10 อันดับสุดยอดสนามบิน ปี 2014 จากผลโหวตทั่วโลก



 

10 อันดับสุดยอดสนามบิน ปี 2014 จากผลโหวตทั่วโลก

 

 

วันที่ 27 มีนาคม 2557 เว็บไซต์สกายแทร็กซ์ ผู้จัดอันดับสนามบินทั่วโลก เปิดเผยอันดับสนามบินที่ดีที่สุด ประจำปี 2557 จากการรวบรวมผลการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 12 ล้านคนทั่วโลก

ที่มา : ทีมงาน toptenthailand

10. ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (London Heathrow Airport)

หรือมักเรียกโดยย่อว่า ฮีทโธรว์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของประเทศสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ในกรณีของจำนวนผู้โดยสาร และเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก ในกรณีของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดำเนินการโดย บริษัท ท่าอากาศยานอังกฤษ จำกัด (เดิมคือ องค์การท่าอากาศยานแห่งประเทศอังกฤษ)ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ตั้งอยู่ทาง ทิศใต้ของเมืองฮิลลิงดอน ห่างจากตัวเมืองของกรุงลอนดอนประมาณ 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) เป็นหนึ่งในสามของท่าอากาศยานที่อยู่ในเขตของกรุงลอนดอนและปริมณฑล อีกสองแห่งก็คือ ท่าอากาศยานลอนดอนซิตตี้ และท่าอากาศยานลอนดอนบิ๊กกิงฮิล ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์มีทางวิ่งขนานกัน 2 ทางวิ่ง ตามแนวทิศตัวออกและทิศตะวันตก และ มีอาคารผู้โดยสาร 4 อาคาร โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง และยังมีแผนปรับปรุงอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกใหม่ รวมทั้งเพิ่มทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นทางด้วย

9. ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ (Vancouver International Airport)

ตั้งอยู่ที่ริชมอนด์, บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ห่างจากตัวเมืองแวนคูเวอร์ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานหลักของแอร์แคนาดา และเป็นท่าอากาศยานรองของเวสต์เจ็ต แวนคูเวอร์ ยังเป็น 1 ใน 8 ของท่าอากาศยานในแคนาดา ที่เป็นที่ตั้งของด่านตรวจลงตราล่วงหน้าของสหรัฐอเมริกา

8. ท่าอากาศยานซูริก (Zurich Airport)

หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ท่าอากาศยานโคลเทิน (Kloten Airport) ตั้งอยู่ในเมืองโคลเทิน, รัฐซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บริหารโดย Unique Airport เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นศูนย์กลางของสายการบินสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ มี Skyguide รับผิดชอบการควบคุมการจราจรทางอากาศทั้งหมดในท่าอากาศยาน

7. ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง (Beijing Capital International Airport)

ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking) ด้วยระบบถอดความแบบใหม่ (เป็น Beijing) ทำให้ในบางครั้งท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งใช้รหัสสนามบิน IATA ว่า BJS ปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า, ไชน่าซิงหัวแอร์ไลน์ และไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์

6. ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Airport)

ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว ในปีพ.ศ. 2547 ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ หรือท่าอากาศยานโตเกียวแห่งใหม่ ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดของโตเกียว เหลือเพียงเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป ในกรุงโซล เกาหลีใต้ เท่านั้นที่ยังให้บริการอยู่ที่ท่าอากาศยานฮะเนะดะ แม้ว่าสนามบินฮะเนะดะจะให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ยอดผู้โดยสารที่มาใช้บริการมีจำนวนมากถึง 67 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2550 มากที่สุดทั้งในญี่ปุ่น และเอเชีย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ทางท่าอากาศยานได้เปิด หอควบคุมการจราจรทางอากาศใหม่ รันเวย์ที่ 4(รันเวย์ที่05และ23) และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศใหม่และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เก่า ตอนนี้ถูกรือถอนไปแล้ว ทำให้สนามบินดังกล่าวกลายเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ของญี่ปุ่นอย่างเต็มรูปแบบ การพลิกโฉมสนามบินครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ โตเกียวเป็นศูนย์กลางทางการบินที่สามารถแข่งขันกับสนามบินนานาชาติอื่นๆ เช่น สนามบินนานาชาติอินชอน และสนามบินนานาชาติฮ่องกง เป็นต้น

5. ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม สคิปโพล (Amsterdam Schipol Airport)

ชื่อเสียงของสนามบินสคิปโพลในอัมสเตอร์ดัมนั้นโด่งดังมานานในฐานะสนามบิน ใหญ่และสำคัญของยุโรป ปีที่แล้วรองรับผู้โดยสารมากกว่า 45 ล้านคน แต่ก็เช่นเดียวกับสนามบินอื่นๆที่มักเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเจ้าหน้าที่หอควบคุมการบินบางคนเปิดเผยว่าใช่ว่านักบินทุกคนจะยอมทำตาม คำแนะนำของเจ้าหน้าที่หอควบคุมการบิน

4. ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (Hong Kong International Airport)

ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมา หลายครั้ง

3. ท่าอากาศยานนานาชาติมิวนิก (Munich Airport)

หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ท่าอากาศยานมิวนิกฟรานซ์โยเซฟชเทราซ์ (เยอรมัน: Flughafen München Franz Josef Strauß, อังกฤษ: Franz Josef Strauss International Airport) เพื่อเป็นเกียรติต่อฟรานซ์ โจเซฟ สเตราส์ อดีตผู้ว่าการรัฐบาวาเรีย ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่มิวนิก เยอรมนี ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 28 กิโลเมตร (17.5 ไมล์) มิวนิกเป็นท่าอากาศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี รองจากท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงค์เฟิร์ต และเป็นท่าอากาศยานหลักของลุฟต์ฮันซา

2. ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน (Incheon International Airport)

ตั้งอยู่ที่เกาะยางจอง เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโซล โดยรองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ และสายการบินแห่งชาติอย่างโกเรียนแอร์ รวมทั้งเอเชียน่าแอร์ไลน์ และคาร์โก360 แทนที่ท่าอากาศยานกิมโป (เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติกิโป) นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา อินช็อนยังได้รับการยอมรับจากสกายแทร็ก ว่าเป็นท่าอากาศยานระดับ 5 ดาว ร่วมกันกับชางงีของสิงคโปร์ และฮ่องกงของจีน

1. ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี (Singapore Changi Airport)

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี จากประเทศสิงคโปร์ ยังคงรักษาตำแหน่งแชมป์ คว้าอันดับ 1 ได้อีกครั้ง ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์

 
 
 
ที่มา: http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20140328163801753
 
 
 


 
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...