สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 2

 


ภาพที่ 1
ชื่อไทย
จะละเม็ดขาว, แป๊ะเซีย
ชื่อสามัญ
SILVER POMFRET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pampus argenteus (Euphrasen)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นหน้าดินที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนโคลน อยู่รวมกันเป็นฝูง บางครั้งเข้าไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย พบแพร่กระจายในอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะอ่างทอง จะมีปลาชนิดนี้อยู่อย่างชุกชุม และในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดีและราคาแพงมาก

 


ภาพที่ 2
ชื่อไทย
จะละเม็ดดำ, โอเซีย
ชื่อสามัญ
BLACK POMFRET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Parastromateus niger (Bloch)
ถิ่นอาศัย
หากินบริเวณชายฝั่งและปากน้ำพบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี แต่อร่อยสู้จะละเม็ดขาวไม่ได้ ราคาค่อนข้างถูก นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 3
ชื่อไทย
จักรผาน, ซีกเดียว, หน้ายักษ์, โทต๋า
ชื่อสามัญ
INDIAN HALIBUT
ชื่อวิทยาศาสตร์
Psettodes erumei (Schneider)
ถิ่นอาศัย
อยู่บริเวณหน้าดินใต้ท้องทะเล มีอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาที่มีขนาดเล็กกว่าแทบทุกชนิด
ขนาด
เป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อมากที่สุด พบทั่วไป มีความยาวประมาณ 18-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อยใช้ปรุงอาหารได้ดี

 


ภาพที่ 4
ชื่อไทย
จาน, อีคุดครีบยาว
ชื่อสามัญ
LONGSPINE SEABREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sparus spinifer Forskal
ถิ่นอาศัย
หากินตามหน้าดินในระดับน้ำลึก 50-100 ม. พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ยาวถึง 40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร

 


ภาพที่ 5
ชื่อไทย
ฉลามหนูใหญ่, ฉลามหนูหัวแหลม
ชื่อสามัญ
WALBEEHM'S SHARP-NOSED SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scoliodon walbeehmi (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
พบในอ่าวไทยในบริเวณพื้นทะเลที่เป็นทราย
อาหาร
กินสัตว์น้ำทุกชนิด
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 35-95 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีราคาถูก นิยมใช้ทำลูกชิ้นครีบต่าง ๆ ใช้ปรุงอาหารได้ดี มีราคาแพง โดยเฉพาะครีบหู และครีบหลัง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าหูฉลาม

 


ภาพที่ 6
ชื่อไทย
ฉลามหัวค้อนสั้น, อ้ายแบ้สั้น
ชื่อสามัญ
SQUAT-HEADED HAMMER HEAD SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sphryna tudes (Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
หากินตั้งแต่กลางน้ำไปถึงหน้าดิน
อาหาร
กินสัตว์น้ำทุกชนิด
ขนาด
ความยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ ครีบต่าง ๆ ใช้ทำหูฉลาม

 


ภาพที่ 7
ชื่อไทย
เฉลียบ
ชื่อสามัญ
YELLOW QUEENFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scomberoides lysan Forskal
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเลในระดับไหล่ทวีป เป็นปลาอยู่ผิวน้ำ
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ จำพวกกุ้ง ปู
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื้อมีรสชาติดีเมื่อทำเป็นปลาเค็ม

 


ภาพที่ 8
ชื่อไทย
ช่อนทะเล, ไฮโหลย
ชื่อสามัญ
COBIA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rachycentron canadus (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายในอ่าวไทยทั้งในบริเวณน้ำลึก และชายฝั่งบริเวณกองหินปะการัง และปากน้ำ
อาหาร
กินกุ้ง กุ้งและปลา
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาว 80-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาวถึง 180 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้เป็นอาหาร เป็นปลาที่สู้เบ็ด นิยมตกเป็นเกมส์กีฬา

 


ภาพที่ 9
ชื่อไทย
สำลี, ช่อลำดวน
ชื่อสามัญ
BLACK-BANDED TREVALLY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Seriola nigrofasciata (Rupell)
ถิ่นอาศัย
บริเวณกลางน้ำและตามพื้นท้องทะเล เช่นที่อ่าวจังหวัดระยอง ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต ระนอง ตรัง
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาค่อนข้างแพง ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด

 


ภาพที่ 10
ชื่อไทย
เห็ดโคนจุด, ซ่อนทราย
ชื่อสามัญ
SILLAGO TRUMPETER SILLAGE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sillago maculata Quoy & Gaimard
ถิ่นอาศัย
ตามบริเวณหน้าดินในน้ำตื้น แถบชายฝั่ง พบที่ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ
อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกปู และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ที่พบทั่วไปยาว 18 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร โดยจะแล่เนื้อเป็นแผ่นบาง ๆ ใส่เกลือ ตากแห้ง นิยมนำมาทอดกินเป็นกับแกล้ม

 


ภาพที่ 11
ชื่อไทย
ช่อนทรายแก้ว
ชื่อสามัญ
SILVER SILLAGO
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sillago sihama (Forskal)
ถิ่นอาศัย
หากินตามหน้าดินซึ่งมีพื้นเป็นทราย โดยจะฝังตัวอยู่ในทราย เหลือนัยน์ตาโผล่ขึ้นมา คอยจ้องจับสัตว์น้ำเป็นอาหาร พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินลูกกุ้ง ตัวหนอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อสีขาว มีก้างน้อย รสชาติดีมาก นิยมส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ในรูปของปลาแช่แข็ง

 


ภาพที่ 12
ชื่อไทย
ใบขนุน, ญวน, อั้งนำฮื้อ
ชื่อสามัญ
FALSE TREVALLY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lactarius lactarius (Bloch & Schneider)
ถิ่นอาศัย
หากินบริเวณพื้นหน้าดิน ตามเกาะและชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณหน้าดิน
ขนาด
โดยทั่วไปที่พบในอ่าวไทย ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ถ้าจับจากฝั่งทะเลอันดามันจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี เป็นที่นิยมของนักบริโภค

 


ภาพที่ 13
ชื่อไทย
ดอกหมากกระโดง
ชื่อสามัญ
WHIPFIN MOJARRA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gerres filamentosus (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเลตื้น ๆ ปากแม่น้ำจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง
อาหาร
สัตว์น้ำและพืชขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 11-22 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภค

 


ภาพที่ 14
ชื่อไทย
ดอกหมากครีบยาว, แป้นแก้ว
ชื่อสามัญ
LONGFIN MOJARRA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pentaprion longimanus (Cantor)
ถิ่นอาศัย
พื้นท้องทะเล บริเวณอ่าวไทยแลทะเลอันดามัน เช่น ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ภูเก็ต ระนอง
อาหาร
สิ่งมีชีวิตในน้ำและพืชน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 7-11 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภคและทำอาหารสัตว์

 


ภาพที่ 15
ชื่อไทย
ดาบลาวยาว
ชื่อสามัญ
DORAB WOLF-HERRING
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chirocentrus dorab (Forskal)
ถิ่นอาศัย
ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลจนถึงทะเลเปิด หากินตามผิวน้ำ
อาหาร
กุ้ง หอย ปู ปลา
ขนาด
ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
ทำลูกชิ้นปลา มีรสชาติดี

 


ภาพที่ 16
ชื่อไทย
ดาบเงินใหญ่
ชื่อสามัญ
LARGEHEAD HAIRTAIL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichiurus haumela Forskal
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลน้ำตื้นและปากแม่น้ำ
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-90 เซนติเมตร
ประโยชน์
นำมาแปรรูป เช่น ทำลูกชิ้น ทำเค็มและตากแห้งเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 17
ชื่อไทย
ดุกทะเล, ปิ่นแก้ว, เป็ดแก้ว
ชื่อสามัญ
STRIPED SEA CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Plotosus anguillaris van Martens
ถิ่นอาศัย
ทั้งน้ำกร่อยและน้ำจืด แพร่กระจายทั่วอ่าวไทย
อาหาร
กินทั้งพืชและสัตว์
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารเนื้อมีรสชาติดี

 


ภาพที่ 18
ชื่อไทย
ตะคองเหลือง
ชื่อสามัญ
GOLDEN TOOTHLESS TREVALLY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gnathanodon speciosus Bleeker
ถิ่นอาศัย
พบอยู่ตามหน้าดินและบริเวณกองหินใต้น้ำหรือตามพื้นท้องทะเลที่เป็นโคลน โคลนปนทรายและหินทั้งในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 29-95 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้

 


ภาพที่ 19
ชื่อไทย
ตะลุมพุก
ชื่อสามัญ
TOLI SHAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alosa toli Bleeker
ถิ่นอาศัย
หากินตามชายฝั่งทะเลและบริเวณปากน้ำในอ่าวไทย เป็นปลาสองน้ำที่ เจริญเติบโตอยู่ในทะเล เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จึงจะอพยพเข้ามาผสมพันธุ์วางไข่ในน้ำจืดหรือบริเวณปากน้ำ
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
โดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสชาติดี ราคาแพง

 


ภาพที่ 20
ชื่อไทย
ตาหวานจุด, ตาโต, ตาพอง
ชื่อสามัญ
PURPLE-SPOTTED BIGEYE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Priacanthus tayenus Richardson
ถิ่นอาศัย
หากินตามพื้นทะเล บริเวณที่มีความลึกประมาณ 40 เมตร พบแพร่กระจายในอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อนิยมทำลูกชิ้น หรือแช่แข็งส่งต่างประเทศ
19 เม.ย. 56 เวลา 11:34 2,083 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...