ชาวเปอร์เซีย

 

 

 

 

 

อารยธรรมเปอร์เซีย 

เมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาอินโด-ยุโรเปียน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณทางเหนือของทะเลดำ ได้ก่อตัวและขยายอำนาจครอบครองอารยธรรมโบราณอื่นๆ และได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองของโลกยุคโบราณ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช พระองค์ได้ดำเนินนโยบายขยายดินแดนของเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการเชื่อมโยงดินแดนทั้งเอเชียตะวันออก เอเชียกลาง อินเดีย อียิปต์และดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน จนทำให้เปอร์เซียกลายเป็นจักรพรรดิใหญ่แห่งแรกหลังการล่มสลายของอาณาจักรยุคโบราณ


พระเจ้าไซรัสมหาราช กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย


อาณาจักรเปอร์เซีย



ความเชื่อของชาวเปอร์เซียไม่ได้ต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ มากนัก คือมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า แต่อารยธรรมเปอร์เซียได้พัฒนาความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าขึ้นได้เป็นระบบศาสนาขึ้นมา คือ “ศาสนาโซโรอัสเตอร์” (Zoroaster) เป็นศาสนาที่สอนให้นับถือบูชาเทพเจ้าสูงสุด ชื่อว่า “อหุระ มาสดา” (Ahura Mazda) เป็นเทพแห่งปัญญา รวมถึงเป็นเทพเจ้าผู้สร้าง ดังคาถาที่ปรากฏในคัมภีร์อเวสตะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ว่า “อหุระ มาสดา ผู้ทรงสร้าง มีรัศมีรุ่งโรจน์ ยิ่งใหญ่ที่สุด ดีที่สุด งามที่สุด มั่งคงที่สุด ฉลาดที่สุด เป็นวิญญาณที่มีมหากรุณาที่สุด” 

ศาสนาโซโรอัสเตอร์นี้บางครั้งเรียกว่า “ลัทธิบูชาไฟ” ในวิหารจะมีพระคอยจุดไฟศักดิ์สิทธิ์ให้ลุกช่วงอยู่ตลอดเวลา “เป็นการจำเป็นที่จะต้องระวังรักษาอาคารบูชาไฟไว้ให้ดีและคอยระวังมิให้ไฟดับได้ สิ่งที่ไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์อย่าเอาใส่เข้าไปในไฟ และจะต้องให้สตรีมีระดูอยู่ห่างจากที่บูชาไฟ 3 ก้าว” (แหล่งเดิม, อ้างแล้ว) ชาวเปอร์เซียได้รับอิทธิจากคำสอนของศาสนาโวโรอัสเอตร์ว่า โลกประกอบด้วยสิ่งสองด้าน คือ ดีและชั่ว เทพเจ้าอหุระ มาสดา คือ ตัวแทนของความดี และเทพอาห์ริมัน (Ahriman) คือตัวแทนของความชั่วร้าย ต่อสู้กันในที่สุดฝ่ายดีจะเป็นฝ่ายมีชัยเหนือฝ่ายชั่ว ชะตากรรมของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับการเลือกว่าจะทำดีหรือชั่ว แนวความคิดนี้มีอิทธิพลต่อศาสนายูดายหรือยิวและคริสต์ศาสนา รวมทั้งความเชื่อในเรื่องเทวดา นางฟ้า วันสิ้นโลก การตัดสิ้นครั้งสุดท้ายและการไปสู่สวรรค์และนรกในเวลาต่อมา และประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุสลิมได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองดินแดนเปอร์เซีย อาณาจักรแห่งนี้จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของศาสนาอิสลาม และแนวความคิดจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ก็มีผลต่อการพัฒนาแนวความคิดและหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม


เทพเจ้าอหุระ


มาสดา 


กษัตริย์ต่อสู่กับอาห์ริมันหรือวิญญาณฝ่ายร้าย

 

 

ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย หรือบางครั้งอาจถูกเรียกว่า แขกมะหง่น หรือ แขกเจ้าเซ็น

ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซียแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม โดยกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามชีอะห์ตั้งถิ่นฐานแถบฝั่งธนบุรี, เขตยานนาวา, เขตบึงกุ่ม, เขตสะพานสูง, เขตมีนบุรี และบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น[2] ส่วนกลุ่มที่หันไปนับถือศาสนาพุทธ คือ สกุลบุนนาค เป็นต้น

 

ชาวเปอร์เซียที่มีบทบาท คือ เฉกอะหมัด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2086 ที่ตำบลปาอีเนะชาฮาร เมืองกุม  เมืองได้เข้ามาในสยามในฐานะพ่อค้าเมื่อครั้งรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจจนมีฐานะมั่นคงและได้เข้ารับราชการในตำแหน่งกรมท่าขวาดูแลกิจการการค้ากับพ่อค้าชาวมุสลิม

นอกจากผู้สืบเชื้อสายจากเฉกอะหมัดแล้ว ก็ยังมีคนเชื้อสายเปอร์เซียคนอื่นๆ มีบทบาทในระดับสูงเช่นกัน โดยในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็มี อากามูฮัมหมัด อัครเสนาบดี, เจ้าพระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา และเจ้าพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ก็มีเชื้อสายเปอร์เซียเช่นกัน

ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีลูกหลานของเฉกอะหมัดคือ พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ที่เป็นข้าราชการใกล้ชิดในตำแหน่งจางวางกรมล้อมพระราชวัง

 

ไทยและเปอร์เซียมีความสัมพันธ์กับไทยมากว่า 400 ปี หากแต่ว่ามิได้พบหลักฐานเอกสารการมาของชาวเปอร์เซียที่ชัดเจนก่อนหน้า แต่ก็ยังพบโบราณวัตถุจำนวนมากเช่น กษาปณ์ ดวงตรา ลูกปัด และประติมากรรมต่างๆ ที่ชาวเปอร์เซียได้ทิ้งไว้ แต่ในปัจจุบันลูกหลานชาวมุสลิมที่สืบเชื้อสายมาแต่เปอร์เซียนั้น ได้รับวัฒนธรรมไทยมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันพวกเขากลับรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองได้น้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับชาวไทยมุสลิมกลุ่มอื่นในกรุงเทพมหานคร

 

ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย ได้ทิ้งมรดกทางภาษาไว้ เช่น คำว่า ปสาน ที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งในสมัยสุโขทัย ซึ่งนักวิชาการให้ความเห็นว่ามาจากคำว่า บอซัร ในภาษาเปอร์เซียที่มีความหมายว่า ตลาดห้องแถว ตลาดขายของแห้ง  

คำว่า กุหลาบ ที่ยืมมาจากคำว่า กุล้อบ ในภาษาเปอร์เซีย ที่มีความหมายเดิมว่า น้ำดอกไม้

คำว่า โมล์ค ที่แปลว่า ไก่ แต่คนไทยมุสลิมกลับใช้เรียกเป็น ข้าวหมก

คำว่า ภาษี มาจาก บัคซี ที่มีความหมายว่า ของให้เปล่า ของกำนัล หรือรางวัล

คำว่า สนม มาจากคำว่า ซะนานะฮ 

 

แม้แต่เครื่องแต่งกายอย่าง ลอมพอก ก็เป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมของเปอร์เซีย ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผ้าโพกหัวของชาวมุสลิมกับชฎาของไทยโดยลอมพอกถือเป็นหมวกสำหรับขุนนางในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชกาลเดียวกันก็ได้ส่งราชทูตไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีในปี พ.ศ. 2229 ลอมพอกจึงเป็นที่สนใจของชาวฝรั่งเศสอย่างมาก

คณะราชทูตสยามสวมลอมพอก เจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์

 

 

 

หรือจะเป็นหนังสนุกๆ

เรื่องย่อ...

จากสุดยอดทีมผู้สร้าง Pirates of the Caribbean ทั้ง 3 ภาค วอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส และ เจอร์รี่ บรั๊คไฮเมอร์ ภูมิใจเสนอ Prince of Persia: The Sands of Time มหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชัน-ผจญภัยในดินแดนลี้ลับแห่งเปอร์เซีย เมื่อเจ้าชาย (เจค จิลเลนฮาล) ต้องมาร่วมมือกับเจ้าหญิงผู้ลึกลับ (เจมม่า อาร์เทอตัน) อย่างไม่เต็มใจ โดยพวกเขาต้องผจญภัยไปด้วยกันพร้อมทั้งต่อสู้กับอำนาจมืดอันชั่วร้ายทั้ง หลาย เพื่อปกป้องกริชโบราณ ที่สามารถปลดปล่อยพลังของ "ทรายแห่งกาลเวลา" เครื่องมือของเทพเจ้าที่สามารถย้อนเวลากลับได้ตามต้องการและทำให้ผู้ที่ได้ ครอบครองมีความเป็นอมตะและมีอำนาจสูงสุดที่จะสามารถครอบครองโลกนี้ได้ การต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่เพื่อปกป้องและแย่งชิงพลังของ "ทรายแห่งกาลเวลา" จึงเกิดขึ้น อลังการงานสร้างตามสไตล์ สุดยอดโปรดิวเซอร์ ที่ต้องการถ่ายทอดภาพดินแดนเปอร์เซียอันยิ่งใหญ่ ที่แฝงไปถึงความลี้ลับและเวทมนต์ จึงได้ยกกองถ่ายบุกไปถ่ายทำกันทั้งในแถบมาราเกรช, โมรอคโค, และฉากมโหราฬตระการตาต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในสตูดิโอ ไพน์วูด ในสหราชอาณาจักร มหากาพย์ภาพยนตร์ แอ็คชัน ผจญภัย ฟอร์มยักษ์แห่งปี 2010 ที่ทั้งแฟนเกมและแฟนภาพยนตร์ตั้งตารอ ภาพยนตร์จากฝีมือสุดยอดผู้อำนวยการสร้าง เจอร์รี่บรั๊คไฮเมอร์ ที่จะสร้างปรากฏการณ์ทางภาพยนตร์ครั้งใหม่ หลังจาก Pirates of the Caribbean ทั้ง 3 ภาค โดยจับมือกับผู้กำกับ ไมค์ นีเวล จาก Harry Potter and the Goblet of Fire ร่วมด้วยนักแสดงชั้นนำ อย่าง เจค จิลเลนฮาล, เจมม่า อาร์เทอตัน, อัลเฟรด โมลิน่า, และเซอร์ เบน คิงส์ลีย์

 

#ชาวเปอร์เซีย
hanachoi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
2 ก.ย. 56 เวลา 11:06 8,671 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...