ยุทธการแบคกัง (Battle of Baekgang) ปิดฉากสามก๊กแห่งเกาหลี

ยุทธการแบคกัง (Battle of Baekgang) ปิดฉากสามก๊กแห่งเกาหลี ยุทธการแบคกัง หรือที่เรียกในชื่อญี่ปุ่นว่า สงครามแห่งฮากุสึคิโนเอะ เป็นการรบระหว่างแพคเจและอาณาจักรยามาโตะแห่งญี่ปุ่น กับกองทัพพันธมิตรของซิลลาและราชวงศ์ถังของจีน สมรภูมินี้เกิดขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำเกอุมในมณฑลจอลลาบุคโด ประเทศเกาหลี

 

เมื่อพันห้าร้อยปี ก่อน คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสามอาณาจักรหรือสามก๊ก ประกอบด้วย แพคเจ ซิลลาและโกคูรยอ โดยทั้งสามอาณาจักรต่างก็ทำสงครามกันมาหลายร้อยปีเพื่อครองดินแดนตลอดคาบ สมุทร นอกจากนี้โกคูรยอยังทำสงครามกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีนที่มารุกราน ด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสามอาณาจักรก็ไม่ได้อยู่ในสภาพของศัตรูกันอย่างถาวร โดยบางครั้งสองในสามอาณาจักรจะรวมตัวเป็นพันธมิตรกันและทำสงครามต่อต้านอีก อาณาจักรหนึ่ง

ในปี ค.ศ.620 ซิลลาได้ทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ถังของจีนซึ่งเพิ่งสถาปนาขึ้นไม่ นาน จากนั้นราชวงศ์ถังได้ทำสงครามกับโกคูรยอเป็นเวลานับสิบปีแต่ก็ยังไม่อาจเอา ชัยได้ ซึ่งในการรุกรานทุกครั้ง กองทัพจีนจะบุกจากทางเหนือเข้าโจมตีโกคูรยอ ซึ่งหลังประสบความล้มเหลวหลายครั้ง ทางราชวงศ์ถังก็กำหนดแผนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยจะเข้าโจมตีโกคูรยอพร้อมกันทั้งจากเหนือและใต้ โดยทางใต้จะอาศัยกำลังพลจากซิลลาที่เป็นพันธมิตร อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินแผนนี้ได้ ทั้งราชวงศ์ถังและซิลลาจำเป็นต้องกำจัดแพคเจเสียก่อน เพื่อกันไม่ให้กลายมาเป็นพันธมิตรของโกคูรยอและเพื่อตั้งฐานกำลังสำหรับแนว รบที่สองในภาคใต้ของเกาหลี

 

ค.ศ.660 กองทัพพันธมิตร ถัง – ซิลลา ซึ่งมีรี้พลร่วมสองแสนนายเข้าโจมตีแพคเจและยึดเมืองซาบี เมืองหลวงของแพคเจ รวมทั้งจับตัวพระเจ้าอุยจา กษัตริย์องค์สุดท้ายของแพคเจรวมทั้งพระราชวงศ์เกือบทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานจากนั้น ประชาชนทางภาคเหนือของแพคเจก็ได้ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของต้าถังกับซิลลา โดยแม่ทัพชาวแพคเจ ชื่อ บ็อคซิน ได้พยายามนำกองทหารเข้ายึดเมืองทั้งสี่สิบเมืองที่เสียไป กลับคืน ทั้งยังได้อัญเชิญเจ้าชายบูโยปังที่ประทับอยู่ที่ญี่ปุ่นมาเป็นประมุขของกอง กำลังกู้ชาติและสถาปนาเจ้าชายขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของแพคเจ

แม้ว่ากองกำลังกู้ ชาติจะประสบความสำเร็จในการต่อต้านกองทัพถังและซิลลา ทว่าในปี ค.ศ.662 พวกเขาก็เกิดปัญหาขัดแย้งภายใน อีกทั้งเมืองหลวงใหม่ที่ป้อมชูริวก็ถูกข้าศึกปิดล้อมและในระหว่างนั้นเองแม่ ทัพบ็อคซินก็ถูกสังหาร

แม้สถานการณ์กำลัง สิ้นหวัง ทว่าแพคเจก็ยังเหลือพันธมิตรสำคัญอยู่ นั่นคือ อาณาจักรยามาโตะแห่งญี่ปุ่น ซึ่งนับแต่อดีต แพคเจและราชวงศ์ยามาโตะได้มีความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรที่ยาวนานนับร้อยปี นอกจากนี้พระราชวงศ์ทั้งสองฝ่ายยังมีความผูกพันทางสายเลือดกันด้วย โดยชาวญี่ปุ่นเรียกแคว้นแพคเจ ว่า คุดาระ ซึ่งการล่มสลายของซาบีเมืองหลวงของแพคเจใน ค.ศ.660 ทำให้บรรดาพระราชวงศ์ของยามาโตะตระหนกตกใจเป็นอันมาก

พระจักรพรรดินีไซเมอิ และยุพราชนากาโนะโอเอะ(ซึ่งต่อมาคือ จักรพรรดิเทนจิ)ตัดสินพระทัยส่งกองทัพไปช่วยเหลือแพคเจฟื้นฟูอาณาจักร โดยทรงให้ อาเบะโนะฮิราฟุเป็นแม่ทัพนำกองทัพจำนวนพล42000นาย ข้ามไปยังคาบสมุทรเกาหลี

ในการส่งกองทัพเข้า สู่แผ่นดินใหญ่ครั้งนี้ จักรพรรดินีไซเมอิทรงย้ายเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวไปที่อาซาคุระซึ่งอยู่ ใกล้กับท่าเรือในภาคเหนือของเกาะคิวชู เพื่อทรงควบคุมการเคลื่อนพล ทว่าหลังจากกองทหารยามาโตะชุดสุดท้ายเคลื่อนพลไปแล้ว พระนางก็สวรรคต องค์ยุพราชนากาโนะได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเทนจิ

ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.661 แม่ทัพอาเบะโนะฮิราฟุพร้อมเรือรบ170ลำและทหาร 5,000 นายได้มาถึงเขตควบคุมของกองกำลังกู้ชาติแพคเจ ก่อนที่กำลังทหารญี่ปุ่น 27000 นายที่นำโดยคามิสึเคโนะโนะคิมิวะคะโคะและกองทหารอีกหนึ่งหมื่นนายที่นำโดย โอะฮาระโนะคิมิจะมาถึงในต้นปี ค.ศ.662

 

เแม่น้ำเกอุม

ในปี ค.ศ.663 กองทัพเรือพันธมิตรแพคเจและยามาโตะได้เคลื่อนพลเข้าสู่ภาคใต้ของแพคเจเพื่อ ทำลายการปิดล้อมป้อมชูริวของกองทัพซิลลา กองเรือยามาโตะส่งทหารราบขึ้นบกเข้าสู่ป้อมชูริวใกล้แม่น้ำเกอุม(Geum) และสลายการปิดล้อมของข้าศึกได้ ทว่ากองทัพถังได้ส่งทหาร 7,000 นายพร้อมเรือรบ 170 ลำเข้าสกัดกองหนุนของฝ่ายยามาโตะ

แม้กองทัพยามาโตะจะมี กำลังพลมากกว่า แต่การที่แม่น้ำช่วงนั้นแคบทำให้กองเรือต้าถังสามารถรักษาที่มั่นของตนไว้ ได้ ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้ยกพลเข้าตีถีงสามครั้งแต่ก็ต้องล่าถอยออกมาทุกครั้ง จนกำลังพลเริ่มอ่อนแอลง

ฝ่ายกองทัพราชวงศ์ถัง ได้ฉวยโอกาสที่กองทัพข้าศึกอ่อนแรง เคลื่อนพลรุกกลับอย่างฉับพลันและทำลายเรือรบญี่ปุ่นลงไปเป็นอันมาก ทหารยามาโตะจำนวนมากจมน้ำตายและถูกสังหารด้วยอาวุธ นายทัพยามาโตะ นามว่า อิชิโนะตาคุสึ ถูกทหารจีนรุมสังหารสิ้นชีพในสนามรบ

 

การรบที่แบคกัง

">

การรบครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเรือรบ 400 ลำ และกำลังทหารกว่าหนึ่งหมื่นนาย ในเวลาเดียวกัน ซิลลาก็ส่งกองทหารม้าเข้าตีกองทหารราบแพคเจที่กำลังรอกองหนุนจากทัพเรือยามา โตะจนแตกพ่ายและกองทัพซิลลาก็เข้ายึดป้อมชูริวได้สำเร็จในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.663 กษัตริย์บูโยปังทรงลงเรือพร้อมผู้ติดตามจำนวนหนึ่งหลบหนีไปโกคูรยอ

ยุทธการแบคกังเป็น ความพ่ายแพ้ในการรบนอกประเทศ ครั้งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในยุคโบราณ(ไม่นับการรุกรานเกาหลีของฮิเดโยชิใน ศตวรรษที่ 16) โดยนอกจากจะสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมากแล้ว ยังเสียที่มั่นและพันธมิตรสำคัญบนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกไปด้วย ส่วนอาณาจักรแพคเจนั้น ความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ได้ดับความหวังทั้งมวลที่จะฟื้นฟูอาณาจักรอีก ครั้ง ชาวแพคเจจำนวนมากได้ลี้ภัยไปอยู่ในโกคูรยอและบางส่วนก็ข้ามไปญี่ปุ่น

 

สำหรับราชวงศ์ถัง ชัยชนะเหนืออาณาจักรแพคเจทำให้พวกเขาได้ควบคุมพื้นที่เดิมของแพคเจและสร้าง ฐานทัพทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลีเพื่อประสานกับซิลลาในการเข้า รุกรานโกคูรยอ โดยกองทัพพันธมิตรซิลลา – ราชวงศ์ถังได้เข้ายึดกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของโกคูรยอได้ในปี ค.ศ.668

หลังจากพิชิตโกคูรยอ ลงได้ ราชวงศ์ถังกับซิลลาก็ขัดแย้งกันจนกลายเป็นสงคราม และแม้ว่ากองทัพซิลลาจะขับไล่ทหารจีนออกจากคาบสมุทรได้ ทว่าดินแดนเดิมของโกคูรยอส่วนที่อยู่เหนือคาบสมุทรเกาหลีก็ถูกผนวกเข้ากับ จีน ส่วนซิลลาได้ครอบครองส่วนที่เป็นคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและถือเป็นการปิดฉาก ยุคสามก๊กแห่งเกาหลี

">

ที่มา: http://www.komkid.com/ประวัติศาสตร์สังคม/

19 ม.ค. 59 เวลา 08:20 2,619 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...