13 นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ประจำปี 2015 Scientific Predictions For 2015

สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำในโลกของวิทยาศาสตร์หลายอย่างเกิดขึ้นในปี 2014 แต่ข้อดีอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์คือเราได้เรียนรู้และมีการพัฒนามากขึ้นทุกปี นี่คือพัฒนาการก้าวใหม่ที่เราไม่อาจจินตนาการได้เมื่อหลายสิบปีก่อน และถ้าลองสังเกตการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจะพบว่าทุกอย่างน่าทึ่งมาก และล่าสุดอดีตนักบินอวกาศชาวแคนาดา คริส แฮดฟิลด์กล่าวว่า “ในอีก 100 ปีข้างหน้าเราจะสามารถติดตั้งกล้องไว้บนดวงจันทร์ไททันซึ่งอยู่ห่างออกไป 800 ล้านไมล์ได้”

งั้นเรามาดูกันดีกว่า นี่คือสิ่งที่จะมาพลิกโฉมหน้าของโลกในปีต่อๆไป

1

จรวดสามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ซึ่งเป็นผลงานการทดลองของ SpaceX จะมาเปลี่ยนอนาคตของการเดินทางสู่อวกาศ

หากต้องการไปตั้งรกรากอยู่บนดาวอังคาร เราต้องนำจรวดไปลงจอดที่นั่นและสามารถเดินทางกลับมาที่โลกอีกทีได้ ไม่เพียงแค่นั้นเทคโนโลยีการนำจรวดกลับมาใช้ได้ใหม่จะช่วยทำให้ค่าใช้จ่ายในการท่องอวกาศถูกลง ในวันที่ 10 มกราคม SpaceX ประสบความสำเร็จในการส่งจรวดขึ้นไป 50 ไมล์และกลับลงมายังฐานปล่อยในมหาสมุทร แต่ปรากฏว่าลงกระแทกแรงเกินไปจนไม่สามารถนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้ Musk กล่าวว่าพวกเขามีแผนที่จะปล่อยจรวดขึ้นลงบนฐานในมหาสมุทรตลอดทั้งปีนี้

2

หุ่นยนต์ C-3PO รุ่นแรกกำลังจะวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ โดยตั้งชื่อว่าเปปเปอร์

บริษัท Softbank ของญี่ปุ่นจะเริ่มวางจำหน่ายหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ซึ่งผลิตโดยบริษัท Aldebaran Robotics ของฝรั่งเศส หุ่นยนต์นามว่าเปปเปอร์ตัวนี้มี “อีโมชั่น เอ็นจิ้น” ซึ่งจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการเรียนรู้อารมณ์ของคุณจากสีหน้าบวกกับประสบการณ์ที่ผ่านมา เปปเปอร์สามารถพูดได้ทั้งภาษาญี่ปุ่น, อังกฤษ, สเปน และฝรั่งเศส ยังไม่รวมรูปแบบการสื่อสารอีกกว่า 6 ล้านแบบ ระหว่างที่มีการออกแบบหุ่นยนต์ตัวนี้เพื่อให้เป็นมากกว่าผู้ช่วยของคุณ ก็ยังได้คิดค้นแอพพลิเคชั่นกับความสามารถใหม่ๆเพิ่มเข้าไปด้วย

3

เราเชื่อว่ามีจักรวาลอีกแห่งที่มองไม่เห็นและคู่ขนานกับจักรวาลที่เราอยู่

เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่จะกลับมาเปิดใช้งานในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากที่เกิดช่องโหว่มานานถึง 2 ปีและกำลังจะชนกับอนุภาคด้วยพลังมหาศาลมากกว่าเดิม 2 เท่า ไม่มีใครรู้ว่าเราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเรื่องนี้ แต่ที่แน่ๆคือเรื่องความเป็นไปได้และอนุภาคที่เกี่ยวข้องกับสสารมืด ยิ่งไปกว่านั้นการปรากฏตัวหรือหายไปของอนุภาคบางส่วนสามารถพิสูจน์หรือหักล้างทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดได้ โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่ามีจักรวาลคู่ขนานกับจักรวาลที่เราอยู่ ทำจากอนุภาคที่มองไม่เห็นซึ่งมีมวลและลักษณะแบบเดียวกับอนุภาคที่เรามองเห็น

4

ทฤษฎีสัมพัทธภาพบางส่วนของไอน์สไตน์สามารถพิสูจน์หรือหักล้างได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราเจอคลื่นความโน้มถ่วงหรือไม่

หากฟิสิกส์ตรงกับความคิดของไอน์สไตน์ก็น่าจะมีคลื่นความโน้มถ่วงไหลผ่านกาล-อวกาศ การทดลอง 2 ครั้งในปีนี้จะทำให้เราตรวจจับคลื่นเหล่านั้นได้ ในเดือนกรกฎาคม LISA Pathfinder จะทดลองเทคโนโลยีเพื่อสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศ ขณะที่บนโลกเราจะเปิดเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงที่มีชื่อว่า LIGO ไว้

5

เรากำลังจะได้สำรวจดาวพลูโตอย่างใกล้ชิดมากที่สุด (และเราจะไปเยือนซีเรส ดาวเคราะห์น้อยอีกดวงหนึ่ง)

ยานสำรวจอวกาศ New Horizons ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม ปี 2006 ขณะที่ดาวพลูโตยังเหลือเวลาอีกแค่ 8 เดือนในการเป็นดาวเคราะห์ เรากำลังจะเดินทางถึงจุดที่อยู่ใกล้กับดาวเคราะห์แคระดวงนี้มากที่สุดในวันที่ 14กรกฎาคม หลังจากที่เดินทางมาไกลกว่า 5 พันล้านกิโลเมตร

เมื่อถ่ายรูปก็จะได้เห็นพื้นผิวของดาวพลูโตกับชารอนซึ่งเป็นดวงจันทร์(ดาวบริวารดวงที่ใหญ่ที่สุด)ก่อนที่จะมุ่งหน้ามาสำรวจวัตถุน้ำแข็งไคเปอร์ และในเดือนเมษายนยานสำรวจดาวเคราะห์น้อย Dawn ของนาซ่าจะเดินทางไปถึงซีเรส (ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส) และเชื่อว่ามีวัตถุน้ำแข็งอยู่ภายใต้เปลือกของมัน

6

ความหวังว่าอีโบล่าโรคระบาดที่น่ากลัวที่สุดในโลกจะสิ้นสุดลงเสียที

โรคอีโบล่าได้ระบาดไปทั่วตั้งแต่ในกินี, ไลบีเรีย และเซียร์ร่าลีโอน การทดลองยายังอยู่ระหว่างดำเนินการ ขณะที่การทดลองใช้วัคซีนมีกำหนดการเร็วๆนี้ หวังว่าสิ่งเหล่านี้กับมาตรการด้านสาธารณสุขจะช่วยหยุดยั้งโรคอีโบล่าที่ระบาดอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนได้

7

สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติเตรียมออกข้อบังคับเขตการบินสำหรับเครื่องบินบังคับโดรน
 

สภาคองเกรสได้ออกคำสั่งดังกล่าวในเดือนกันยายนที่ผ่านมา สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติจึงต้องรวมเครื่องบินบังคับโดรนเข้ากับเขตการบินของสหรัฐ ซึ่งโดรนมีประโยชน์ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์, การติดตามชีวิตสัตว์ป่า, การสร้างแผนที่ และสำรวจพื้นที่รกร้าง

8

ข้อเสนอใหม่กับการจำกัดผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

มีการวางรากฐานกันไปเรียบร้อยแล้วกับข้อตกลงระหว่างประเทศในการประชุม UN ที่กรุงปารีสเมื่อเดือนธันวาคม เพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตโดยจะเริ่มขึ้นในปี 2020

สองประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุดในโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีนโดยทั้งคู่ได้ยื่นข้อเสนอซึ่งน่าจะทำให้ข้อตกลงดังกล่าวปฏิบัติได้ง่ายขึ้น แต่คำถามคือข้อตกลงนี้จะเพียงพอกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่? หากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางฝั่งซีกโลกเหนือแตะระดับอยู่ที่ 400 ppmไปเรียบร้อยแล้ว (ซึ่งระดับความปลอดภัยอยู่ที่ 350 ppm)

9

วิเคราะห์จีโนมของมนุษย์โบราณอายุ 400,000 ปีและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวการข้ามสายพันธุ์ของมนุษย์โบราณ

นักบรรพชีวิตวิทยากำลังพยายามเรียงลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดจากซากมนุษย์โบราณ Sima de Los Huesos ซึ่งถูกพบในถ้ำทางตอนเหนือของสเปน แม้จะยากและไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้ไหม (การวิเคราะห์ DNA ไมโทคอนเดรีย เมื่อปีที่แล้วก็ถือว่ายากพออยู่แล้ว) แต่ครั้งนี้เราจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์ของมนุษย์โบราณและมนุษย์เราเป็นสายพันธุ์เดียวที่อยู่รอดมาได้อย่างไร

10

ความหวังในการหยุดยั้งเอชไอวีใกล้มาถึงแล้ว

เอดส์ยังคงเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงของโลก แต่ก้าวสำคัญในการวินิจฉัยและรักษานั้นหมายถึงนักวิทยาศาสตร์มีเหตุผลเชื่อว่าเรากำลังจะมาถึงจุดเปลี่ยนในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว ห้องทดลองขนาดย่อมเยาจะถูกสร้างขึ้นในแอฟริกาและยาตัวใหม่อย่าง Truvada ก็สามารถปกป้องผู้คนจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ด้วย แม้เราจะพยายามคิดค้นวัคซีนเพื่อมายับยั้งไวรัสตัวนี้และล้มเหลวมานานหลายปี แต่คราวนี้นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการได้มองเห็นโครงสร้างโปรตีนของเชื้อเอชไอวีบางส่วนจะทำให้การพัฒนาวัคซีนก้าวหน้าไปอีกขั้น

11

ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนไข้เด็งกีแล้ว

แม้ไข้เด็งกีจะไม่อันตรายถึงตายสำหรับผู้ใหญ่ แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่น่ากลัวที่ทำให้ประชากรเกือบครึ่งค่อนโลกเสี่ยงติดเชื้อ ที่สำคัญโรคนี้ยังเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของเด็กเล็กในบางประเทศด้วย แต่มีการคิดค้นวัคซีนซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้มากกว่าร้อยละ 60 และป้องกันการเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 95.5 โดยวัคซีนดังกล่าวจะเริ่มใช้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

12

โครงการวิจัยเรื่องปัญญาประดิษฐ์กำลังจะนำไปสู่ก้าวแรก

เมื่อเราคิดค้นหุ่นยนต์ที่มีปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ โลกนี้ก็ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกแล้ว และนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าเวลานี้มาเร็วกว่าที่คิดไว้ สถาบันปัญญาประดิษฐ์อัลเล็นของ พอล อัลเล็น ซึ่งตั้งอยู่ที่ซีแอตเติลจะเปิดตัวหนึ่งในสามของโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์นำร่อง “Semantic Scholar” โดยออกแบบมาเพื่อช่วยนักวิจัยในการทำงานวิจัยใหม่ๆซึ่งได้รับการเผยแพร่ในโลกวิชาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้รายงานฉบับแรกของการศึกษาเพื่อวิจัย AI ในรอบ 100 ปีจะได้รับการเผยแพร่ในช่วงปลายปี 2015 นี้

13

องค์กรและโครงการต่างๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้เปิดฉากแล้ว

สถาบันอัลเล็นเพื่อการศึกษาเซลล์ที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตอย่างละเอียดแล้ว ขณะที่อังกฤษก็กำลังจะมีการเปิดตัวสถาบันกราฟีนแห่งชาติซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับกราฟีน วัสดุมหัศจรรย์ที่เปลี่ยนทุกสิ่งตั้งแต่เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไปจนถึงแบตเตอรี่และความสามารถในการประมวลผล ส่วนกลุ่มนักวิจัยในฝรั่งเศสจะเริ่มประกอบส่วนประกอบต่างๆเพื่อสร้าง Iter ซึ่งจะเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

BONUS

แถม: เรายังมีโอกาสในการพบสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

เนื่องจากมีการค้นพบก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศโดยยานสำรวจดาวอังคาร Curiosity Rover แม้ว่าโอกาสจะยังริบหรี่ แต่เรามีแผนการทั้งในปัจจุบันและอนาคตว่าจะสำรวจดาวดวงอื่นที่อาจจะพบแหล่งน้ำ (หรือเคยมีในอดีต) โอกาสที่เราจะพบสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่นก็จะเพิ่มสูงขึ้น

Source : www.businessinsider.com/science-predictions-for-2015-2015-1

ปล.ซ้ำหรือผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...