อเมซิ่ง“พะเยา”...อันซีนน้ำตกอุ่น-พระนั่งดิน สุดฟินหมอกงามภูลังกา ตื่นตาเวียนเทียนกลางน้ำหนึ่งเดียว

วิวทิวทัศน์ทะเลหมอกยามเช้าในแอ่งกระทะหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งจังหวัดพะเยา         “กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม” 
       
       นี่คือคำขวัญจังหวัด“พะเยา” จังหวัดเล็กๆแห่งภาคเหนือตอนบนที่ใครหลายๆคนอาจจะมองเป็น“เมืองผ่าน” หรือไม่ก็มองข้ามผ่านจังหวัดนี้ไป
       
       แต่ว่าถ้าหากใครมีโอกาสไปเที่ยวสัมผัสจังหวัดพะเยากันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่าพะเยาเป็นเมืองเล็กๆที่แฝงเร้นไปด้วยมนต์เสน่ห์อันชวนค้นหาอยู่มากมาย 
  กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต เส้นเลือดหลักแห่งจังหวัดพะเยา         กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต
       
       สำหรับสิ่งที่ไม่ควรพลาดในการมาเยือนพะเยาก็คือการไปเที่ยวชม“กว๊านพะเยา”หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อและเป็นดังสัญลักษณ์ของจังหวัดนี้
       
       กว๊านพะเยาเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใน อ.เมือง พะเยา กว๊านพะเยานอกจากจะเป็นดังแหล่งชีวิตเส้นเลือดหลักของเมืองพะเยาแล้ว ที่นี่ยังขึ้นชื่อในเรื่องของทัศนียภาพอันงดงาม โดยเฉพาะบรรยากาศในยามเช้าและเย็นอันทรงเสน่ห์ เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ใครต่อหลายคนมาเยือนยังกว๊านพะเยาแห่งนี้ 
  กว๊านพะเยา สถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ของจังหวัดพะเยาที่ไม่ควรพลาด         โดยในช่วงเช้าตรู่ของวันอากาศเป็นใจ เราจะได้เห็นพระอาทิตย์ดวงกลมโตค่อยๆลอยโผล่พ้นเหลี่ยมเขาเหนือน่านน้ำในกว๊าน มีสายหมอกลอยจางๆ มีภาพชาวบ้านพายเรือออกหาปลา ท่ามกลางแสงสีเหลืองทองของแสงแดดที่สาดส่อง จากนั้นในช่วงประมาณ 7 โมงเช้าจะมีกิจกรรม “ตักบาตรข้าวเหนียว” ที่ริมกว๊านให้ผู้สนใจได้ทำบุญใส่บาตรกัน
       
       ส่วนในเวลาเย็น บรรยากาศยามพระอาทิตย์ค่อยๆลาลับหลังม่านขุนเขาที่ตั้งตระหง่านเคียงคู่ผืนแผ่นน้ำแห่งท้องทะเลสาบนั้น ดูงดงามเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยวชมพระอาทิตย์ตกที่กว๊านพะเยากันเป็นจำนวนมาก
       
       บริเวณริมกว๊านยังมีโรงแรม ที่พัก จำนวนหนึ่งให้เลือกสรร ส่วนที่มีมากก็คือร้านอาหารที่ตั้งอยู่เรียงราย โดยมี 2 เมนูชูโรงคู่กว๊าน คือ “ปลาเผา” และ “กุ้งฝอยทอด” อันชวนกิน 
  บรรยากาศพักผ่อน ออกกำลังกายยามเย็นริมกว๊าน         นอกจากนี้ที่ริมกว๊านบริเวณริมฝั่งน้ำก็มีการจัดสวนสาธารณะ มีการจัดทำมุมเก๋ๆ ประดับประติมากรรมเท่ๆ ให้ถ่ายรูปกันเป็นที่เพลิดเพลิน โดยมีไฮไลท์อยู่ที่ประติมากรรม“พญานาคคู่”ที่อ้างอิงมาจากตำนานพญานาคแห่งกว๊านพะเยา ซึ่งในช่วงยามเย็นที่สวนริมกว๊านจะดูคึกคักมากไปด้วยสีสัน ทั้งจากผู้ที่มาท่องเที่ยว พักผ่อน ออกกำลังกาย ชมวิว และมาเฝ้าชมพระอาทิตย์ตกดินที่ถือเป็นช่วงเวลาไฮไลท์ของที่นี่
       
       ขณะที่ฝั่งตรงข้ามของรูปปั้นพญานาคก็จะเป็น“อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง”กษัตริย์องค์ที่ 9 (พ.ศ. 1801 - 1841)แห่งเมืองภูกามยาว(เมืองพะเยาในสมัยโบราณ)ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้จนรุ่งเรืองให้เราได้เคารพสักการะกัน 
  ประติมากรรมพญานาคริมกว๊าน         หลวงพ่อศิลา - วัดติโลกอาราม 
       
       กว๊านพะเยายังมีสถานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ “วัดติโลกอาราม” วัดกลางน้ำที่ตั้งเด่นอยู่บนเกาะกลางกว๊าน สามารถมองเห็นได้ไกลๆจากบนฝั่ง
       
       วัดติโลกอาราม เป็นวัดที่สันนิษฐานว่า พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาเมืองเชียงใหม่ โปรดฯให้เจ้าหัวแสน เจ้าเมืองพะเยาสร้างขึ้นมาในช่วงราวปี พ.ศ. 2019-2030 
  วัดติโลกอาราม ตั้งเด่นอยู่กลางกว๊านสามารถมองเห็นได้จากบนฝั่ง         ครั้นเมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบันในปี พ.ศ. 2484-2484 ทางกรมประมงได้กั้นประตูน้ำเพื่อกักเก็บน้ำจนเกิดเป็น“กว๊านพะเยา”ขึ้นมา แต่การกั้นประตูน้ำในครั้งนั้นส่งผลให้ ชุมชน บ้านเรือน เรือกสวน และวัดหลายแห่งในพื้นที่กักเก็บน้ำ รวมถึงวัดติโลกอารามที่ต้องจมลงอยู่ใต้ผืนน้ำ
       
       จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ชาวบ้านวัดศรีอุโมงค์คำได้ขุดค้นพบพระเครื่องและพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี ที่ต่อมาเรียกขานว่า “หลวงพ่อศิลา” หรือ “พระเจ้ากว๊าน” ซึ่งทางชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ “วัดศรีอุโมงค์คำ” โดยได้มีการทำพิธีสมโภชน์ถึง 7 วัน 7 คืนด้วยกัน 
  วัดติโลกอาราม วัดกลางแจ้งกลางกว๊าน ประดิษฐานหลวงพ่อศิลาโดดเด่น         ต่อมาในปี 2550 ได้มีการสำรวจวัดร้างกลางกว๊านที่ค้นพบหลวงพ่อศิลา พบหลักฐานเป็นศิลาจารึกเขียนด้วยตัวอักษรฝักขาม แปลได้ว่า“วัดติโลกอาราม” ทางจังหวัดจึงได้ลงมือบูรณะปรับแต่งวัดติโลกอารามแล้วเสร็จภายในปี 2550 จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อศิลาให้มาประดิษฐานที่วัดติโลกการามเป็นการกลับคืนสู่กว๊านพะเยาอีกครั้ง
       
       ปัจจุบันวัดติโลกอารามมีหลวงพ่อศิลาที่มีพุทธลักษณะอันงดงามเป็นพระประธาน ประดิษฐานโดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางแจ้งบนเกาะกลางกว๊านพะเยา ให้พุทธศาสนิกชนได้นั่งเรือแจวพื้นบ้านจากท่าเรือวัดติโลกอาราม(ค่าเรือคนละ 30 บาท นั่งเรือประมาณ 10 นาที) มาสักการะหลวงพ่อศิลาท่ามกลางบรรยากาศแวดล้อมของสายน้ำขุนเขาอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์แห่งกว๊านพะเยา 
  หลวงพ่อศิลา วัดติโลกอาราม อีกหนึ่งพระพุทธรรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพะเยา         เวียนเทียนกลางน้ำหนึ่งเดียวในไทย
       
       ปี พ.ศ. 2550 ในการอัญเชิญหลวงพ่อศิลากลับคืนสู่กว๊านพะเยา ทางจังหวัดได้ริเริ่มจัดงาน“เวียนเทียนกลางน้ำ”รอบองค์หลวงพ่อศิลาและวัดติโลกอารามขึ้นเป็นครั้งแรกในวันอาสาฬหบูชา จากนั้นก็ได้จัดงานเวียนเทียนกลางน้ำปฏิบัติเป็นประเพณีคู่เมืองพระเยาเรื่อยมาในทุกๆวันพระใหญ่ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา คือ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา 
  พระ-เณร สวดมนต์ที่วัดติโลกอารามในพิธีเวียนเทียนกลางน้ำ         งานประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำกว๊านพะเยา จะเริ่มขึ้นในช่วงเย็นของวัน(ประมาณ 17.00 น.) โดยจะมีการนำพระภิกษุ-สามเณร นั่งเรือขึ้นไปทำพิธี สวดมนต์ ที่ลานหลวงพ่อศิลา วัดติโลกอาราม จากนั้นจะเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน นำดอกไม้ธูปเทียนนั่งเรือแจวพื้นบ้าน(เรือนำเที่ยว)ไปลอยลำเวียนเทียนรอบองค์หลวงพ่อศิลาและวัดติโลกอาราม ซึ่งจะมีการเปิดให้ผู้สนใจได้มาร่วมเวียนเทียนกลางน้ำเป็นรอบๆไป
       
       นับเป็นประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ“หนึ่งเดียวในไทย”ของจังหวัดพะเยา ที่นอกจากจะเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นแล้ว ยังเปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์จากพลังแห่งศรัทธาที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย 
  พุทธศาสนิกชน นั่งเรือมาเวียนเทียนกลางน้ำรอบหลวงพ่อศิลา วัดติโลกอาราม         พระเจ้าตนหลวง-หอวัฒนธรรมนิทัศน์ 
       
       ในตัวเมืองพะเยายังมีอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญแห่งล้านนานั่นก็คือ“พระเจ้าตนหลวง” พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพะเยา ซึ่งว่ากันว่าใครที่ไปเยือนพะเยาแล้วถ้าไม่ได้ไปกราบสักการะองค์พระเจ้าตนหลวงก็เหมือนกับว่ายังมาไม่ถึงพะเยาโดยสมบูรณ์
       
       พระเจ้าตนหลวงประดิษฐานอยู่ใน“วิหารพระเจ้าตนหลวง” แห่ง “วัดศรีโคมคำ” หรือ“วัดพระเจ้าตนหลวง” โดยเมื่อเดินเข้าเขตกำแพงวิหารมาแล้ว ทางด้านขวามือจะมีองค์พระเจ้าตนหลวงจำลองให้พุทธศาสนิกชน ปิดทอง จุดธูปเทียน บูชา ส่วนพระเจ้าตนหลวงองค์จริงประดิษฐานอยู่ในวิหารให้เราได้เข้าไปกราบไหว้ ขอพรกัน 
  พระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา         พระเจ้าตนหลวงนอกจากจะมีพุทธลักษณะอันงดงามแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา หน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 17 เมตร ใช้เวลาสร้างถึง 33 ปี ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 520 ปี
       
       ทุกๆปีในวันวิสาขบูชา จะมีการจัดงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง เรียกว่างานประเพณี “นมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง” 
  พระอุโบสถกลางน้ำ วัดศรีโคมคำ         จากวิหารพระเจ้าตนหลวงหากเดินไปทางด้านหลังอีกนิดก็จะพบกับ “พระอุโบสถกลางน้ำ” โบสถ์หลังใหม่ที่สร้างอย่างสวยงามสมส่วนด้วยศิลปะล้านนาประยุกต์ ภายในโบสถ์โดดเด่นไปด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามฝีมือ (ท่าน)“อังคาร กัลป์ยาณพงษ์” ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ ส่วนด้านหลังโบสถ์ติดกับกว๊านพะเยา จึงมีคนนิยมมาทำบุญด้วยการ ปล่อยปลา ปล่อยเต่า กันอยู่เสมอ
       
       วัดศรีโคมคำยังมีอีกหนึ่งจุดน่าสนใจที่ไม่ควรพลาดก็คือ “หอวัฒนธรรมนิทัศน์” ที่ภายในจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ โดยได้รวบรวมศิลปวัตถุน่าสนใจมากมายมาจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูปเก่าแก่ต่างๆ พระพุทธรูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผา ศิลาจารึก ฯลฯ ส่วนถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของหอวัฒนธรรมฯแห่งนี้ก็คือซากฟอสซิลต่างๆ อาทิ ฟอสซิลไดโนเสาร์,ฟอสซิลช้าง 4 งา, ฟอสซิลปูคู่รักมหัศจรรย์อันน่าทึ่ง เป็นต้น 
  โถงจัดแสดงชั้นล่างของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ         ด้วยความน่าสนใจของหอวัฒนธรรมฯ ทั้งจากสิ่งสำคัญต่างๆ ข้าวของเครื่องใช้ที่จัดแสดง และการถ่ายทอดเรื่องราวในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ ทำให้หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ได้รับ“รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” หรือ“รางวัลกินรี” จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) โดยสามารถคว้า“รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม” ในปี พ.ศ. 2554 และ “รางวัลยอดเยี่ยมประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว” ในปี พ.ศ. 2556 มาครอง นับเป็นรางวัลเกียรติยศทางการท่องเที่ยวที่การันตีในความน่าสนใจและความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ที่สร้างสรรค์หอวัฒนธรรมฯแห่งนี้ ซึ่งหลักๆแล้วก็เป็นพระจากวัดศรีโคมคำนั่นเอง
       
       เที่ยววัดงามในเมือง 
       
       นอกจากวัดศรีโคมคำและวัดติโลกอารามที่มี 2 พระพุทธรูปสำคัญแล้ว ในตัวเมืองพะเยายังมีวัดน่าสนใจให้ไปสัมผัส ทัวร์ธรรมมะ ไหว้พระทำบุญ ชมสิ่งน่าสนใจภายในวัดเหล่านั้นกัน ซึ่ง“ตะลอนเที่ยว” ขอเริ่มกันที่“วัดพระธาตุจอมทอง” ที่ตั้งอยู่นดอยจอมทอง ตรงข้ามกับวัดศรีโคมคำ 
  พระธาตุจอมทองคู่เมืองพะเยาแห่งวัดพระธาตุจอมทอง         ภายในวัดพระธาตุจอมทอง โดดเด่นไปด้วยองค์“พระธาตุจอมทอง” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์สีทองอร่ามคู่บ้านคู่เมืองพะเยา
       
       ส่วนอีกหนึ่งวัดสำคัญคู่เมืองพะเยาที่มีสิ่งน่าสนใจในระดับสุดยอดแห่งล้านนาให้ทัศนากันนั่นก็คือ“วัดศรีอุโมงค์คำ” ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถ.ท่ากว๊าน ต.เวียง อ.เมือง
       
       วัดศรีอุโมงค์คำหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดสูง” เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่เป็นเนินสูงเด่น ภายในวัดโดดเด่นไปด้วยองค์พระธาตุเจดีย์สีทองอายุเก่าแก่ไม่ตำกว่า 400 ปี ที่ตั้งอยู่บนเนินเห็นเด่นเป็นสง่า อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปน่าสนใจให้สักการะ อย่าง “พระเจ้าทันใจ”, “องค์หลวงพ่อศิลาจำลอง” และ “พระเจ้าแข้งคม” ที่เป็นพระพุทธรูปหินทรายศิลปะพื้นบ้านที่ช่างได้สร้างสรรค์ให้ท่านมีหน้าแข้ง(พระชงฆะ) เป็นเหลี่ยมเป็นสันคมชัดอย่างชัดเจน
       15 
  หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ วัดศรีอุโมงค์คำ พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่ามีพุทธลักษณะที่งดงามที่สุดในล้านนา         ส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์ของวัดศรีอุโมงค์คำแห่งนี้ก็คือ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์”(หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ”พระเจ้าล้านตื้อ” หรือ “พระเจ้าแสนแส้”) พระพุทธรูปปางมารวิชัยสีทองอร่าม มีพระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์ดูอมยิ้มตลอดเวลา ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งดินแดนล้านนา
       
       เที่ยววัดงามรอบเมือง
       
       ในเขตอำเภอเมืองพะเยายังมีวัดน่าสนใจอีกจำนวนหนึ่งที่แม้จะอยู่รอบนอกตัวเมืองไปหน่อย แต่ก็คุ้มค่าต่อการไปเที่ยวชม ซึ่ง“ตะลอนเที่ยว” ขอเริ่มกันที่ “วัดลี” ที่ตั้งอยู่ที่บ้านหล่ายอิง ต.เวียง อ.เมือง (ใกล้กับโรงเรียนเทศบาล 3)
       
       วัดลีมีองค์พระธาตุวัดลีเป็นปูชนียสถานสำคัญ รวมถึงภายในวัดมี “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดลี” ที่เก็บสะสมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุน่าสนใจอันหลากหลาย โดยเฉพาะ“พระพุทธรูปหินทราย” ที่ทางวัดจัดแสดงไว้เป็นจำนวนมาก 
  งานแกะสลักหินทราย ณ อุทยานพุทธศิลป์ วัดผาธรรมนิมิต         ส่วนอีกหนึ่งวัดที่มีงานพุทธศิลป์ที่สร้างสรรค์จากหินทรายที่น่าสนใจยิ่งก็คือ“วัดผาธรรมนิมิต” หรือ “วัดห้วยผาเกี๋ยง” ที่ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผาเกี๋ยง ต.ท่าวังทอง อ.เมือง (ห่างจากตัวเมืองไปราว 10 กม.)
       
       ด้วยความที่วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่หินทราย ทางวัดจึงสร้างสรรค์หินทรายในพื้นที่เพิงผาของวัดให้เป็น “อุทยานพุทธศิลป์” ที่มากไปด้วยงานแกะสลักพระพุทธรูปหินทรายในปางต่างๆทั้งแบบประติมากรรมนูนสูงและนูนต่ำ นอกจากนี้ก็ยังมีรูปสลักทวยเทพ รอยพระพุทธบาท ซึ่งช่างสามารถแกะสลักออกมาได้อย่างงดงามน่าทึ่ง พระพุทธรูปมีพระพักตร์อ่อนหวานดูมีชีวิตชีวา
       
       นับได้ว่าทั้งวัดลีและวัดผาธรรมนิมิตถือเป็นแหล่งเที่ยวชมและแหล่งศึกษาพระพุทธรูปหินทรายอันสำคัญที่น่าสนใจยิ่งของภาคเหนือ 
  อุทยานพระพุทธศาสนา อันร่มรื่นแห่งวัดอนาลโยทิพยาราม         จากนั้นเราชวนขึ้นดอยใกล้เมืองไปยัง "วัดอนาลโยทิพยาราม" ที่ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัม ห่างจากตัวเมืองพะเยาไปประมาณ 20 กิโลเมตร
       
       วัดอนาลโยสร้างโดยพระปัญญาพิศาลเถร(พระอาจารย์ไพบูลย์ฯ) ภายในวัดร่มรื่นตามลักษณะของวัดป่า ซึ่งทางวัดจัดทำเป็น “อุทยานพระพุทธศาสนา” ที่ประกอบไปด้วยสิ่งน่าสนใจมากมาย ว่าจะเป็น รัตนเจดีย์ศิลปะแบบอินเดีย-พุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม
       
       อีกทั้งยังมี หอพระแก้วมรกตจำลอง เครื่องบูชาพระแก้วมรกต พระเงิน พระทอง พระนาค พระบุษราคัม งาช้างดำ(เป็นคู่)พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก
       
       นอกจากนี้ภายในวัดอนาลโยยังมีศาลาชมวิวริมเชิงดอยที่สามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างชัดเจน 
  วัดอนาลโยฯกับบรรยากาศอันร่มรื่นในแบวัดป่า         อันซีน งดงาม วัดแห่งเชียงคำ 
       
       จากแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในเขตเมืองเราออกนอกเมืองไปยัง“อำเภอเชียงคำ”กันบ้าง
       
       เชียงคำเป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้ออาศัยอยู่เป็นหลัก และเป็นหนึ่งอีกในอำเภอท่องเที่ยวสำคัญของพะเยา โดยจากตัวเมืองพะเยา มุ่งหน้าผ่าน“ถนนสายดอกไม้” อำเภอดอกคำใต้ ไปยังอำเภอจุนสู่อำเภอเชียงคำ ระหว่างทางเราจะได้พบกับหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว“อันซีนไทยแลนด์” แห่งเมืองพะเยานั่นก็คือ "พระเจ้านั่งดิน" ที่ประดิษฐานอยู่ที่ "วัดพระเจ้านั่งดิน" ต.เวียง อ.เชียงคำ (ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ 4 กม.) 
  พระเจ้านั่งดิน พระพุทธรูปอันซีนไทยแลนด์         พระเจ้านั่งดิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความแปลกเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นหนึ่งเดียวไม่เหมือนที่ไหนๆ เพราะเป็นพระประธานที่ประดิษฐานอยู่บนพื้น ไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ 
       
       สำหรับความเป็นมาของพระเจ้านั่งดินนั้น มีเรื่องเล่าขานว่า ในอดีตเมื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เสร็จได้วางท่านไว้บนพื้นราบ ครั้นต่อมามีชาวบ้านพยายามสร้างฐานชุกชีให้อัญเชิญท่านขึ้นตั้งอยู่บนนั้น แต่ปรากฏว่าพยายามเท่าไหร่ก็ยกไม่ขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกสืบต่อกันมาว่า "พระเจ้านั่งดิน"
       
       ในอำเภอเชียงคำยังมีอีกหนึ่งวัดสำคัญนั่นก็คือ “วัดนันตาราม” ที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนไชย ในเขตสุขาภิบาลเมืองเชียงคำ 
 
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...