จอมนางแห่งราชสำนักไทย คนที่3 "กุณฑลทิพยวดี มเหสีที่ถูกลืม"

 

 

 

จอมนางแห่งราชสำนักไทย คนที่3  "กุณฑลทิพยวดี มเหสีที่ถูกลืม"

 

 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บางคราวเรียกว่าสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเจ้าทองสุกซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ พระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี

 

 

จากภาพคือ ตัวอย่างตำหนักที่ประทับของเหล่ามเหสีเทวีในสมัยนั้น ภาพด้านล่างคือเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามหามาลา องค์ต้นราชสกุล มาลากุล ณ อยุธยา

 

เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี พระนามเดิมคือพระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่1 ที่ประสูติจากเจ้าหญิงทองสุกพระธิดาของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนะหุต นับได้ว่าพระองค์เจ้าหญิงจันทบุรีทรงเป็นเจ้าหญิงที่มีสายเลือด2ราชวงศ์ และเนื่องจากพระองค์เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่1และมีแม่เป็นเจ้าหญิงจากเวียงจันทร์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น”เจ้าฟ้า”กุณฑลทิพยวดี ตามกฏมณเฑียรบาล 

ในขณะนั้นเจ้าฟ้าชายฉิมทรงมีพระชายาอยู่ก่อนแล้ว1พระองค์คือ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด แต่เจ้าฟ้าชายฉิมเกิดมีใจชอบพอเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลขึ้นมา จึงรับเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลเป็นพระชายาอีกพระองค์ ทำให้เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดไม่พอพระทัยเป็นอย่ามาก พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จหนีไปอยู่ที่วังของเจ้าฟ้าตันผู้เป็นพี่ชาย เมื่อเจ้าฟ้าชายฉิมทราบข่าวจึงรีบเสด็จตามไปที่วังเจ้าฟ้าตันเพื่อขอรับตัวเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดกลับวัง แต่เจ้าฟ้าตันไม่ทรงยินยอม จึงตรัสว่าถ้าอยากได้เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดกลับไป เจ้าฟ้าชายฉิมต้องปฏิญาณว่า "จะไม่ให้บุตรและภริยาอื่นทั้งปวงเป็นใหญ่หรือเทียบเท่าเจ้าฟ้าบุญรอด" ซึ่งเจ้าฟ้าชายฉิมทรงยินยอมทุกอย่างและรับเจ้าฟ้าบุญรอดกลับวัง

ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้าชายฉิมขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 2 เจ้าฟ้าหญิงบุญรอดก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมเหสีตามธรรมเนียม แต่ไม่ปรากฏว่ามีการสถาปนาเจ้าฟ้ากุณฑลแต่อย่างใด เจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งทรงเล่าว่า รัชกาลที่2ไม่ทรงยกย่องเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลให้เท่าหรือเหนือกว่าเจ้าฟ้าบุญรอดเลย เพราะรัชกาลที่2ทรงถือสัตย์ที่ได้ทรงปฏิญาณไว้" จึงทำให้เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลเป็นได้แค่พระชายาชุบเลี้ยงแบบเงียบๆอยู่อย่างนั้น ไม่ได้เปิดเผยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่ได้รับการออกหน้าออกตาแต่อย่างใด พระองค์ทรงเก็บตัวอยู่แต่ภายในตำหนักฝ่ายในกับพระราชโอรสทั้ง3 อย่างตรอมพระทัย" ซึ่งหากนับตามยศแล้วเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลเสียอีกที่มียศสูงกว่าเจ้าฟ้าบุญรอด เพราะพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่1 ต่างจากเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดเป็นเพียงพระราชธิดาของพระพี่นางรัชกาลที่1

เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงประสูติพระราชโอรส 3 พระองค์ แต่พระโอรสทั้ง3กลับไม่ได้รับการอวยยศยกย่องหรือเอ่ยพระนามว่าทูลกระหม่อมเลยทั้งๆที่พระราชโอรสทั้ง3ควรเป็นเจ้าฟ้าแต่เรื่องกับเงียบ ไม่มีผู้ใดกล้าทูลขอพระราชทานยศเจ้าฟ้าให้แก่พระราชโอรสทั้ง3ของพระองค์ ชาววังหรือคนในสมัยนั้นก็เรียกแค่ว่า พระองค์ใหญ่ พระองค์กลาง พระองค์ปิ๋ว ต่างจากพระราชโอรสของเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดที่คนในสมัยนั้นเรียกว่า ทูลกระหม่อมพระองค์ใหญ่ ทูลกระหม่อมพระองค์น้อย 

สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 พระชนมายุได้เพียง 40 พรรษา ส่วนพระราชโอรสของพระองค์ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าตามศักดิ์และสิทธิ์ที่พระองค์ควรได้ งานพระเมรุเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลนั้นรัชกาลที่3โปรดให้สร้างพระเมรุให้เทียบเท่ากับพระเกียรติยศของอัครมเหสีเลยทีเดียว พระราชโอรสของพระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล อาภรณ์กุล ณ อยุธยา และมาลากุล ณ อยุธยา

 

ที่มา: คลังประวัติศาสตร์ไทย

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...