พิรดา เตชะวิจิตร์ หญิงไทยคนแรกบนห้วงอวกาศ

พิรดา เตชะวิจิตร์ นักบินอวกาศคนแรกของไทย ความภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของไทย ในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่จะได้ออกไปสัมผัสอวกาศ
     การท่องโลกอวกาศอาจเป็นทริปในฝันของใครหลายคน เช่นเดียวกับ นางสาวพิรดา เตชะวิจิตร์ วิศวกรดาวเทียมหญิงของจิสด้า (GISTDA) ซึ่งนับเป็นหญิงไทยคนแรกที่สร้างประวัติศาสตร์การเดินทางไปสู่อวกาศ (Thailand ‘s First Space Traveller) กับ “แอ๊กซ์ อพอลโล สเปซ อะคาเดมี” (AXE Apollo Space Academy) โครงการที่คัดเลือกผู้มีความแข็งแกร่งจากทั่วโลก  คัดเลือกผู้เหมาะสมจาก 62 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่าครึ่งล้านคน แต่มีเพียงคนจากทั่วโลกเพียง 23 คนเท่านั้น ที่จะได้ไปผจญภัยในทริปนี้ หลัง ผ่านการทดสอบร่างกายและจิตใจหลายขั้นตอน วันนี้ นักบินอวกาศหญิงคนแรกของไทย บอกว่าพร้อมแล้วสำหรับการทำความฝันครั้งยิ่งใหญ่ให้เป็นจริง!
    มิ้ง – พิรดา เตชะวิจิตร์ วัย 29 ปี  ตัวแทนคนไทยไปท่องอวกาศ สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากนั้นได้ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านดาวเทียมที่สถาบัน ISAE ประเทศฝรั่งเศส
     ความหลงใหลเรื่องอวกาศ และอยากเป็นนักบินอวกาศมาโดยตลอด ความสนใจผลักดันให้เธอคว้าทุนการศึกษาไปศึกษาต่อด้านดาวเทียมที่ประเทศ ฝรั่งเศส  ปัจจุบันเธอเป็นวิศวกรดาวเทียมที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ สารสนเทศ (GISTDA) ด้วยความสนใจและหลงใหลในอวกาศอย่างแท้จริง เธอจึงสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมกับ “แอ็กซ์ อพอลโล” ด้วยเหตุผลสำคัญเพียงเหตุผลเดียว นั่นคือการคว้าโอกาสในการได้ไปตะลุยอวกาศสักครั้งในชีวิต และการได้มีโอกาศไปประชุมวิชาการทางอวกาศ ทำให้จอกับนักบินอวกาศหลายๆคนที่เธอชื่นชม  แต่คนที่เป็นแรงบันดาลใจให้เธอ ยึดมั่นทำตามความฝันมากที่สุดก็คือนักบินอวกาศหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ “คุณ ยี โซฮยอน” จากนนั้นก็บอกกลับตัวเองเสมอมาว่า ฉันอยากเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกบ้าง มันเท่ และเจ๋งมากๆ จากนั้นเธอก็มองเขาเป็นตัวอย่าง และสู้ทุกทาง เพื่อให้ได้เป็น
 พิรดา  เตชะวิจิตร์  เลือก เข้าร่วมกิจกรรมในทุกช่องทาง ทั้งการส่งรหัสผลิตภัณฑ์แอ็กซ์ร่วมชิงโชค การสมัครเข้ามาร่วมแข่งขันแฟนพันธุ์แท้ และการเตรียมทำคลิปเพื่อส่งเข้าประกวด แต่สุดท้ายเป็นที่การแข่งขันแฟนพันธุ์แท้ ซึ่งเธอบอกว่าไม่ได้มั่นใจนักว่าจะชนะ นี่เองที่เปิดโอกาสให้เธอก้าวไปทำตามความฝันได้ในที่สุด
“หัวใจหลักของการไปท่อง อวกาศต้องมี คือ ความแข็งแกร่งของทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝึกซ้อมเตรียมร่างกายให้พร้อม มีการตรวจสมรรถภาพร่างกายเหมือนนักบิน ทดสอบจิตวิทยาเพื่อทดสอบสภาพจิตใจว่ารับแรงกดดันได้มากแค่ไหนหากเจอภาวะ เครียด”
    ประสบการณ์ฝึกด่านหินที่สถานีฝึกนักบินอวกาศ (Space Camp) ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อขับเคี่ยวกันในโค้งสุดท้าย ด้วยการร่วมทำภารกิจฝึกฝนตนเองเพื่อให้พร้อมสู่การก้าวขึ้นสู่ห้วงอวกาศ “เธอเล่าว่า เป็นภารกิจที่หนักและกดดันมากๆ โดยมีผู้ผ่านเข้ารอบไปเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 107 คน จาก 62 ประเทศทั่วโลก แต่มีมีผู้หญิงเพียง 4 คนเท่านั้น จากไทย นอร์เย์ ญี่ปุ่น  และ มาเลเซีย ที่ได้รับโอกาสนี้
….ภายในแคมป์ ต้องฝึกภารกิจหลักถึง 3 ด่าน คือ Air combat หรือ ภารกิจ “G Centrifuge”  เป็น การฝึกนั่งเครื่องบินในห้องนักบินในสภาวะการขับขี่ยานขึ้นสู่อวกาศจริงแบบซิ มูเลเตอร์ เพื่อทดสอบสภาวะร่างกายและลองเปิดรับประสบการณ์จริงภายใต้แรงดันสูงสุดถึง 4.5 จี  (แรงจี มีผลทำให้ เราจะรู้สึกตัวหนักขึ้น เช่น หนัก 4G =หนักขึ้น 4 เท่า)  ทดสอบบินจริงบนเครื่องบินความเร็วมากกว่าความเร็วเสียง พร้อมกลับหัวกลางอากาศ  ซึ่งระหว่างฝึกปฎิบัติภารกิจนี้ เราจะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเวียนลงไปที่เท้า เหมือนเราโดนฉุดกระชากลงไป เราจะหน้ามืด เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามเกร็งไม่ให้เลือดมันลงไปเยอะ  ต้องใช้พลังงานสูงเหมือนกัน ร่างกายต้องฟิตและแข็งแรงมากๆ
“แม้ว่าการทดสอบสมรรถภาพ ร่างกายและจิตใจจะมีความยากและความกดดันได้มากแค่ไหน แต่นั่นก็เป็นการตัดสินใจที่แน่วแน่ และแรงบันดาลใจที่ต้องการทำฝัน คือหัวใจของความสำเร็จครั้งนี้”
….ภารกิจสภาวะไร้น้ำหนัก หรือ Zero G  Flight ไฟลต์ บินเป็นโค้งพาราโบลา ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่สามารถทำได้บนพื้นโลกปกติ เป็นหนึ่งในบททดสอบของผู้ชนะการแข่งขัน EXE Apollo เฟ้นหาคนไทยไปอวกาศ เพื่อฝึกซ้อมร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนจะเดินทางไปสัมผัสสภาวะไร้น้ำหนัก ในห้วงอวกาศ โดยภารกิจนี้  ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่เข้มข้นและยากมากๆ  เป็นเป็นประสบการณ์ที่เราหาบนโลกไม่ได้แล้ว  และ ภารกิจฝึกในเครื่อง G Force คือฝึกให้อยู่ในเครื่องให้เราลองอยู่ในแรงเหวี่ยง
“จากภาพนักบิน ที่เคยเห็นจากหน้าจอทีวี จากหน้านิตยสาร เราก็รู้สึกว่ามันเจ๋งมากนะ มันลอยได้ และพอเรามีโอกาสได้สัมผัสเองมันสุดยอดกว่าที่คิดอีกค่ะ สนุกมากๆ ได้ฝึกหลายอย่างๆ ประดุจลอยอยู่ในห้วงอวกาศจริงๆ”
    นอกจากผ่านการฝึกภารกิจโหดทั้ง 3 ภารกิจแล้ว อีกหัวใจหลักของการฝึกนี้ก็คือ การทำงานเป็นทีมเวิร์ก ไม่ถ่วงเพื่อน รวมถึงสภาวะการเป็นผู้นำที่ทุกคนต้องมี  โดย มิ้ง -พิรดา บอกว่า สิ่งที่หนักหนาสาหัสที่สุด สำหรับการฝึกในครั้งนี้่ ก็คือ Astronaut Assault Course  การฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย ในเรื่องของความกล้าหาญ  เสมือนการฝีกในค่ายทหาร เช่น ปีนผาจำลอง วิดพื้น 50 ครั้ง ซิตอัพ 50 ครั้ง กระโดดข้ามรั้ว กระโดเชือก ซึ่งเป็นภารกิจที่ถือว่าหนักมากสำหรับผู้หญิง เหนื่อยมาก เป็นลมก็หลายครั้ง แต่ก็ต้องอดทนสู้!
“มิ้งต้องให้กำลังใจตัว เองว่า เราทำทุกอย่างแล้ว เหลืออีกนิดเดียว คือต้องใจสู้มากๆ เพราะมีทั้งความกดดันทางร่างกาย ซึ่งเราทำเลยขีดจำกัดของร่างกายมากๆ จึงต้องมีแรงผลักจริงๆ”
    เราก็พยายามทำทุกวิถีทาง เพราะเขาบอกว่า เขาวัดเกณฑ์ในการตัดสิน 3 เกณฑ์หลัก ได้แก่  การทำงานเป็นทีมเวิร์ค  ความกะตือรือร้น และความกล้าหาญ ซึ่งเราก็พยายามจะโชว์ไปว่าฉันอยากจริงๆ พยายามโชว์แรงขับในตัว พลังความตั้งใจทุกอย่าง ว่าฉันอยากไปจริงๆ  เมื่อประกาศผลว่าเรามีโอกาศ ได้ไปท่องโลกอวกาศจริงๆ วันนั้นเหมือน เป็นวันที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทุกอย่าง ความฝัน สิ่งที่เราพยายามไฟ้ท์ มันสัมฤทธ์ผลแล้ว!
     ภายในเดือนธันวาคม2558 นี้  ชื่อของ พิรดา เตชะวิจิตร์ จะถูกบันทึกเป็นนักบินอวกาศคนแรกของไทย ที่พร้อมทยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ด้วยความเร็ว ด้วยความเร็ว 3,552 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลาแค่ 3 นาทีครึ่งเท่านั้น บนยาน LYNX MARK II  (ลิงซ์ มาร์ค ทู) และยานก็จะมาอยู่ที่บริเวณระดับความสูงเหนือพื้นดิน 103 กิโลเมตร และสัมผัสกับภาวะไร้แรงโน้มถ่วงนาน 6 นาที เธอจะสามารถมองเห็นโลกได้ทั้งใบโดยไร้แรงโน้มถ่วง และจดจำกับประสบการณ์อันล้ำค่านี้ ก่อนที่จะพากลับมายังพื้นโลก ซึ่งการเดินทางบนห้วงอวกาศนี้ใช้เวลารวม 60 นาที
“เป็นการไปที่ คุ้มค่ามาก ขึ้นไปอยู่ในอวกาศเพียง 1 ชั่วโมง ได้เห็นเปลือกโลกด้วยตาตัวเอง ซึ่งการเตรียมตัวเตรียมใจไม่ต้อง แต่ต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ส่วนจิตใจต้องดูแลอย่ากดดัน ไม่เครียด และต้องมีใจที่สู้”  พิรดา เตชะวิจิตร์ หญิงไทยที่ได้ไปท่องอวกาศเป็นคนแรก กล่าว

______________________________________________________________________ 
ที่มา : http://women.mthai.com/amazing-women/162837.html  

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...