Antikythera คอมพิวเตอร์จากโลกโบราณ

มีสิ่งประดิษฐ์อย่างน้อยหนึ่งชิ้นที่พิสูจน์ว่า อารยธรรมหนึ่งในโลกโบราณเป็นเจ้าของเทคนิคที่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่คาดถึงมาก่อน มันถูกพบในทะเลนอก เกาะแอนติคีเธอร่า (antikythera)  อันเป็นเกาะเล็กๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของครีท มันจึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เครื่องจักรกลแอนติคีเธอร่า (Antikythera Machine)


มันถูกค้นพบจากเรือที่อับปางลำหนึ่งที่ถูกค้นพบในปี 1900 โดยทีมนักดำน้ำที่ตัดสินใจที่จะลองหาฟองน้ำบนโขดหินนอกเกาะแอนติคีเธอร่า แต่พวกเขาพบเรือที่บรรทุกรูปปั้นเต็มลำ ต่อมาในปีนั้นพวกเขากลับไปที่นั่นอีกครั้งและหลังจากหลายเดือนของการดำน้ำที่ยากลำบากและอันตราย พวกเขาก็นำเอารูปปั้นหินอ่อนและบรอนซ์ขึ้นมา และนำพวกมันไปยังพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติในกรุงเอเธนส์ เพื่อทำความสะอาดและบูรณะ

พนักงานของพิพิธภัณฑ์ตื่นตาตื่นใจในความงามและปริมาณที่มีอยู่มากมายของสิ่งของ ดังนั้นมันจึงไม่น่าแปลกใจที่ต้องใช้เวลาหลายเดือน ก่อนที่จะมีใครมองดูซากบรอนซ์ที่ผุกร่อนสองสามชิ้นที่ถูกค้นพบมาพร้อมกันอย่างใกล้ชิด เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1902 นักโบราณคดีชั้นนำผู้หนึ่ง คือ สไปรีดอน สไตส์  ได้ตรวจพบมันในที่สุด เขาสังเกตเห็นโครงร่างของซี่ล้อในกรุงบรอนซ์ผุพัง ในไม่ช้าก็มีการโต้เถียงกันขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่ามันเป็นล้อฟันเฟืองของจานกลุ่มดาว ซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้ในการวัดการขึ้นของดวงอาทิตย์

บางคนก็แย้งคำกล่าวนั้น สิ่งที่แน่นอนคือ ข้อความที่เขียนไว้บนสิ่งนั้นชี้ให้เห็นว่าเครื่องจักรกลนั้นถูกสร้างขึ้นในราวปีที่ 80 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ยังต้องรอจนกระทั่งปี 1958 เครื่องจักรกลแอนติคีเธอร่าจึงได้รับการตรวจสอบเป็นครั้งแรกโดยชายผู้หนึ่ง ที่ได้เปิดเผยระดับเทคนิคของผู้ที่สร้างมันต่อโลก



ซากแผ่นบรอนซ์ อันเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร Antikythera ที่ค้นพบจากทะเล



ดีเรค เอด ซอลลา ไพรซ์ ชาวอังกฤษผู้ที่ขณะนั้นเป็นศาสตรจารย์ในสาขาประวัติศาสตร์-วิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเยล อเมริกา เขาพบเครื่องจักรกลขณะที่กำลังศึกษาประวัติของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อยู่ เขาได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์เอเธนส์ เขาตกตลึงในสิ่งที่เขาเห็น "ไม่มีอะไรที่เหมือนเครื่องมือนี้ถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่ใดเลย" เขาเขียน "ไม่มีอะไรที่จะเทียบกับมันได้เลย ทั้งจากสิ่งของที่เป็นที่รู้จักจากตำราวิทยาศาสตร์หรือวรรณคดีโบราณ ตรงกันข้ามจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรารู้จักของยุคเฮเลนนิสติกทั้งหมด เราน่าที่จะเข้าใจว่าสิ่งประดิษฐ์เช่นนี้ไม่อาจที่จะมีอยู่"



เครื่องจักร Antikythera จำลอง หลังประกอบขึ้นมาใหม่


การเตรียมการทำงานกับส่วนประกอบซากบรอนซ์ ได้เปิดเผยถึงส่วนประกอบย่อยๆ ด้านนอกประกอบด้วยหน้าปัทม์ที่ติดตั้งในกล่องไม้ และภายในมีล้อเฟืองอย่างน้อย 20 อัน ตัวกล่องปกคลุมด้วยคำจารึก ซึ่งรวมถึงปฏิทินทางด้านดาราศาสตร์ แต่ชิ้นที่น่าสนใจที่สุดของทั้งหมดคือเครื่องจักรกลที่รวบรวมระบบฟันเฟืองที่แตกต่างกันโดยอย่างสิ้นเชิง นี่คือสิ่งที่ทำให้ไพรส์ตกตะลึง เพราะตามประวัติศาสตร์ได้มีการคิดระบบฟันเฟืองที่ซับซ้อนถึงเช่นนี้ปรากฏเป็นครั้งแรก ในตัวเรือนนาฬิกาที่สร้างขึ้นในปี 1575

มากกว่าหนึ่งทศวรรษที่ไพรส์ได้บากบั่นประกอบเครื่องจักรกลจากส่วนประกอบที่ผุกร่อน แต่จนกระทั่งปี 1971 ภาพถ่ายนเอ็กซ์เรย์ได้ถ่ายภาพให้ไพรส์ โดยคณะพลังงานอะตอมของกรีก ซึ่งในที่สุดก้อได้เปิดเผยเครื่องจักรกลแอนติคีเธอร่า ที่ประกอบฟันเฟืองเข้ากันอย่างสมบูรณ์ นับแต่นาฬิกาบอกเวลาจากศตวรรษที่ 13 ซึ่งเรารู้จักกันก็ยังมีระบบเฟืองที่ธรรมดากว่า ปฏิกิริยาของไพรส์เป็นความเข้าใจ "ผมจำเป็นต้องสารภาพว่า มีหลายครั้งในช่วงเวลาของการสืบเสาะ ผมต้องตื่นจึ้นมาในตอนกลางคืนและสงสัยว่ามีวิธีการประกอบหรือไม่จากตำรา, คำจารึก , บันทึกทางดาราศาสตร์ และรวมไปถึงทุกสิ่งที่บ่งชี้ไปจนถึงศตวรรษแรกก่อนคริสตกาลด้วย"



Antikythera (จำลอง) ในลักษณะใกล้เคียงกับของจริง

ไม่มีใครรู้ว่าเครื่องจักรกลแอนติคีเธอร่าใช้อย่างไร หรือมันไปทำอะไรในเรือที่บรรทุกรูปปั้น แต่ตัวของไพรส์คิดว่ามันอาจเป็นตัวแทนของจักรวาลเป็นงานศิลปมากกว่าที่จะเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  เขายังเชื่อว่ามันอาจเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดเทคนิคการติดตั้งเฟืองที่ตกทอดให้แก่คนรุ่นหลัง จากกรีก โบราณให้กับผู้รับช่วงชาวมุสลิม และท้ายที่สุดก็ออกดอกออกผลมาเป็นนาฬิกาทางดาราศาสตร์ของชาวยุโรปผู้ยิ่งใหญ่ในยุคกลาง และเครื่องจักรกลแอนดิคีเธอร่าต้องจัดให้เป็นอย่างที่ไพรส์กล่าวว่า "เป็นหนึ่งในประดิษฐกรรมพื้นฐานทางด้านเครื่องจักรกลทางเวลาทั้งหมด"

การมีอยู่ของมันเป็นคำเตือนที่มีต่อทรรศนะสมัยใหม่อันหยิ่งยะโส ที่คิดว่าวิทยาศาสตร์ที่สลับซับซ้อนอยู่เหนือความสามารถและจินตนาการของผู้คนในโลกโบราณ

17 มี.ค. 53 เวลา 13:49 3,413 9 1,200
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...