หุ่นยนต์หมา ช่วยทหารลำเลียงสัมภาระ (คลิป)

 

 

 

 

 

หุ่นยนต์หมา ช่วยทหารลำเลียงสัมภาระ

 

 

 

เพนตากอนพัฒนาสุนัขหุ่นยนต์ เล็งส่งประจำหน่วยทหาร สามารถขนส่งยุทธภัณฑ์หนัก 180 กิโลกรัมได้สบาย เดินไกล 30 กม.ได้โดยไม่ต้องหยุดพัก


กองทัพสหรัฐได้นำหุ่นยนต์เจ้าตูบเวอร์ชั่นล่าสุด ชื่อว่า แอลเอส3 หรือ อัลฟาด็อก ซึ่งสามารถติดตามทหาราบไปในสนามรบได้ ออกแสดงแก่สื่อมวลชน

จักรกลสุนัขตัวนี้ พัฒนาโดยบริษัทบอสตัน ไดนามิกส์ สามารถเดินไกล 20 ไมล์ได้โดยไม่ต้องหยุดพัก และแบกสัมภาระได้ถึง 400 ปอนด์

องค์การโครงการวิจัยการป้องกันประเทศชั้นสูง หรือดาร์ปา บอกว่า แอลเอส3 ได้สาธิตการเดินด้วยขาในระบบกึ่งอัตโนมัติ,ติดตามกองทหารไปในภูมิประเทศอันทุรกันดาร และมีปฏิสัมพันธ์กับทหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ คล้ายกับสัตว์ที่ผ่านการฝึกกับผู้ดูแล

พันโท โจ ฮิท ผู้จัดการโครงการของดาร์ปา เผยว่า ขณะนี้ เริ่มทดสอบเจ้าอัลฟาด็อกในหน่วยนาวิกโยธินแล้ว

"แอลเอส3 เป็นการผสมผสานขีดความสามารถของลาต่างกับความฉลาดของสัตว์ที่ผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดีเข้าด้วยกัน"

ในการสาธิตเมื่อเร็วๆนี้ หุ่นยนต์ต้นแบบของแอลเอส3 ได้แสดงการเดิน การวิ่ง การมอง และความเป็นอิสระ ล่าสุด เจ้าหุ่นยนต์แสดงให้เห็นว่ามันสามารถเคลื่อนไหวโดยมีเสียงการทำงานของมอเตอร์เบาลงกว่าเดิม

"แอลเอส3รุ่นใหม่นี้มีเสียงดังน้อยกว่าเดิม 10 เท่า ในรุ่นเก่านั้น ทหารไม่สามารถคุยกันรู้เรื่องเลยถ้ายืนอยู่ใกล้ๆมัน" ฮิทบอก

"แล้วมันยังสามารถเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนไหวจากการเดิน 1-3 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นการวิ่งเหยาะๆไปตามทางขรุขระด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อชั่วโมง แล้วในที่สุดก็วิ่งบนพื้นราบได้เร็ว 7 ไมล์ต่อชั่วโมง"

"มันสามารถวิ่งด้วยสี่ขาได้อย่างราบรื่น ถ้าสะดุดล้ม มันก็สามารถลุกยืนได้โดยอัตโนมัติ แล้วออกวิ่งต่อไป"

เขาบอกอีกว่า แอลเอส3 สามารถติดตามคนนำทาง และตามรอยของสมาชิกในหมวดหมู่ได้ด้วย

ในเดือนธันวาคมนี้ หน่วยนาวิกโยธินจะทดสอบแอลเอส3ในภาคสนามที่ค่ายทหารหลายแห่ง เช่น ในทะเลทรายแคลิฟอร์เนีย และในเวอร์จิเนีย โดยใช้เวลา 2 ปี

เจ้าอัลฟาด็อกสามารถรู้พิกัดของผู้ดูแลมันได้ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่มีหน้าจอสัมผัสคล้ายไอแพด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ทีอาร์ซี (TRC-Marine corps Tactical Robot Controller)

 

14 ก.ย. 55 เวลา 14:46 4,302 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...