กระจ่างแจ้ง !! 10 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ราคายางของไทยตกจาก 180 ถึง 40 บาท

ยางพารา ถือเป็นสินค้าหลักทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ ส่วนใหญ่ปลูกเยอะในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เดิมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2554 เกษตรกรชาวสวนยางต่างยิ้มแย้ม เพราะราคายางในช่วงนั้นมีการปรับราคาสูงสุดเกือบ 180 บาท ต่อกิโลกรัม สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ กระทั่ง 5 ปี ต่อมา ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2557 ราคายางเริ่มปรับลดลงเรื่อยๆ กระทั่งเหลือ 64.90 บาท ทำให้ชาวสวนยางต้องออกมาประท้วง เพราะทนกับต้นทุนการผลิตไม่ไหว

 

หลายคนจึงตั้งข้อสงสัยเหตุใดราคายางถึงตกถึงขนาดนี้ วันนี้เราเลยรวบรวมสาเหตุหลัก 10 ข้อมาฝากให้ทุกท่านได้เรียนรู้กัน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

1. ประเทศไทยไม่มีการจัดโซนและควบคุมปริมาณให้เหมาะสม เดิมที่สินค้ายางพาราได้รับความนิยม ส่วนใหญ่ปลูกแค่ในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโต ทำให้ความต้องการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น หลายคนจึงหันมาปลูกยางกันเกือบทั่วประเทศ

2. ราคายางมีทิศทางเดียวกับน้ำมัน เพราะ โรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ยางสังเคราะห์จากยางพาราซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ต่อมาหันมาใช้ยางพาราแทน ทำให้ความต้องการยางเพิ่มมากขึ้น ราคายางก็จะสูงขึ้น แต่เมื่อราคมน้ำมันปรับลดลง โรงงานก็เปลี่ยนมาใช้พอลิเมอร์แทน ทำให้ราคาตกไปด้วย

3. เศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัว เดิมประเทศจีนจะมีการสั่งซื้อยางพาราเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาใช้ประดิษฐ์อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว จีนจึงเปลี่ยนบทบาทมาผลิตยางเอง มีการลงทุนปลูกยางในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ทำให้ยางพาราในไทยเกิดการตกค้าง จึงทำให้ราคาตก

 

4. เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เมื่อ2-3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวอย่างหนัก โดยเฉพาะช่วงปี 2554 – 2556 ส่งผลให้ความต้องการยางลดลง

5. สต็อกยางจีน ณ เมืองชิงเต่า ชิงเต่าเป็นเมืองที่มีการนำเข้ายางมากที่สุดเพื่อผลิตล้อยาง ที่ผ่านมาพบว่าสต็อกยางชิงเต่าเร่งตัวสูงขึ้น เนื่องจากเร่งนำเข้าในช่วงงดเก็บเงินสงเคราะห์ซึ่งเป็นเงินที่ทางกองทุนสงเคราะห์ยาง เรียกเก็บจากผู้ส่งออกยาง ทำให้ยางในสต็อกประเทศไทยไม่ได้ส่งออก

 

6. ประเทศไทยมีการผลิตและส่งออกสินค้าโดยไม่มีการแปรรูปและเพิ่มมูลค่า เมื่ออุตสาหกรรมโลกมีการสั่งซื้อยางพาราน้อยลง ในขณะที่ไทยมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาตก

7. ต้นทุนการผลิตยางมีแนวโน้มสูงขึ้น ต้นทุนเฉลี่ยการผลิตยางในไทยตกอยู่ที่กิโลละ 52 บาท เช่น ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร

8.วิกฤติภาคทางการเงินของสหรัฐฯ ถดถอย เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีความสำคัญอันดับ 4 ของไทย เมื่อสหรัฐเกิดการชะลอ ทำให้ราคายางต้องตกลง

9. ราคาชี้นำในตลาดล่วงหน้าของโลกลดลง และอยู่ในช่วงขาลง

10. นักเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์เทขายยาง ในช่วงราคายางขาลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา การเข้ามาเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะลดลง บรรดานักลงทุนหันไปสนใจตลาดหุ้น และโลหะมีค่า โดยเฉพาะทองคำแทน ทำให้ราคายางตกลงเร็วผิดปกติ

ที่มา: http://www.kanomjeeb.com/news-details.php?item=3586

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...