งูไม่กลัวมะนาว และเชือกกล้วย

งูไม่กลัวมะนาว และเชือกกล้วย

จากการสอบถามสัตวแพทย์ด้านงู ได้คำตอบว่า "ไม่จริง" เป็นความเชื่อล้วนๆ เพราะความจริงแล้ว งูไม่กลัวมะนาวและเชือกกล้วยแต่อย่างใด แม้แต่ต้นมะนาวก็ยังเคยมีงูขึ้นไปเลื้อยหน้าตาเฉย สันนิษฐานว่าคนโบราณอาจจะพกมะนาวเอาไว้เป็นกระสุนขว้างปางูมากกว่า ส่วนเชือกกล้วย ยิ่งเวลาถูกน้ำก็ยิ่งเหนียว ส่วนเชือกชนิดอื่นจะยิ่งลื่น แต่ไม่เกี่ยวกับงูกลัวเชือกกล้วย

ส่วนเวลาที่ต้องเข้ารกเข้าพงหรือเดินป่า ควรแต่งกายมิดชิด รัดกุม สวมรองเท้าบู๊ตและหาไม้เคาะพื้นเพื่อทำให้เกิดการสั่นสะเทือน เมื่องูรับรู้ถึงการสั่นสะเทือนก็จะเลื้อยหนีไปเองหรือปรากฏตัวให้เราเห็น เราก็เลี่ยงทางนั้นไป

จงจำไว้ว่า การส่งเสียงดังไล่งูก็ไม่เป็นผลเลยเพราะงูไม่มีหู มันจึงไม่ได้ยินเสียง! การแสดงของแขกที่เป่าขลุ่ยหรือปี่เรียกงูให้ขึ้นมาจากตะกร้านั้น ความจริงแล้ว งูมันจ้องดูขลุ่ยหรือเข่าของนักเป่าปี่ที่เคลื่อน ไหวส่ายไปมานั่นเอง 

สิ่งที่ควรทำเวลาเผชิญหน้ากับงู คือ "มีสติ" ยืนนิ่งๆ ไม่ต้องวิ่งหนี ยกเว้นงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ เพราะงู 2 ชนิดนี้ ระหว่างตาและจมูกมีร่องจับความร้อน ดังนั้น เมื่อเจองูให้ยืนนิ่งๆ เข้าไว้ งูจะไปเอง แต่ถ้างูไม่หลบ เราก็ต้องค่อยๆ ก้าวถอยออกมาให้พ้นระยะอันตราย 

ในกรณีที่งูสู้คน ส่วนใหญ่มักจะเป็นการที่คนไปบุกรุกอาณา เขตของงูก่อน เช่น งูจงอางก็อาจจะชาร์ตเข้ามาหาคนเพื่อเป็นการป้องกันตัวของงู

งูส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ไล่กัดคน ไม่เหมือนงูบางชนิดในแอฟริกา เช่น แบล็กมัมบา (Black Mamba) หรือกรีนมัมบา (Green Mamba) 

นอกจากนี้ ส่วนการใช้สารเคมี เช่น กำมะถันหรือปูนขาวก็ใช้ไม่ได้ผลกับงู 

สำหรับวิธีการป้องกันไม่ให้มีงูเลื้อยเข้าไปในบ้าน คือ ไม่ให้มีอาหารของงูอยู่ในบ้านและไม่ให้มีที่รกๆ เป็นที่หลบซ่อนตัว เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้เก็บมิดชิด ไม่อย่างนั้น แมลงจะเข้ามาตอมซึ่งแมลงเป็นอาหารของกบ เขียด อึ่งอ่าง และสัตว์อย่างกบ เขียด อึ่งอ่างก็เป็นอาหารจานโปรดของงู ดังนั้น ถ้ามีอาหารงู งูก็จะตามเข้ามา ชาวสวนชาวนาที่นอนตามพื้นบ้านก็มีโอกาสที่จะถูกงูกัดได้เพราะงูตามกบ เขียดเข้าไปในบ้านและคนก็อาจจะพลิกตัวนอนทับงูได้ จึงถูกงูกัด 

นอกจากนี้ การปลูกต้น "เสลดพังพอน" ก็ไม่ได้กันงูได้ตามชื่อและความเชื่อเพราะเวลางูประจันหน้ากับพังพอนเข้าจริงๆ หากงูมีโอกาสเป็นฝ่ายทำก่อน พังพอนก็จะตกเป็นอาหารของงู แต่ถ้าพังพอนเป็นฝ่ายได้เปรียบ งูก็จะกลายเป็นอาหารของพังพอนไป

หากเด็กๆ พบเห็นงู นอกจากทำตามคำแนะนำที่บอกไว้แล้ว ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือครูเพื่อให้ผู้ใหญ่แจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตำรวจ อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่สำนักงานเขต ให้มาช่วยจับงู 

ข้อมูลจาก http://www.khaosod.co.th/

22 เม.ย. 57 เวลา 13:26 3,599 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...