ไม่มี “สักสี” จะดีกว่า เตือนภัยคนชอบรอยสัก

ขอบคุณข้อมูลจาก : ข่าวสด

      หลายคนคงนิยม “การสัก” ผิวหนัง บางคนสักเป็นแฟชั่น บางคนสักยันต์มหานิยม ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โดยสีที่นำมาสัก มีส่วนประกอบของสารก่อมะเร็งพวก Diolepoxide หรือหากเกิดการเจ็บป่วย และต้องเข้าตรวจด้วยเครื่อง MRI อาจเกิดอาการข้างเคียง และหากต้องการลบรอยสัก ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

      ดร.นพ.เวสารัช เวสสโกวิท ประธาน ฝ่ายจริยธรรมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันการสักผิวหนังเป็นที่นิยมกัน และในส่วนของสีที่สักนั้นจะไม่อยู่ในบริเวณที่สักนาน ถ้าเวลาผ่านไปนานๆ จะเหลือเพียงร้อยละ 1-13 โดยสีจะกระจาย ไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง ทำให้ส่วนประกอบในสีเกิดเป็นสารก่อมะเร็งพวก diolepoxide

      ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการสักนั้น พบได้ร้อยละ 75 ของผู้สักทั้งหมด แบ่งเป็นอาการทางผิวหนังร้อยละ 68 คือ ตกสะเก็ด คัน บวม เป็นหนอง อาการทั่วไป ได้แก่ มึนงง เป็นไข้ พบได้ร้อยละ 7 และพบภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังพบได้ร้อยละ 6 เช่น แผลเป็น บวมเป็นๆ หายๆ ปัญหาทางจิตประสาท เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น แพ้สีบริเวณที่สัก เกิดเป็นแผลเรื้อรัง

      การติดเชื้อจากการสักเกิดได้จากเชื้อหลายๆ ชนิด ตั้งแต่ไวรัสตับ อักเสบชนิดบีและซี เชื้อเอชไอวี แบคทีเรียและไมโครแบคทีเรีย เชื้อราและซิฟิลิส สาเหตุมี 5 ปัจจัย ได้แก่ 1.สีปนเปื้อน 2.การสักไม่ดี 3.สถานที่ไม่ปลอดเชื้อ 4.เครื่องมือไม่ได้มาตรฐาน และ 5.ปัจจัยของแต่ละบุคคล

      สีที่ใช้สักจะมาจากอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ สีเคลือบรถยนต์ สีจากหมึกพิมพ์ เป็นต้น เมื่อนำมาใช้กับคนจึงไม่ปลอดภัย ปนเปื้อนของสาร ก่อมะเร็งประเภท polycyclic aromatic hydrocarbons สูงมาก และโลหะหนัก โดยเฉพาะนิกเกิลพบในทุกสี

      สีดำเป็นสีที่นิยมใช้สักมากที่สุด มีส่วนประกอบคือ carbon black ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งสูงเกินกว่าค่าที่ยอมรับได้ถึง 23,500 เท่า แม้ว่าสารก่อมะเร็งจะพบมาก แต่จากรายงานเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนัง กลับพบน้อย เนื่องจากสารก่อมะเร็งและโลหะหนักเกาะกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ แต่จากการใช้เลเซอร์ลบรอยสัก พบว่าทำให้อนุภาคของสีลดลงถึง 8 เท่า และปล่อยสารก่อมะเร็งออกมาจากเม็ดสีปริมาณมาก แต่ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะบอกได้ว่าการลบรอยสัก จะก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน

      ในไทยและอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก การสักยังไม่มีการควบคุม ปัจจุบันอาจทำได้เพียงผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เท่านั้น วิธีการตรวจสอบสีต่างๆ ยังไม่มีมาตรฐานกลาง แต่ในไทย เริ่มสร้างทีมที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายๆ สาขาวิชาชีพ เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับการสัก

 

 

Credit: https://www.yaklai.com/lifestyle/beauty-fashion/tatto-warning/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...