ย้อนรอยสุดยอดอาวุธสายลับ

คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครสักคนจะลุกขึ้นมาเปิดโปงโลกอันดำมืดของ "สายลับ" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อาวุธ" ที่องค์กรสายลับชาติมหาอำนาจคิดค้นขึ้นมามอบให้สายลับของตนใช้ก่อจารกรรม ในสหรัฐอเมริกา "พิพิธภัณฑ์สายลับสากล : International Spy Museum" จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เสาะหารวบรวมอุปกรณ์-สิ่งประดิษฐ์คู่กายสายลับยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ขอย้ำว่าอาวุธทุกชิ้นที่นำเสนอนับจากบรรทัดต่อไปนี้ล้วนเป็นของจริง ไม่ใช่ของประกอบฉากจากภาพยนตร์เจมส์บอนด์ 007



เครื่องเข้ารหัส"อีนิกม่า"

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะสงครามระหว่างค่ายสัมพันธมิตร "สหรัฐ-อังกฤษ" กับค่ายอักษะ "เยอรมัน" ภายใต้การนำของพรรคนาซีดำเนินไปอย่างเข้มข้น

เครื่องเข้ารหัส "อีนิกม่า" จัดเป็นขุมกำลังสำคัญที่ช่วยให้กองทัพนาซีเยอรมันติดต่อรับส่ง "ข้อมูลลับ" ถึงกันโดยที่ฝ่ายสัมพันธมิตรถอดรหัสข้อมูลลับดังกล่าวออกมาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเข้ารหัสของอีนิกม่ามีรูปแบบตายตัว ทำให้นักถอดรหัสอังกฤษไขรหัสลับของนาซีสำเร็จ ช่วยให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งยุโรปยุติเร็วกว่าที่ควรจะเป็นถึง 1 ปี

 

 

 



ระเบิดถ่านหิน

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซีไอเอประดิษฐ์ระเบิดแบบพรางขึ้นมาเพื่อก่อวินาศกรรมเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายศัตรู

ระเบิดดังกล่าวมีรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนกับ "ถ่านหิน" ไม่มีผิดเพี้ยน แต่ข้างในอัดแน่นด้วยระเบิดอานุภาพร้ายแรง

ซีไอเอผลิตระเบิดประเภทนี้เพื่อวินาศกรรมเรือ หรือ สถานีรถไฟเป็นส่วนใหญ่



ลิปสติก"จูบมรณะ"

กลางคริสต์ทศวรรษ 1960 "สงครามเย็น" ระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐ กับโลกคอมมิวนิสต์ นำโดยสหภาพโซเวียตยังไม่มีทีท่าจะยุติ การส่งสายลับจารกรรมข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นไปอย่างดุเดือด

องค์กรสายลับของสหรัฐมีชื่อว่า "ซีไอเอ" ขณะที่หน่วยสืบราชการลับโซเวียตเรียกชื่อย่อสั้นๆ เช่นกันว่า "เคจีบี"

หนึ่งในอาวุธร้ายของเคจีบีช่วงกลางยุค 1960 คือ ปืนขนาด 4.5 มิลลิเมตรที่ซ่อนอยู่อย่างแนบเนียนภายใต้รูปโฉมแท่ง "ลิปสติก" จนได้ฉายาว่า "จูบมรณะ" นอกจากนี้ เคจีบียังคิดค้นปืนซุกซ่อนในสิ่งของอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น คบเพลิง ปากกา ไปป์สูบยาเส้น และซองบุหรี่
#อาวุธ
yuyupanther
Associate Producer
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
30 เม.ย. 53 เวลา 10:48 10,905 37 5,498
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...