สมัยก่อน เค้าทำอาวุธแปลกๆ เยอะดีนะ

กระสอบทรายเคลื่อนที่!!! อันนี้เอาฮาครับ

 

ของบ้านเรานี่ล่ะ อันนี้ไม่ใช่อาวุธ แต่อันนี้ผมเห็นแล้วผมว่าแปลกดี มีใครรู้บ้างว่า เค้าืทำพายแบบนี้ไปเพื่ออะไร ?

 

"ขวานแอปปิไตเซอร์" 3in1!!

ภาพขวาน(ในภาษาแขกเรียก"Tabar")สันนิษฐานว่าสมัยราชวงศ์โมกุล(มะหงุ่น,มูฆัลหรือ Mughal)หรือประมาณศตวรรษที่17-18 ประกอบด้วย ปืนคาบศิลา ขวานและมีด

 

เสื้อเกราะกันหมี!! ของนายพรานล่าหมีที่รัสเซีย ทำขึ้นราวๆต้นศตวรรษที่18

 

"เกราะไม้ไผ่" (อ่านไม่ผิดหรอกครับทำจากไม้ไผ่จริงๆ) จากกองกำลังไท่ผิงเทียนกั๋ว กบฎ"ชาวนา"ลือชื่อช่วงราชวงศ์ชิงของประเทศจีน เป็นกบฎชาวคริส นำโดยหงซิ่วฉวน ทำสงครามกับราชวงศ์ชิง 20ปี มีนานกิงเป็นเมืองหลวง และถูกปราบลงเนื่องจากการแตกแยกภายใน

ปล.กันอะไรได้เนี่ย

 

ตัวอย่างเครื่องยิงลูกธนูระเบิด สมัยราชวงศ์หมิง ประเภทถือโดยทหารราบ มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ เครื่องยิงธนูระเบิดทางด้านซ้ายมีชื่อเรียกกว่า "รังผึ้ง" สามารถยิงลูกศรได้พร้อมกัน 32 ดอก

 

ต้นแบบไอรอนแมน !! เสื้อเกราะในสงครามกลางเมือง อเมริกา หนักราว 29กิโลกรัม

 

ปืนกำแพง

ภาพการใช้"jingal"หรือwallgunในสนามรบ (ใช้2คนแบกหรืออาจมีขาตั้ง) อาวุธแบบนี้มีทั่วไปในกองทัพสมัยนั้น(ล้านนา สยาม เกาหลี เติร์ก อินเดียก็มี) ยุโรปใช้ในช่วงศตวรรษที่16-18ในขณะที่จีนใช้ต่อมาจนถึงศตวรรษที่19 โดยรางบรรจุกระสุนถูกพัฒนาตามยุค เนื่องจากปืนชนิดนี้บรรจุช้าแต่แม่นและไกลกว่าปืนทั่วไป(ไกลประมาณ550 เมตร) อาจเรียกว่าปืนSniperยุคโบราณ ซึ่งในภาพเป็นปืนกำแพงในยุคขุนศึก ด้วยภาวะสงคราม อาวุธทั้งหมดที่มีจึงต้องนำมาพัฒนาให้ใช้ได้(แม้แต่กองกำลังก๊กมินตั๋ง ยังใช้อาวุธมีด อีโต้ ดาบทุกชนิด หรือกหอก..) ในยุโรปปืนกำแพง ใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่16-18 ในขณะที่ยุคขุนศึกคือ 1916-1928 ยังคงใช้กันจนถึงสงครามโลกครั้งที่2 และในกองกำลังท้องถิ่นเองก่อนหน้านั้น มีเพียงตัวปืนที่ถูกพัฒนารูปแบบการบรรจุและลูกกระสุนเพื่อให้ง่ายขึ้นต่อการใช้เท่านั้น.. (ปืนนี้เป็นที่นิยมในจีน ซึ่งมีใช้ทั้งกองกำลังกบฎไท่ผิงและกบฎนักมวยด้วย)

 

 

ภาพเปรียบเทียบกระสุน

 

ต้นแบบรถถัง!! เกราะช้าง หนัก128 กิโลกรัม (อินเดีย)

ปล.สวยมากเลย

 

พัดเหล็ก ของขุนพลญี่ปุ่น

 

หมวกเกราะที่ไม่รู้จะทำให้คอหักหรือเปล่า

 

หมวกเกราะอีกเช่นกัน แต่อันนี้ผมชอบนะ ไหนบอกซิเจ้ากลัวตายรึไม่~

 

ขอบคุณที่มา: http://pantip.com/topic/31153932

15 พ.ย. 59 เวลา 10:44 5,969 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...