คุก กวนตานาโม ครบ10ปี ทํา โอบามา ตาสว่าง การเมืองอยุ่เหนือ ปธน.

Focus: คุก “กวนตานาโม” ครบ 10 ปี ทำ “โอบามา” ตาสว่าง การเมืองอยู่เหนือ ปธน.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มกราคม 2555 14:59 น.
Share7
{lang: 'th'}
  บรรยากาศภายในค่าย กักกันผู้ต้องสงสัยคดีก่อการร้าย กวนตานาโม - ทหารสหรัฐฯ ประจำการบริเวณเรือนจำนักโทษ แคมป์เดลต้า ภายในฐานทัพเรือสหรัฐฯ ในคิวบา        เอเอฟพี - คำมั่นสัญญาอันไร้ค่าของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ที่จะปิดค่ายกักกันผู้ต้องสงสัยคดีก่อการร้าย “อ่าวกวนตานาโม” เป็นบทเรียนให้เห็นว่า น้ำคำที่เคยให้ไว้ด้วยความมุ่งมั่นระหว่างหาเสียง สุดท้ายก็อาจเป็นเพียงลมปาก เมื่อเผชิญกับความยากลำบากทางการเมือง และการขัดขวางจากพรรคตรงข้าม นักโทษภายในค่ายกวน ตานาโมจะไปไหนมาไหน ต้องมีทหารติดตามตัวตลอด        ความพยายามที่ชะงักงันในการปิดค่ายกวนตานาโมยังสะท้อนถึงประเด็นความ มั่นคงภายในที่แสนซับซ้อน และมิอาจแตะต้องได้ ซึ่งอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช เป็นผู้ริเริ่ม และยังคงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุวินาศกรรม 9/11 อาจเลือนหายไปบ้างแล้ว
       
       ฐานทัพเรือสหรัฐฯ ในอ่าวกวนตานาโม ประเทศคิวบา รับนักโทษผู้ต้องสงสัยคดีก่อการร้ายกลุ่มแรก เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2002 หลังจากบุชประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ขณะที่เหตุการณ์ 9/11 ผ่านไปไม่ถึงเดือน
       
       ผ่านมาเกือบครบ 10 ปี นักโทษ 171 ราย ยังคงถูกควบคุมตัว ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการเหลียวแลทางกฎหมาย บ้างกำลังเฝ้ารอการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศอื่นที่ไม่ใช่สหรัฐฯ และอีกอย่างน้อย 40 ราย “ไม่เคย” ได้รับการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม แต่คนเหล่านี้ถูกสหรัฐฯ ตราหน้าว่า เป็นอันตรายเกินกว่าจะปล่อยให้มีเสรีภาพ
       
       ด้วยมุมมองว่ากวนตานาโมเป็นจุดด่างพร้อยต่อภาพลักษณ์อเมริกา บารัค โอบามา จึงมีประกาศิตให้ปิดสถานกักกันแห่งนี้ “ภายใน 1 ปี” ตั้งแต่นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ วันแรกๆ เมื่อเดือนมกราคม 2009 หลังจากนั้น โอบามายังประกาศด้วยความมุ่งมั่น ณ องค์การบริหารจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ กรุงวอชิงตัน ว่า “ในฐานะประธานาธิบดี ผมจะไม่ยอมให้ปัญหานี้เรื้อรังต่อไป”
       
       **หาเสียงง่ายกว่าปฏิบัติ**
       
       อย่างไรก็ตาม โอบามาก็ได้เรียนรู้ถึงขอบเขตอำนาจผู้นำประเทศ ขณะพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะร่างระบบกฎหมายขึ้นมาเป็นหลักการดำเนินคดีกับผู้ ต้องสงสัยเหล่านี้ แต่สภาครองเกรสแสดงออกอย่างชัดเจนว่า “ไม่เอาด้วย” กับแผนปิดค่ายกวนตานาโม
       
       จูเลียน เซลิเซอร์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มีความเห็นว่า โอบามาเดินเกมการเมืองผิดพลาดครั้งใหญ่ จนกระทั่งทางเดโมแครตต้องบีบให้โอบามาล้มเลิกความตั้งใจดังกล่าว
       
       นักการเมืองจากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันต่างคัดค้านการส่งตัวนักโทษ กวนตานาโม มาดำเนินคดีหรือคุมขังในผืนแผ่นดินสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สภาคองเกรสยังตั้งกำแพงกันท่า ด้วยการจำกัดงบประมาณสนับสนุนการส่งตัวนักโทษ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญก่อนการปิดค่ายกวนตานาโม
       
       เสียงคัดค้านที่ทรงอำนาจนี้ยังบังคับให้รัฐสภาสหรัฐฯ ล้มแผนการใช้กฎหมายพลเรือนดำเนินคดีกับ คาลิด ชีกห์ โมฮัมเหม็ด ผู้วางแผนก่อเหตุวินาศกรมม 9/11 โดยศาลทหารกวนตานาโมรับบทบาทผู้พิจารณาคดีของโมฮัมเหม็ด และผู้สมรู้ร่วมคิด
       
       ความจริงทางการเมืองปรากฏในเดือนมีนาคม 2011 บารัค โอบามา ยอมลงนามคำสั่งพิเศษปรับระบบคณะกรรมการทหารในฐานทัพกวนตานาโม ให้อำนาจพิจารณาคดีนักโทษอาชญากรรมสงคราม
       
       แม้รัฐบาลโอบามาเคยเรียกร้องให้นำตัวนักโทษบางรายขึ้นศาลสหรัฐฯ แทนศาลทหาร แต่กลุ่มนักวิจารณ์กลับมองว่า ความพยายามของโอบามายิ่งเป็นการต่ออายุให้ค่ายกักกันกวนตานาโมยืนยาวออกไป อีก
       
       บรรดาที่ปรึกษาของโอบามายืนยันว่า ผู้นำคนนี้ยังมุ่งมั่นที่จะปิดค่ายกวนตานาโม และเชื่อเหลือเกินว่า ค่ายกวนตานาโมเป็นผลเสียต่อความมั่นคงสหรัฐฯ กระนั้นก็ดี ก็ยังไม่ปรากฏแผนงานที่ชัดเจน และขณะที่โอบามากำลังหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 สื่อคาดการณ์ว่า เขาจะหลีกเลี่ยงการเอ่ยถึงประเด็นที่แก้ไม่ตกนี้
       
       โอบามายังสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า รักษาสัญญาอยู่บ้าง กรณีการยุติสงครามอิรักตามที่ลั่นวาจาไว้ระหว่างการหาเสียงเมื่อปี 2008 ชายแดนระหว่างฐานทัพ เรือกวนตานาโมของสหรัฐฯ กับดินแดนของคิวบา        **สงครามของ “บุช” ยังไม่จบ**
       
       ในวันพุธ (11) อายุของค่ายกวนตานาโมจะครบรอบ 1 ทศวรรษ ความยืนยาวของค่ายกักกันแห่งนี้แสดงถึงความแข็งกร้าวของนโยบายความมั่นคงภาย ในที่จอร์จ บุช ริเริ่มไว้ นอกเหนือจากการควบคุมตัวนักโทษในกวนตานาโมโดยไม่ต้องพิจารณาคดีแล้ว ยังรวมถึงการแลกตัวผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย การสอดแนม และการดักฟังโทรศัพท์ โดยอ้างถึงความมั่นคงของประเทศ
       
       ส่วนตัวโอบามาก็แสดงอำนาจผู้นำประเทศด้วยการส่งอากาศยานไร้นักบิน (โดรน) ออกไล่ล่าผู้ก่อการร้ายไม่มีหยุดพัก ขณะเดียวกัน กลุ่มนักรณรงค์ตั้งความหวังว่า หากโอบามาชนะเลือกตั้งอีกครั้ง เขาอาจลองหาทางปิดกวนตานาโมอีกสักตั้ง แต่สื่อก็มองว่า วาระ 4 ปีในอนาคต โอบามาจะยุ่งกับปัญหาเศรษฐกิจจนไม่เป็นอันทำอะไร
       
       ฟากฝั่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันไม่ต้องการปิดค่ายกวนตานาโม อยู่แล้ว มิตต์ รอมนีย์ ตัวเต็งผู้สมัครรีพับลิกัน ยิ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการคงอยู่ของค่ายกักกันกวนตานาโม เพราะฉะนั้น ความหวังในการปิดค่ายกักกันนักโทษดังกล่าวในเร็วๆ นี้ จึงดูเลือนลางเต็มที
#คุก
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
9 ม.ค. 55 เวลา 06:49 2,562 3 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...