โบท็อกซ์ อันตรายหรือไม่?

โบท็อกซ์ อันตรายหรือไม่?

          ในอุตสาหกรรมความงามการฉีดโบท็อกซ์ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคำถามอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะโบท็อกซ์นั้นอันตรายหรือไม่? คุณหมอนันทภัทร์ สุภาพรรณชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ทางด้านศัลยศาสตร์ผิวพรรณ ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังโรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และแพทย์ผิวหนังที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
          โบท็อกซ์หรือสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน นั้น โบท็อกซ์เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ซึ่งสกัดได้จากเชื้อแบคทีเรียคลอสทรีเดียมโบทูลินั่ม ชนิดเอ (Clostridium Botulinum Type A) มีการนำมาใช้เสริมความงาม และความอ่อนเยาว์ให้ผิวพรรณ ส่วนโบทูลินั่ม ท็อกซิน เป็นสารพิษจากแบคทีเรียที่มักจะพบในอาหารกระป๋องที่บุบ มีผลทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราว ขึ้นกับปริมาณที่ได้รับ ถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้หยุดหายใจได้ แต่สารที่นำมาใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารที่สกัดออกมาให้มีความบริสุทธิ์และมีปริมาณน้อยมาก เพื่อที่จะสามารถจำกัดการออกฤทธิ์ให้อยู่ในกล้ามเนื้อมัดเล็กที่เราต้องการฉีดได้ โดยเฉพาะตัวยาที่ผลิตจากอเมริกาจะได้รับการรับรองเรื่องความปลอดภัยสูงมาก
          การฉีดโบท็อกซ์นั้นตัวยาจะเข้าไปคลายกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณที่ฉีด คือเมื่อฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ หรือทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เป็นอัมพาตชั่วคราว จึงมีการนำสารโบท็อกซ์มาใช้ในการช่วยดูแลผิวพรรณ เริ่มตั้งแต่ลดริ้วรอยบนใบหน้า ตีนกา ริ้วรอยรอบปาก รอยย่นสันจมูก ฉีดช่วยยกกระชับใบหน้า ลำคอให้ตึงระหง ฉีดลดเส้นตึงรั้งที่ลำคอ ฉีดยกคิ้วทำให้ดวงตาดูโตขึ้น ฉีดยกมุมปาก ฉีดลดกราม หน้าเรียว ฉีดลดน่อง ขาเรียว ฉีดลดเหงื่อได้สำหรับคนที่มีเหงื่อออกใต้วงแขน นอกจากนี้ยังช่วยคนไข้ให้ลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้เป็นอย่างดี
          โบท็อกซ์จะออกฤทธิ์ภายใน 2-3 วันหลังจากฉีด และเห็นผลสูงสุดภายใน 1 เดือน และออกฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในการฉีดใช้เวลาเพียง 10 นาที ไม่เจ็บปวดแต่อย่างใด หลังฉีดอย่าไปขยี้ และต้องหยุดทำทรีตเม้นท์ผิวหน้าสัก 1-2 อาทิตย์
          ที่สำคัญก่อนทำการรักษา คุณหมอแนะว่าให้หาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปลอดภัยที่สุดค่ะ

26 พ.ค. 52 เวลา 14:09 4,119 1 6
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...