระยะเวลา 166 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงินค่าจ้าง 100% ในช่วง 18 สัปดาห์แรก 20% ช่วงสัปดาห์ที่ 19-104 หลังจากนั้นจะไม่ได้รับเงินค่าจ้าง

4.สาธารณรัฐเช็ก ระยะเวลา 110 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงินค่าจ้าง 70% ในช่วง 28 สัปดาห์แรก 45% จากสัปดาห์ที่ 29 เป็นต้นไป

5.นอร์เวย์ ระยะเวลา 61/91สัปดาห์ โดยสามารถเลือกรับเงิน 100% เป็นเวลา 61สัปดาห์ หรือ 80% เป็นเวลา 91 สัปดาห์

6.เยอรมัน ระยะเวลา 58 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงินค่าจ้าง 100% ในช่วง 14สัปดาห์แรก และ 65% จากสัปดาห์ที่ 15เป็นต้นไป

7.คิวบา ระยะเวลา 57 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงินค่าจ้าง 100% ในช่วง 18 สัปดาห์แรก และ 60% จากสัปดาห์ที่ 19 เป็นต้นไป

8.แคนาดา ระยะเวลา 52 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงิน 55% ถึง 80% สำหรับครอบครัวที่ยากจน

9.เดนมาร์ก ระยะเวลา 52 สัปดาห์ รับเงิน 55% ของรายได้

10.เวียดนาม ระยะเวลา 26 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

11.บราซิล ระยะเวลา 17 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

12.เนเธอร์แลนด์ ระยะเวลา 16 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

13.อิสราเอล ระยะเวลา 14 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

14.จีน ระยะเวลา 14 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

15.อินเดีย ระยะเวลา 12 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

16.แทนซาเนีย ระยะเวลา 12 สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

17.ไทย ระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยจะได้รับเงิน 100% ในช่วง 6 สัปดาห์แรกส่วนที่เหลืออีก 6 สัปดาห์ ขอรับ จากประกันสังคม

18.สหรัฐอเมริกา ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ไม่มีเงินค่าจ้าง

19.อิรัก ระยะเวลา 9สัปดาห์ รับเงิน 100% ของรายได้

20.ตูนิเซีย ระยะเวลา 4 สัปดาห์ รับเงิน 66.7% ของรายได้

ขอบคุณที่มา: http://www.thaiquote.org/content/3987

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...