"สนง.ข้าหลวงใหญ่ฯ ยูเอ็น" เตือน ไทยจะยุติขัดแย้งได้ต้องมี "ผู้รับผิดชอบ"!!!

ที่มา เฟซบุ๊ก Sand Wongnapachant แซนด์ ชยิกา วงศ์นภาจันทร์


โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผู้ดูแลด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยไม่นิรโทษ "ผู้รับผิดชอบ" ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม เซซิล ปุยล์ลี โฆษกของสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ แถลงที่กรุงเจนีวา เกี่ยวกับการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ว่า "เรามีความกังวลว่า ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสัปดาห์นี้ หากผ่านความเห็นชอบ อาจละเว้นโทษแก่ผู้ก่อเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในเหตุรุนแรงทางการเมืองเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม2553"

"ในช่วงเวลาของเหตุรุนแรงเหล่านั้น มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน บาดเจ็บหลายพันคน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 รัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งได้ออกรายงานฉบับสุดท้าย แสดงข้อสรุปที่หนักแน่น กอปรด้วยหลักฐานทางนิติเวชวิทยา พร้อมกับเสนอแนะให้เร่งดำเนินการเพื่อประกันว่าจะเกิดการรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน"

"เราขอย้ำข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ของข้าหลวงใหญ่ต่อประเทศไทยที่ขอให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคอป. และให้หลักประกันว่า เจ้าหน้าที่รัฐและคนอื่นๆจะต้องรับผิดต่อบทบาทของตนในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง กรณีนี้จะเป็นแบบอย่างที่สำคัญสำหรับประเทศไทย"

"เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้หลักประกันว่า การนิรโทษกรรมใดๆจะไม่ครอบคลุมถึงผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และดำเนินการลงโทษผู้กระทำความผิดในเหตุละเมิดเช่นนี้."

โฆษกของข้าหลวงใหญ่แห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผู้ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน ยังได้ตอบคำถามเพิ่มเติมถึงกรณีรายชื่อที่ทางคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเห็นว่าไม่ควรอยู่ในข่ายของการนิรโทษกรรมดังนี้ "เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะต้องผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิฉะนั้นจะไม่เกิดความสงบในสังคม อย่างไรก็ตามทางคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เปิดรับผลการสืบสวน และข้อชี้แนะที่ว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เป็นบุคคลสาธารณะควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"

ซึ่ง ข้อเรียกร้องของ “โฆษกของข้าหลวงใหญ่แห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผู้ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน” นั้นตรงกับแนวทาง “การนิรโทษกรรม” ที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ผลักดันทุกอย่าง โดยเฉพาะ “การไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้สั่งการ” และยืนยันว่า “ผู้สั่งการ” จะต้องรับผิดชอบ!
--------------------------------

ที่มา : http://www.unog.ch/unog/website/news_media.nsf/(httpNewsByYear_en)/441E2151F0F40799C1257BBF0034E136?OpenDocument

Pressbriefing notes on Thailand

Spokesperson for the UN High Commissioner for Human Rights: Cécile Pouilly
Location: Geneva
Date: 6 August 2013

1) Thailand
"We are concerned that the amnesty bill being discussed this week in Parliament, if adopted, could pardon people involved in serious human rights abuses during the political violence in April and May 2010.

At the time of these incidents, over 90 people died and thousands were injured. On 6 July 2010, the Government established the Truth and Reconciliation Commission of Thailand (TRCT) that issued a final report containing serious and substantive findings backed by forensic evidence and recommended urgent action to ensure accountability for human rights abuses.

We reiterate the previous call by the High Commissioner for the Government to act on the TRCT′s recommendations and ensure that state officials and others are held to account for their role in serious human rights abuses. This would set an important precedent for Thailand.

We call upon the Government to ensure that any amnesty excludes those who are responsible for human rights violations and to take steps to prosecute perpetrators of such violations."

Answering a question she said she did not have a specific list of persons that should be excluded from such an amnesty. It was important to ensure accountability as without it there could be no social peace. The High Commissioner had previously welcomed the findings of the report and its recommendations to hold public officials accountable.
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...