กบ…ออกลูกทางปาก

window.addEvent('domready', function() { var myMenu = new MenuMatic(); });
กบ…ออกลูกทางปาก

 

เราเคยเฝ้าฝันถึงการนำสัตว์ต่าง ๆ ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับคืนมา แม้จะรู้ว่าสามารถทำได้อย่างไร แต่ก็เรียกได้ว่ามันเป็นการต่อสู้กับกาลเวลา และธรรมชาติอย่างแท้จริง แต่เมื่อไม่นานมานี้ (2013) นักวิทยาศาสตร์ได้ทำให้กบออกลูกทางปากที่สูญพันธุ์ไปแล้วคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง…

กบแกสตริกบรูดดิ้ง (gastric-brooding frog) สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1983 มันเป็นกบที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ของควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ลักษณะที่พิเศษและแปลกประหลาดของมันคือ มันออกลูกทางปาก นับเป็นกบชนิดเดียวที่ทำแบบนั้น (ที่จริงมีสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่ชนิดในอาณาจักรสัตว์ที่ทำแบบนั้นได้ คือ กบชนิดนี้ และปลาอีกไม่กี่ชนิด)

พวกมันค่อย ๆ ตายและสูญพันธุ์ไปด้วยสาเหตุที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับมนุษย์สักเท่าไหร่ นั่นคือ โรคที่เกิดจากปรสิต การสูญเสียที่อยู่อาศัยเพราะการแพร่พันธุ์ของวัชพืชบางชนิด และปัญหาที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากกบแกสตริกบรูดดิ้ง มันยังมีสายพันธุ์ย่อยที่ใกล้เคียงคือกบแกสตริกบรูดดิ้งตอนเหนือ และกบแกสตริกบรูดดิ้งตอนใต้ ซึ่งคาดว่าทั้งสองชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้วเหมือนกันในช่วงกลางศตวรรษที่ 80


[กบเกรทแบเรด ญาติของกบแกสตริกบรอดดิ้ง]


นับต่อจากนี้ การสูญพันธุ์ อาจไม่ใช่ การสูญพันธุ์ อีกต่อไป…

ที่มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล มีโครงการที่จะคืนชีวิตให้แก่สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งรู้จักกันในนามของโครงการลาซารัส (Lazarus) เป้าหมายหนึ่งคือการนำกบแกสตริกบรูดดิ้งกลับมา โดยใช้วิธีการถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย (somatic-cell nuclear transfer : SCNT) ซึ่งเป็นวิธีของการโคลนนิ่ง และโครงการนี้ก็ประสบความสำเร็จครั้งสำคัญเพราะสามารถสร้างตัวอ่อนของกบที่สูญพันธุ์ไปแล้วออกมาได้

สิ่งสำคัญก็คือ พวกเขาพบกบชนิดหนึ่งที่เป็นญาติของมัน คือกบเกรทแบเรด (great barred frog) ที่อาศัยอยู่ในควีนแลนด์เหมือนกันแล้วพวกมันก็มีขอบตาที่สวยงามมาก เหมือนกับกำลังสวมแว่นกันแดดอยู่อย่างนั้นแหละ เรานำไข่ของกบชนิดนี้มาแทนที่ด้วยยีนส์ของกบแกสตริกบรูดดิ้งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว

แม้ว่ากบแกสตริกบรูดดิ้งจะสูญพันธุ์ไปหลายทศวรรษแล้ว แต่ยังคงมีการเก็บเนื้อเยื่อที่มีตัวอย่างพันธุกรรมของมันเอาไว้ (ถูกรักษาไว้ในอุณหภูมิต่ำ) เมื่อผ่านกระบวนการถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย ไข่จะเริ่มแบ่งตัวและกลายเป็นตัวอ่อน



แม้ว่าตอนนี้ตัวอ่อนที่เราได้มานี้จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานนัก แต่ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าตัวอ่อนเหล่านี้บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของกบแกสตริกบรูดดิ้งเอาไว้ ก็เท่ากับว่าเราสามารถนำเจ้ากบที่สูญพันธุ์ไปแล้วนี้กลับมาได้อีกครั้ง เหล่านักวิจัยมั่นใจว่าแม้ขณะนี้เราจะยังให้กำเนิดกบที่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจริง ๆ ไม่ได้ แต่ปัญหานี้ก็เป็นเพียงปัญหาทางเทคนิค ไม่ใช่ปัญหาทางชีววิทยา ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้เราจะได้เห็นพวกมันแน่นอน

ความสำเร็จในครั้งนี้ยังเป็นก้าวสำคัญให้เราหวังได้ว่า อีกไม่นานเราจะสามารถนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายชนิดกลับมาได้ นักวิจัยของโครงการลาซารัสยังตั้งเป้าหมายต่อไปไว้ที่ แมมมอธ นกโดโด้ และเหล่าสัตว์อื่น ๆ อีกมากมาย

 

อ่อ…ลืมไป สำหรับใครที่สงสัยว่าทำไมกบถึงออกลูกทางปากได้ เขาอธิบายไว้ว่า เจ้ากบแกสตริกบรูดดิ้งนี้ก็วางไข่เหมือนกบปกตินั่นแหละ ไข่นั้นจะถูกหุ้มอยู่ในสารที่เรียกว่าโปรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งสารนี้จะทำให้กบหยุดสร้างกรดแกสตริกในช่องท้อง ทำให้ในท้องของกบเป็นที่ ๆ ดีมากสำหรับไข่ของมัน ดังนั้นกบจึงกลืนไข่เข้าไปในท้อง แล้วไข่ก็จะฟักในท้อง เมื่อไข่ฟักแล้วลูกกบก็จะคลานออกมาจากปากแม่ของมัน (ซึ่งมันก็น่าแปลกจริง ๆ นั่นแหละ) และนั่นทำให้ดูคล้ายกับว่ากบชนิดนี้ออกลูกเป็นตัว แถมออกทางปากอีกต่างหาก


เพิ่มเติม: กรดแกสตริก (Gastric acid) คือ กรดที่หลั่งจากกระเพาะอาหาร ส่วนมากประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริก โปรแตสเซียมคลอไรด์ และโซเดียมคลอไรด์


Reference:

http://www.popsci.com/science/article/2013-03/scientists-resurrect-bonkers-extinct-frog-gives-birth-through-its-mouth

http://theweek.com/article/index/241488/this-long-extinct-frog-is-being-brought-back-from-the-dead

Image Credit:  koya979 / Shutterstock

 

6 ก.ค. 56 เวลา 16:44 4,029 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...