ตลับเทป

ตลับเทป 


หรือมักเรียกโดยย่อว่า เทป มักหมายถึงเทปเสียงหรือเทปเพลง คือรูปแบบการบันทึกเสียงลงสื่อรูปแบบหนึ่งโดยใช้แถบแม่เหล็ก เทปมีขนาดเล็กสามารถพกพาได้อย่างสะดวก ใช้งานตั้งแต่บันทึกเสียงในบ้านจนถึงเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครคอมพิวเตอร์ ในช่วงแรกระหว่างต้นทศวรรษ 1970 และปลายทศวรรษ 1990 ตลับเทปเป็นหนึ่งในสองอย่างที่มักใช้ในการบันทึกเสียงเพลง ควบคู่ไปกับแผ่นเสียง ซึ่งต่อมามักใช้เป็นซีดีแทนคำว่า แคสเซต หรือ คาสเซต (ฝรั่งเศส: cassette) มีความหมายว่า ตลับหรือกล่องเล็ก ๆในปี 1935 ก่อนที่จะมีการนำเสนอเทปคาสเซ็ทพกพา (หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าเทปคาสเซ็ท) บริษัท AEG แห่งประเทศเยอรมนีได้นำเสนอเครื่องอัดเทปแบบ Reel-to-reel เครื่องแรกของโลกในชื่อว่า “Magnetophon” โดยมีเทคโนโลยีพื้นฐานมาจากเทปแม่เหล็กที่คิดค้นโดย Fritz Pfleumer แต่ตัวเครื่องก็มีราคาสูงมาก (ราคาประมาณ 1600 – 3400 ยูโร หากเทียบตามค่าเงินปัจจุบัน) และยังมีขนาดที่ใหญ่ อันเนื่องมาจากต้องใช้หลอดสุญญากาศในการทำงาน ทำให้มีใช้กันเพียงแค่ในสถานีวิทยุหรือห้องอัดเสียงเป็นส่วนใหญ่ ไม่นิยมสำหรับการใช้งานภายในบ้าน และเครื่องอัด Magnetophon ก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงในช่วงปี 1950และในช่วงปี 1960 ก็มีการคิดค้นทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ทนทานกว่า และราคาถูกกว่า มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ ทำให้ขนาดและราคาของเครื่องอัดที่เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ ลดลงจากเดิมเป็นอันมาก ทำให้มีการใช้เครื่องอัดนี้ตามบ้านเรือนมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1962 บริษัท Philips หรือได้คิดค้นเทปคาสเซ็ทพกพาออกมา (หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าเทปคาสเซ็ท) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับเพลงโดยเฉพาะ และในต่อมาเทปคาสเซ็ทก็ได้รับความนิยมเหนือระบบเทปแบบอื่นอย่างรวดเร็ว อันเป็นเหตุมาจากที่ฟิลลิปถูกกดดันโดยโซนี่ ให้ปล่อยให้บริษัทอื่นสามารถผลิตเทปคาสเส็ทได้อย่างเสรี และต่อมาฟิลลิปก็ออกเครื่องเล่นและอัด Carry-Corder 150 ในยี่ห้อ Norelco ซึ่งทำให้เทปคาสเซ็ทยิ่งได้รับความนิยมขึ้นไปอีก ในปี 1968 เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทจากกว่า 85 บริษัท สามารถขายออกได้ไปมากถึง 2.4 ล้านเครื่องในช่วงแรกของเทปคาสเซ็ท คุณภาพเสียงที่ได้นั้นยังไม่ดีนัก อยู่เพียงแค่ระดับที่พอฟังได้ แต่มาเข้าสู่ช่วงปี 1970 คุณภาพเสียงของเทปคาสเซ็ทก็ปรับปรุงขึ้นมามาก ส่งผลให้เทปคาสเซ็ทเริ่มกลายเป็นทางเลือกสำหรับคอเพลงคุณภาพสูงบางกลุ่ม แข่งกับแผ่นไวนิลที่เป็นเจ้าตลาดเดิมความนิยมของเทปคาสเซ็ทยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมในช่วงปี 1980 หลังจากที่โซนี่เปิดตัวเครื่องเล่นพกพา Walkman แต่ว่ากว่าที่ส่วนแบ่งของเทปคาสเซ็ทจะสามารถแซงแผ่นไวนิลได้ ก็ล่วงเข้ามาในช่วงปี 1990 อันเป็นช่วงที่เทปคาสเซ็ทมีความนิยมสูงสุด และค่อยๆ ลดความนิยมลง หลังจากที่ความนิยมของแผ่นซีดีเริ่มเพิ่มมากขึ้น
+++เสื่อมความนิยมของเทป+++
ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ส่วนแบ่งตลาดของเทปเพลงค่อยๆ ลดต่ำลงเรื่อยๆ จากจุดสูงสุดในปี 1980 อันเนื่องมาจากการมาของ CD เพลงในช่วงปี 1990, ในปี 1993 มีการส่งมอบเครื่องเล่น CD มากขึ้นมาถึง 5 ล้านเครื่อง (เพิ่มขึ้น 21% จากปี 1992) ในขณะที่เครื่องเล่นเทปเพลง กลับลดการส่งมอบลงไปเหลือเพยง 3.4 ล้านเครื่องเท่านั้น และจนมาถึงปี 2001 ในบรรดาเพลงที่ขายออกไปได้ มีเทปคาสเซ็ทที่ขายได้คิดเป็นเพียงแค่ 4% เท่านั้น และยังคงลดต่อมาเรื่อยๆ และในปี 2007 ยอดขายของเทปเพลงก็เหลือเพียง 247,000 ตลับ และยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในปี 2009 ที่เหลือยอดขายเพียง 34,000 ตลับเท่านั้น เทียบกับในปี 1990 ที่มียอดจำหน่ายสูงถึง 442 ล้านตลับ (สถิติในสหรัฐอเมริกา) จากสัญญาณนี้ทำให้ค่ายเพลงหลายๆ ค่าย ได้ลดกำลังผลิต หรือยกเลิกการผลิตเทปเพลงลงตั้งแต่ช่วงปี 2002 – 2003 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังคงมีเทปคาสเซ็ทเปล่าขายอยู่ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในช่วงปี 1990 แม้เครื่องเล่นซีดีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่เทปเพลงก็ยังคงครองตลาดในบางกลุ่ม เช่นเครื่องเล่นเพลงในรถยนต์ เนื่องจากเทปเพลงมีปัญหาเกี่ยวกับฝุ่น ความร้อน และการกระตุกเมื่อรถสั่น น้อยกว่าซีดีติดรถยนต์ในสมัยนั้น แต่ในเวลาต่อมา เมื่อมีการคิดค้นระบบป้องกันการสั่นสำหรับซีดีติดรถยนต์ รวมถึงระบบเครื่องเสียงภายในรถที่คุณภาพดีขึ้น ทำให้ในช่วงปี 2000 เครื่องเล่นเทปติดรถยนต์ก็ถูกแทนที่ด้วยซีดีติดรถยนต์อย่างรวดเร็ว และกลายมาเป็นเครื่องเล่นเพลงประจำรถในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2010 เครื่องเพลงซีดีติดรถยนต์ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยเครื่องเล่นเพลงที่อ่านข้อมูลจาก USB Flash drives แล้วเช่นกันอย่างไรก็ตาม ยังคงมีศิลปินบางกลุ่มที่ยังคงออกผลงานมาเป็นเทปคาสเซ็ท เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นผู้สูงอายุ ที่ไม่สนใจที่จะซื้อเครื่องเล่นซีดีนั่นเอง ในปัจจุบันยังเหลือเพียงบางประเทศเท่านั้นที่ยังคงขายเทปเพลง (เช่นอินเดีย) อันเนื่องมาจากต้นทุนที่ถูกกว่า และในช่วงหลัง การออกผลงานในรูปแบบเทปเพลง เริ่มกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ศิลปินอินดี้ อันเนื่องมาจากต้นทุนที่ถูก และสามารถป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (แชร์เพลงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต) ได้ดีในระดับหนึ่ง

#ตลับเทป
CMjojo
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
11 ต.ค. 56 เวลา 01:28 5,499 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...