อ.เจษฎา โพสต์อธิบาย ภาพเอ็กซเรย์พยาธิเต็มตัวคนจีน

 

แฟ้มภาพ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก hk.on.cc

          อ.เจษฎา โพสต์อธิบาย ภาพเอ็กซเรย์พยาธิเต็มตัวคนจีน เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ฟันธงว่าเป็นพยาธิตัวตืดปลา

          เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเขียนข้อความถึงกรณีที่มีภาพเอ็กซเรย์คนจีน เจอพยาธิทั้งตัวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง และการที่เอ็กซเรย์เห็นพยาธิได้ เป็นเพราะมีการสร้างแคลเซียมในร่างกายเพื่อมาต้านพยาธินั่นเอง ส่วนการระบุว่า พยาธิมาจากปลาดิบ ตนไม่ฟันธงเรื่องนี้ แต่รับว่า พยาธิตัวตืดของปลานั้นมีจริง

สำหรับข้อความทั้งหมดของนายเจษฎา มีดังนี้

          "ภาพเอ็กซเรย์คนจีนเจอพยาธิทั้งตัว เรื่องจริงหรือไม่" ....

          เรื่องจริงครับ เป็นภาพเอ็กซเรย์ของคนที่มีพยาธิตัวตืด กระจายไปตามเส้นเลือดไปทั่วร่างกาย แค่สิ่งที่เอ็กซเรย์เห็นนั้นเรียกว่า cysticercosis คือเป็นแคลเซี่ยมของร่างกายเราที่สร้างขึ้นมาต่อต้านกับพยาธิ จึงทำให้เอ็กซเรย์เห็นได้

          ตามข่าวเชื่อว่าพยาธิตัวตืดนี้มากับการกินเนื้อปลาดิบๆของปลาน้ำจืด (บ้านเราก็มีคนไข้แบบนี้เช่นกัน จากตัวตืดหมู) .... วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การทำให้สุกเสียก่อน หรือเอาปลาดิบนั้นแช่แข็งอุณหภูมิติดลบ 15 องศา สัก 4 วันครับ

          นอกจากนี้ นายเจษฎา ยังระบุอีกว่า ผมแค่บอกว่าภาพนั้นเป็นภาพพยาธิจริงครับ และแค่บอกว่าตามข่าวของฝรั่ง หมอพูดว่ามาจากปลา ... และก็ตอบข้อสงสัยที่ว่าในปลามีพยาธิตัวตืดได้มั้ย .... ผมไม่ได้ฟันธงว่าคนนี้ไปโรคจากพยาธิตัวตืดปลาครับ

          คำถามต่อเนื่องจากเรื่องเอ็กซเรย์เจอพยาธิในคนจีนว่า พยาธิตัวตืดมีในปลาด้วยเหรอ เคยเรียนแต่ตัวตืดหมู ตัวตืดวัว .... มีครับ มีพยาธิตัวตืดปลาด้วย (แต่ผมไม่ทราบว่าใช่ตัวเดียวกับที่เจอในคนไข้คนจีนหรือเปล่า)

          จากเว็บมหิดลครับ

ชื่อสามัญ พยาธิตืดปลา

          ทำให้เกิดโรค Diphyllobothriasis

          เป็นหนอนพยาธิในคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปกติพบในสัตว์กินปลาโดยเฉพาะในยุโรปตอนเหนือ ตัวตืดไม่แสดงความจำเพาะต่อโฮสต์ จึงพบได้ในสัตว์พวกสุนัข พวกมิงค์ (mustelids), พวกแมวน้ำ (pinnipeds), พวกหมี เป็นต้น

รูปลักษณะ

          ตัวตืดมีสีงาช้าง ยาว 10 เมตร หรือมากกว่า ประกอบด้วยปล้องจำนวนได้ถึง 3,000 ปล้องหรือมากกว่า, หัวมีขนาดเล็กคล้ายช้อน ขนาด 1 2.5 มม. มีร่องด้านหลังและท้องเรียกว่า บอเทรีย, ต่อจากหัวคือคอซึ่งยาวเป็นหลายเท่าของหัว และ ต่อมาเป็นปล้องต่อกันเป็นโซ่ยาว ; ประมาณ 4 ใน 5 ของลำตัว ประกอบด้วยปล้องอ่อนและปล้องแก่, ส่วนที่เหลือเป็นปล้องสุก

          ปล้องแก่กว้างมากกว่ายาวและเต็มไปด้วยอวัยวะสืบพันธ์ อัณฑะประกอบด้วยพวงเม็ดเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่สองข้างด้านหลังของลำตัว ; วิเทลลินเป็นพวงเม็ดเล็ก ๆ มากมายเช่นเดียวกันกระจายอยู่ทั่วไปในปล้อง ; รูเปิดของอวัยวะเพศผู้และเมียคือ genital atrium อยู่ตรงเส้นกึ่งกลางด้านท้อง (midventral) ; รังไข่มี 2 พู (bilobed) อยู่ 1 ใน 3 ด้านล่างของปล้องและอยู่ด้านท้อง ; มดลูดพับไปมาเป็นรูปดอกกุหลาบ (rosette) และสุดปลายมดลูกมีรูเปิด (uterinepore) เพื่อปล่อยไข่สู่ภายนอก ; ปล้องแก่และปล้องสุกไม่สามารถไม่สามารถบอกแยกจากกันได้เด่นชัด ; การสร้างไข่และปล่อยไข่มีตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อปล้องสุกหยุดทำงานจะค่อยสลายตัวและหลุดออกมาเป็นเส้นยาว ; ตัวตืด 1 ตัวปล่อยไข่ได้ถึง 1 ล้านฟองต่อวัน

          ไข่พยาธิกลมรีค่อนข้างอ้วน มีฝา, เปลือกไข่ค่อนข้างหนา ออกสีเหลืองทอง, ภายในยังไม่เป็นตัว

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...