น.สบุญเหลือ วีรสตรีที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

ตั้ง อยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ต.โคกสูง อ.เมือง
ห่างจากตัว เมือง 12.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ

ชาวนครราชสีมาได้ ร่วมสร้างขึ้น และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2529 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา ที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ในปี พ.ศ2369นับเป็นอนุสรณ์สถานอีกแห่งหนึ่งที่ชาวนครราชสีมาให้ความเคารพสักการะ เป็นอย่างสูง

พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งมีความขุ่นเคืองและคิดแค้น ได้วางแผนทำศึกกับ กรุงเทพฯ ได้ วางแผนแล้ว ให้ยกกำลังกองทัพข้ามโขงมาตั้งที่บ้านพันพร้าว ฝึกทหารและช้างม้า จนถึงเดือนยี่ แรม ปีจอ พ.ศ.๒๓๖๙ ปลายปี จึงสั่งให้เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตร โย้) ยกกองทัพจากนครจำปาศักดิ์ เข้ายึดหัวเมืองตะวันออก (อุบลฯ เดิมชื่อดอนมดแดง ได้ชื่อใหม่จากเมืองเขื่อนขันธ์กาบแก้หนองบัวบาน เป็นเมืองอุบล เมื่อพระอนุชา ร.๕ มาปกครอง จึงเป็นอุบลราชธานี)

สั่ง ให้เจ้าอุปราชติสสะ (น้องชายเจ้าอนุวงศ์) ยกทัพมายึดหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยเอ็ด) เอาไว้ กันหัวเมือง ทางใต้จะต่อสู้

สั่งให้เจ้าราชวงศ์เหง้า บุตรคนที่ ๒ ยกทัพจากบ้านพันพร้าว เป็นทัพหน้าลงมาทางบ้านเดื่อหมากแข้ง (อุดรธานี) ล่วงหน้า ไปก่อน ๒ วัน แล้วเจ้าอนุวงศ์กับเจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนโต ยกทัพหลวงตามมา โดย ออกข่าวลวงว่าทางกรุงเทพฯ มีศุภอักษรแจ้งว่า อังกฤษจะยกทัพเรือมาตีกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์กองทัพจากเวียงจันทน์ไปช่วย เจ้าเมืองกรมการเมืองรายทางไม่รู้เท่าทัน และเห็นว่า เจ้าอนุวงศ์ไปกรุงเทพฯ บ่อยๆ ก็เชื่อว่าจริง จึงช่วยจ่ายเสบียงให้

กองทัพหน้าของเจ้าราชวงศ์เหง้า ได้มาถึงบ้านโคกสูง รายทัพมาถึงบ้านจอหอน (จอหอ) สามแยกทางเกวียน หน้าเมือง นครราชสีมา เมื่อวันพุธ เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ เวลาบ่าย ๓ โมง ออกข่าวแพร่ สะพัดไปว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ

วันรุ่งขึ้น เจ้าราชวงศ์เหง้าทำหนังสือให้ทหารถือมาขอเบิกเสบียงอาหารจากในเมือง นครราชสีมา ขณะนั้น เจ้าพระยา กำแหงสงคราม (ทองอินท์) เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองไม่อยู่ นำทหารส่วนมากไป ราชการที่เมืองขุขันธ์บุรี (เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างพระยาไกรสงครามเจ้าเมืองขุขันธ์ กับหลวงยกกระบัตรผู้น้อง ซึ่ง เกิดวิวาทแย่งสมบัติและความเป็นใหญ่กันในเมืองขุขันธ์บุรี) จึงเหลือพระยา พรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา เป็นผู้รักษาราชการ พระณรงค์สงครามเป็นที่ปรึกษาฝ่ายทหาร คุณหญิงโม ภริยาปลัดทองคำ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ผู้ไปราชการ และมีข้าราชการผู้น้อยเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบ้าง เมื่อได้รับหนังสือขอเบิกเสบียงอาหารของเจ้าราชวงศ์เหง้า จึงหันหน้าเข้าปรึกษาหารือกัน มีความเห็นเป็น หลายทาง

๑. สงสัยพฤติการณ์ของเจ้าอนุวงศ์ว่าจะหลอกลวง เพราะถ้าเกิดเหตุร้ายจริงๆ ทางกรุงเทพฯ จะต้องบอกเมือง นครราชสีมาก่อน เพราะอยู่ต้นทาง เหตุใดจึงไปบอกเวียงจันทน์ก่อน

๒. อาจจะเป็นความจริงตามที่เจ้าอนุวงศ์ให้ออกข่าวมา เพราะเจ้าอนุวงศ์ไปพักในกรุงเทพฯ บ่อยๆ มีความ สนิทชิดเชื้อกับในหลวง (ร.๓) ดี อาจจะมีพลนำสารพิเศษโดยตรง ไปแจ้งแก่เจ้าอนุวงศ์ ถ้าเป็นความจริง และ เราไม่ต้อนรับก็จะเป็นความผิดต่อกรุงเทพฯ ด้วย

๓. จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม เมืองนครราชสีมาก็ต้องให้การต้อนรับ จะต่อสู้ขัดขืนมิได้ เพราะทหารเมือง นครราชสีมาเหลืออยู่น้อย ไม่พอรักษาหน้าที่เชิงเทิน ส่วนทหารเวียงจันทน์ยกมาจำนวนมาก (ความจริงมี ประมาณสามหมื่น แต่เจ้าอนุวงศ์ออกข่าวว่ามีมาเป็นแสน)

ตกลงดังนั้น แล้วจึงจ่ายเสบียงให้แก่ทหารของเจ้าราชวงศ์เหง้า รับและตักเตือนประชาชนให้อยู่ในความสงบ อย่า ตื่นกลัว และอย่าก่อเหตุร้ายใดขึ้น

ขณะนั้นกองทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ถึงลำเซิน พักพลอยู่ใกล้ชัยภูมิ เมื่อได้ข่าวว่าทัพหน้ามาถึงเมือง นครราชสีมาแล้ว ไม่มีใครขัดขวาง เจ้าอนุวงศ์ก็เคลื่อนทัพหลวงมาถึงเนินดินทางตะวันออก ข้างเมือง นครราชสีมา (เดี๋ยวนี้เป็นวัด ทุ่งสว่าง) เมื่อวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๖๙ แล้วใช้ทหารถือหนังสือมาเชิญ เจ้าเมืองนครราชสีมาให้ออกไปพบเพื่อปรึกษาราชการในการ จะยกทัพไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ

พระยาพรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา จึงออกไปแทนเข้าพบเจ้าอนุวงศ์ทำความเคารพโดยอ่อนน้อม แล้วแจ้งว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองฯ ไม่อยู่ ไปราชการเมืองขุขันธ์บุรี เหลือแต่ข้าราชการ ผู้น้อย กับทหารเล็กน้อยอยู่รักษาเมือง เจ้าอนุวงศ์ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจเพราะจะเข้าเมืองโดยง่าย ไม่ต้องรบ จึงพูดจาเกลี้ยกล่อม พระยาพรหมยกกระบัตร ให้เชื่อฟังคำบอกเล่า และขอเข้าพักในเมืองด้วย พระยาพรหม ยกกระบัตรเห็นจวนตัว ไม่อาจ ปฏิเสธได้จำเป็นต้องเชื้อเชิญเจ้าอนุวงศ์เข้าเมือง

เจ้าอนุวงศ์เข้า เมืองนครราชสีมาแล้ว เห็นว่าเมืองนครราชสีมามั่นคง แข็งแรง มีกำแพง คู ประตู หอรบ และเสบียง อาหารพร้อม ตั้งเป็นฐานทัพได้ ถ้าหากทัพหน้าแตกมา ก็จะตั้งรับที่เมืองนครราชสีมา ยึดเอา เมืองนครราชสีมาไว้ จะได้ปกครองดินแดนแถบนี้ทั้งหมด

วันรุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์ จึงไม่ยอมออกจากเมือง ได้สั่งให้ทัพหน้าโดยเจ้าราชวงศ์เหง้า ยกไปปากเพรียว (สระบุรี) เพื่อ เตรียมการเข้าตีกรุงเทพฯ และกวาดต้อนครอบครัวเวียงจันทร์ (สมัยก่อน) เอาคืนไปเวียงจันทร์ และสั่งให้ทัพหลวง ทั้งหมดตั้งค่ายชักปีกกาทางทิศเหนือเมืองจากสามแยกทางเกวียน (จอหอ) มาประชิดกำแพงเมืองด้านเหนือ และตั้ง กำแพงเมืองด้านใต้ออกไปทางทิศอาคเนย์ ตะวันออกทุ่งทะเลหญ้า ทำค่าย คู ประตู หอรบ รวม ๗ ค่าย ทำมูลดินสูงขึ้น (เดียวนี้ยังอยู่ เรียกว่าบ้านหัวถนน บ้านดอนขวาง และบ้านโนนฝรั่ง)

ชาว เมืองนครราชสีมา เห็นกองทัพลาวไม่ยอมออก และตั้งค่ายประชิดเมืองดังนั้น ก็รู้ว่าเจ้าอนุวงศ์ทรยศแล้ว ไม่เหมือนที่ บอกว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ ก็แสดงอาการกระด้างกระเดื่องด่าว่าทหารลาว รุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง เจ้าอนุวงศ์รู้สึก ไม่ไว้วางใจเกรงชาวเมืองจะลุกฮือขึ้นทำร้าย จึงสั่งทหารลาวออกตรวจค้นริบอาวุธ ต่างๆ ทุกบ้านเรือน เป็นการแน่ชัดว่า เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎ เป็นศัตรู

รุ่งขึ้นอีก ๒ วัน เจ้าอนุวงศ์สั่งให้คณะกรมการเมืองนครราชสีมาเข้ามาอยู่ในกองบัญชาการเพื่อ เป็นที่ปรึกษา แต่ความจริง เพื่อเอาเป็นตัวประกันไว้ แล้วสั่งให้ชาวเมืองออกไปอยู่นอกเมืองให้หมด ขุนโอฐ กรมการเมือง จึงอพยพชาวเมือง นครราชสีมาออกไปอยู่บ้านหมื่นไวย ทางเหนือเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ (ปลายปี)

ฝ่ายเจ้าพระยานครราชสีมา และพระยาปลัดทองคำ ได้ทราบข่าวว่าเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมา ไว้แล้ว จึงได้ วางอุบายผละจากเมืองขุขันธ์บุรี โดยให้เจ้าพระยานครราชสีมานำกำลังส่วนมากไปรายงาน เรื่องราวในกรุงเทพฯ และขอให้ยกทัพไปช่วยกู้เมืองนครราชสีมา ส่วนพระยาปลัดทองคำจะนำกำลังส่วนน้อย เข้าไปในเมืองนครราชสีมา เพื่อคิดการ แก้ไขต่อไป

ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ยึดเมืองนครราชสีมาอยู่จนปลายเดือนกุมภาพันธ์ สะดุ้งใจได้คิดว่าชาวเมืองนครราชสีมา ไปรวมกลุ่มอยู่ นอกเมืองอาจจะก่อความวุ่นวายทำอันตรายได้ และถ้ากองทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาได้รบพุ่งกัน ชาวเมืองนครราชสีมา ก็จะช่วยกองทัพกรุงเทพฯ เข้าตีกระหนาบ กองทัพลาวก็จะเป็นอันตรายได้ง่าย ครั้นวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์ก็ให้เชิญคณะกรมการเมืองนครราชสีมา ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุม แล้วบอกว่า เกรงจะเกิดสงครามใหญ่ สงสารพวกครอบครัวชาวนครราชสีมาจะเป็นอันตราย จึงคิดจะอพยพ ครอบครัวในเมืองนี้ ไปอยู่เมืองเวียงจันทน์ให้พ้นภัย จึงให้พระยาพรหมยกกระบัตรนำคณะกรมการเมือง สำรวจทำบัญชีครอบครัวที่จะไป อนุญาตให้อยู่เฉพาะคนแก่ คนป่วย คนแม่ลูกอ่อนที่ลูกยังไม่หย่านม และพระสงฆ์สามเณร พระยาพรหมยกกระบัตรและคณะฯ ก็ไปดำเนินการตามสั่ง ดำเนินการเสร็จแล้วก็เอา บัญชีจำนวนคนมาเสนอ เจ้าอนุวงศ์เห็นบัญชีคนจำนวนมากมีผู้ชาย ๘,๐๐๐ เศษ ผู้หญิงหมื่น เศษ ถ้าอพยพ ไปพร้อมกันจะลำบากควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง จึงสั่งแยกเป็น ๔ ขบวนเดินทาง ให้เดินขบวนละวันตาม คือ

ขบวนที่ ๑ นำโดยคุณหญิงโม ออกเดินทางวันที่ ๑ มีนาคม ๒๓๖๙

ขบวนที่ ๒ นำโดยพระพิทักษ์โยธา ออกเดินทางวันที่ ๒ มีนาคม ๒๓๖๙

ขบวนที่ ๓ นำโดยพระณรงค์สงคราม ออกเดินทางวันที่ ๓ มีนาคม ๒๓๖๙

ขบวนที่ ๔ นำโดยพระยาพรหมยกกระบัตร ออกเดินทางวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙

มีทหารลาวชั้นนาย ฮ้อยเป็นผู้ควบคุม แต่ละขบวน มีทหารลาวคุมไปขบวนละ ๕๐๐ คน รวมทหารลาวมี ๒,๐๐๐ คน ให้ เพี้ยรามพิชัยเป็นแม่กองควบคุมการกวาดต้อนทั้งหมด ซึ่งเพี้ยรามพิชัยไปพร้อมขบวนหน้า

ฝ่ายพระยาปลัดทองคำ เร่งรีบเดินทางทั้งกลางวันกลางคืนหลายวัน จึงถึงเมืองนครราชสีมาเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๓๖๙ ตอนกลางวัน ขบวนกวาดต้อนไปหมดแล้ว จึงพักทหารไทย ๕๐ ไว้นอกเมือง แล้วเข้าไปหาเจ้าอนุวงศ์ ด้วยมือเปล่า

ขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์กำลังตรวจค่ายและสั่งงานอยู่ที่ค่ายบึงทะเลหญ้า พระยาปลัดฯ ก็เข้าไปกราบกราน อย่างอ่อนน้อม และ กราบทูลว่าข้าพระพุทธเจ้ากับเจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่เมืองขุขันธ์ยัง ไม่เสร็จธุระ พอได้ทราบว่าเจ้าย่ำ กระหม่อมเหยียบเมืองนครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมามีความเกรงกลัวพระบารมี จึงพอทหารจำนวนมากหลบหนี ไปทางสวายจีก คงจะไปพึ่งดินแดนเขมร ส่วนข้าพระพุทธเจ้าห่วงใยครอบครัว และเกรงว่าพระยาพรหมยกกระบัตร จะต้อนรับเจ้าย่ำกระหม่อมไม่สมพระเกียรติจึงรีบมาเฝ้า เพื่อรับใช้ เจ้าย่ำกระหม่อมตามแต่จะมีบัญชาใช้ และขอฝากเนื้อ ฝากตัวไปรับใช้รับราชการในเวียงจันทน์จนกว่า ชีวิตจะหาไม่

เจ้าอนุวงศ์เห็นกิริยาพระยาปลัดทองคำแสดงความนอบน้อม พูดจาน่าฟังก็ยินไต่ถามทุกข์สุขตามสมควร รับปากจะให้ ไปอยู่รับราชการในเวียงจันทน์ด้วยกัน "ตอนนี้ครอบครัวชาวเมืองได้อพยพไปแล้ว ให้ลุงติดตาม ไปเถิด" แล้วเจ้าอนุวงศ์ ก็ทำหนังสืออนุญาตเข้าขบวนให้พระยาปลัดทองคำถือไปด้วย พระยาปลัดฯ ออกมาสั่ง ให้ทหารของตน ๕๐ คน แยกย้าย กันไปตามบ้านนอก ให้บอกแก่คนทั้งหลายที่พบเห็นว่าจะช่วยกันกู้อิสรภาพ ของเมืองเราเร็วๆ นี้ ให้คอยฟังข่าว และมา ร่วมมือกับคุณหญิงโม ส่วนตัวพระยาปลัดหาม้าได้ตัวหนึ่ง ก็รีบติดตามขบวนอพยพไปโดยด่วนฝ่ายคุณหญิงโม ได้วางแผนจะกอบกู้อิสรภาพไว้แล้ว ได้ลอบนัดแนะกันเป็นความลับ คือ

๑. ใช้เสน่ห์หญิงเข้าล่อให้พวก ลาวตายใจยอมผ่อนปรนต่างๆ

๒. ให้ขบวนหน้าเดินช้าลง พยายามอ้างความเจ็บป่วยบ้าง เกวียนหักซ่อมช้าบ้าง วัวหลุด วิ่งไล่จับไม่ทันบ้าง และให้ขบวนหลังๆ เดินเร็วขึ้นเพื่อรวมกำลังกันให้ได้

๓. สั่งทำเหล้าสาโทใส่เกวียนไว้จำนวนมาก

๔.ขอมีดพร้อจากทหารลาวเพื่อ ซ่อมเกวียน ตัดฟืน ทำอาหาร ทหารก็ยอมให้เพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย ครอบครัวไทย ก็ทำไม้หลาว ไม้แหลมซ่อนไว้ในมัดฟืน

วันที่ ๕ มีนาคม ๒๓๖๙ ขบวนอพยพที่ ๑ ขงคุณหญิงโมก็ไปถึงบ้านปราสาท และขบวนที่ ๒ กับที่ ๓ ก็มาทันกัน พอดี พระยาปลัดฯ ก็มาถึง ได้แสดงหนังสืออนุญาตของเจ้าอนุวงศ์ให้เพี้ยรามพิชัยดู แล้วเพี้ยรามพิชัยก็อนุญาต ให้เข้าอยู่ใน ขบวนอพยพของคุณหญิงโมได้ พอได้โอกาสก็วางแผนจะกอบกู้อิสรภาพที่ทุ่งสำริด ซึ่งเป็นทางเดิน ไปข้างหน้าอีก ๑ วัน อยู่ใกล้เมืองพิมายด้วย กะว่าขบวนอพยพจะมาถึงพร้อมกันทุกขบวน เป็นที่กว้างขวาง วางกำลังได้สะดวก

วันที่ ๖ มีนาคม ๒๓๖๙ ตรงกับวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีจอ ขบวนอพยพก็มาถึงทุ่งสำริด ขบวนที่ ๔ ของพระยา พรหมยกกระบัตรก็มาถึง จึงเข้ารวมกันทั้งหมด พอดีกับเหล้าสาโทที่ทำไว้ในเกวียนได้ที่ กำลังเหมาะ และระหว่าง เดินทางมา ครอบครับไทยกับทหารลาวก็สนิทสนมกันดีวางใจได้

ผู้ นำครอบครัวไทยแอบตกลงกันแล้ว ว่าจะกู้อิสรภาพที่นี้ คุณหญิงโมจึงพาหลานสาวสวยๆ ๕ คน เข้าไปหา เพี้ยรามพิชัยแม่กองควบคุมการกวาดต้อนครั้งนี้ แสดงความนอบน้อมและกล่าวว่าพวกครอบครัวเดินทางมา ๖ วันแล้ว ได้รับความเมตตากรุณาจากทหารลาวเป็นอย่างดี ไม่ได้ข่มเหงทำร้าย วันนี้พวกครอบครัวไทยจะขอ จัดเลี้ยงรื่นเริงให้เป็นที่สนุกสนาน จึงขอให้พักนอนกันที่นี้สักคืนหนึ่ง

พญา(เพี้ย)รามพิชัยเห็นคุณหญิง โมพูดจานอบน้อย และมีสาวๆ มาด้วยหลายก็ชอบใจ จึงอนุญาตให้พักที่ ทุ่งสำริดนี้ และอนุญาตให้จัดเลี้ยงรื่นเริงได้

พระณรงค์สงครามที่ปรึกษาฝ่ายทหารของไทย ก็วางแผนร่วมกับพระยาปลัดทองคำ และพระยาพรหม ยกกระบัตร แล้วก็สั่งการให้กองเกวียนของครอบครัวไทยทั้งหมด ๔ ขบวน วางรอบวงรวมกัน มีพื้นที่ว่าง เป็นวงกลมอยู่กลาง เปิดช่องทางไว้ ๓ ช่องทาง พวกครอบครัวไทยเข้าอยู่ภายใน ส่วนกองเกวียนของทหารลาว ตั้งเป็นหย่อมๆ อยู่ข้างนอกโดยรอบ มีทหารลายเป็นยามและเดินตรวจตราอยู่รอบนอก หัวหน้าครอบครัวไทย และผู้ใกล้ชิดก็ปรึกษาและวางแผนแบ่งงานกันตามแผนกู้อิสรภาพ

พวกที่ ๑ เป็นแม่ครัวพ่อครัว ทำอาหารรสดี มีทั้งกับแกล้ม และอาหารหลัก

พวก ที่ ๒ เป็นหญิง แต่งตัวสวยงาม จะนำอาหารกับแกล้มและเหล้าสาโทไปเลี้ยงดูทหารลาวตามกองเกวียน หย่อมต่างๆ พวกนี้ต้องเสียสละ ไม่หวงตัว ปรนเปรอทหารลาวให้หลงใหลเมามาย และเมื่อถึงเวลานัด จะเป็น ผู้ชี้นำว่าทหารลาวอยู่ที่ไหนบ้าง จะได้สังหารได้ง่าย

พวก ที่ ๓ หรือที่เหลือทั้งหมด แต่งกายชุดตะเบงมาน เอาผ้าพันหัวเหมือนกันหมดทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ให้ดู ไม่ออกว่าหญิงหรือชาย คล้ายเป็นเครื่องแบบอย่างหนึ่ง จะเป็นกำลังจู่โจมเมื่อถึงเวลานัดหมายจะยิงปืนขึ้น ให้ช่วยกันร้องว่า "กองทัพกรุงเทพมาแล้ว ๆ ๆ" (เพราะทหารลาวไม่กลัวพวกครอบครัวชาวนครราชสีมา แต่ กลัวกองทัพกรุงเทพฯ จะตามมาทันศึก ใหญ่ทุ่งสัมฤทธิ์

เย็นวันนั้นทุกอย่างก็เป็นไปตามแผน พวกสาวๆ แต่งตัวสวยงามนำสำรับกับข้าว เหล้าสาโทและกับแกล้มไปยัง ที่พักของทหารลาวโดยรอบ ทหารลาวต่างก็ยินดีที่ได้รับการเลี้ยงดูพิเศษ มีสาวๆ มาปรนนิบัติพัดวี และร่วม รับประทานอาหารด้วยกันจนอิ่มหนำสำราญ ทั้งเย้าหยอก กอดจูบก็ได้ไม่ขัดข้อง ยินดีตามใจทุกประการ

ฝ่ายนางบุญเหลือแต่งตัวสวยงามให้เป็นที่ต้องตาชาย เข้าไปหาเพี้ยรามพิชัยถึงในที่พักตั้งแต่เย็น มีคนรับใช้ นำสำรับกับข้าวอันโอชะประณีตตามไปส่ง พร้อมด้วยสาโทกับแกล้มไปเลี้ยงดูปรนเปรอเพี้ยรามพิชัยด้วยมายา หญิงทุกกระบวน และอ้อนวอนว่าขออย่าทอดทิ้งเสียกลางทางเลย ขอให้นำไปเลี้ยดูเป็นศรีภริยาในเวียงจันทน์ ด้วยเถิด จนเพี้ยรามพิชัยลุ่มหลง ถึงค่ำคืนแม้นางจะชอกช้ำระกำใจ เสียดายตัวเพียงใดก็สู้ทน นางได้หมายตา ดาบของเพี้ยรามพิชัยซึ่งวางไว้ข้างที่นอนจะต้องใช้เป็นดาบสังหารให้ได้ รอแต่โอกาส

ตกดึกก็เริ่มแผน ๒ เวลา ๗ ทุ่ม พระณรงค์สงครามกับทหารมีฝีมือจำนวนหนึ่งก็ลอบออกจากกองเกวียน ลอบฆ่าทหารยามของลาวที่อยู่โดยรอบตายหมดสิ้น ริบเอาปืนไฟมาได้หลายกระบอก แล้วแจกจ่ายปืนไฟไปยัง ทหารไทยจุดต่างๆ ให้กระจายออกไป แล้วทั้งทหารและครอบครัวซึ่งแต่งกายตะเบงมานเหมือนกัน ก็คืบคลาน เข้าไปรอใกล้กองเกวียนของทหารลาวโดยรอบ รอสัญญาณ

เวลา ๘ ทุ่ม (เวลา ๐๒.๐๐ น. ของวันที่ ๗ มีนาคม) ดวงจันทร์ลับลงทิวไม้ ความมืดสลัวปกคลุมทั่วไป ก็เริ่ม แผน ๓ พระณรงค์สงครามก็ให้ยิงปืนทุกกระบอก หลายทิศทาง ทุกคนก็โห่ร้องว่า "ทหารกรุงเทพฯมาแล้ว" ดังลั่นติดต่อกันไป ทุกคนก็ช่วยกันสังหารทหารลาวด้วยอาวุธที่มีจอบเสียม มีดพร้า แหลนหลาว ตามแต่จะหาได้ ด้วยความเคียดแค้น ทหารลาวเมื่อตอนหัวค่ำมีความสุขร่าเริงจากการเลี้ยงดู ร้องรำทำเพลงสนุกสนาน บัดนี้ ถูกฆ่ามากมาย กลายเป็นสมรภูมิเลือด ที่ยังมิทันถูกฆ่าพอได้ยินเสียงโห่ร้องว่า "ทหารกรุงเทพฯมาแล้ว" ก็ขวัญหายไม่เป็นอันสู้รบ หนีไปได้บ้าง ที่ถูกฆ่าตายมากกว่าพันคน

ส่วนเพี้ยรามพิชัยนายกองทหารลาว นางสาวบุญเหลือหมายตาจะใช้ดาบที่วางไว้ข้างที่นอน แต่ไม่มีโอกาส พอดี เสียงปืนและเสียงโห่ร้องของฝ่ายไทยทำให้เพี้ยรามพิชัยไหวตัวทันคว้าดาบจาก มือนางสาวบุญเหลือไว้ได้ นางสาวบุญเหลือไม่มีทางสู้จึงวิ่งหนี ผ่านกองไฟจึงจับดุ้นฟืนกวัดแกว่งป้องกันตัว พลางถอยเข้าไปใกล้เกวียน ดินระเบิด เพี้ยรามพิชัยเห็นนางจะเกิดอันตราย จึงตัดสินใจโดดคว้าเอวของนางจะดึงกลับออกมา ทันใดนั้น นางก็พุ่งดุ้นฟืนเข้าไปในเกวียน ดินปืนไวไฟก็ระเบิดขึ้นทันที

เพี้ย รามพิชัยก็ถูกระเบิดตายพร้อมกับนางสาวบุญเหลือตรงนั้นเอง

แสงไฟจากดิจระเบิดทำให้สนามรบสว่างขึ้น ครอบครัวไทยมีความแค้นล้นหัวใจทุกคน แค้นที่ต้องเสียบ้าน เสียเมือง บ้านแตกสาแหรกขาด เสียทรัพย์สินเงินทอง และบางคนยังต้องมาเสียตัวในคราวนี้ ทุกคนจึงไม่ เสียดายชีวิตอีกแล้ว เข้าห้ำหั่นทหารลาวตายเกลื่อน หนีรอดไปได้บ้าง

รุ่งขึ้น วันพุธ ที่ ๗ มีนาคม พอสว่าง คุณหญิงโมก็ไปกอดศพหลานสาวบุญเหลือร่ำไห้ เสียดายจิตใจอันกล้าหาญ เสียสละ มานะอดทน ด้วยความรักความผูกพันที่มีต่อกันมานานเสมือนลูกหลานในอก คุณหญิงโมกอดศพหลาน สาวบุญเหลือไว้แนบอก ร่ำไห้เป็นเวลานานจึงตัดสินใจยกย่องในความเสียสละของนาง ทำให้งานกู้อิสรภาพ ครั้งนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ แล้วคุณหญิงโมสั่งให้ช่วยกันเก็บศพนางสาวบุญเหลือ และคนไทยอื่นๆ ฝั่ง ทำเครื่องหมายไว้ เพื่อจะเก็บไปบำเพ็ญกุศลภายหลัง ส่วนศพทหารลาวเก็บไปทิ้งลงในหนองน้ำที่อยู่ใกล้ๆ (ได้ชื่อว่า "หนองหัวลาว" จนทุกวันนี้)




คู่หมั้นนางสาวบุญเหลือ

เมื่อจัดการบ้านเมืองพออยู่ได้แล้ว พระยาปลัดทองคำพระยาพรหม ยกกระบัตร พระณรงค์สงคราม และจางวางส่วยทองคำ จึงเข้าชื่อกันทำใบบอก เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เมืองนครราชสีมา มอบให้หลวงบุรินทร์ และขุนชนะไพรี เป็นนายกองม้า นำกำลังทหารม้า 30 ถือใบบอกไปวางยัง ศาลาเวรมหาดไทย เพื่อนำขึ้นกราบบังคมทูล ร.3 ให้ทรงทราบ ผู้นำชาวเมืองนครราชสีมา ปรึกษากัน เห็นว่ากองทัพเจ้าอนุวงศ์ล่าถอยไปแล้วนั้น จะไปที่ใดเราควรคิดติดตาม ได้โอกาสก็โจมตีเอาบ้าง อย่างน้อยก็เป็นการเกาะข้าศึก เพื่อคอยกองทัพจากกรุงเทพฯ ปรึกษาตกลงแล้ว จึงมอบให้ พระณรงค์สงคราม กับ หลวงพลอาสา นายด่านนครจันทึก นำกำลังทหาร 500 คน ยกไปพักแรม อยู่ที่ตำบลลำพี้ ใกล้หนองบัวลำพู คอยติดตาม ข่าวศึก (ทหารเหล่านี้เรียกจากนครจันทึก นางรอง บ้านตะคุ ด่านเกวียน ด่านกระโทก ด่านสะแกราช) กองทัพกรุงเทพฯ ออกศึก

กองทัพหลวงของไทยเคลื่อนกำลัง ไปอีก 250 เส้น ตีค่ายรักษาต้นทางที่บ้านนาด่านแตกก็ติดตามเข้าไปพบค่ายช่องเขาสาร ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่คับขัน ตรวจดูแล้วเป็นทางแคบไม่สามารถจะยกกำลังจำนวนมากเข้าไปได้ กำลังน้อยก็ไม่สามารถ เข้าตีได้จำเป็นจะต้องใช้วิธีเผา โดยจัดหน่วยกล้าตายเข้าบุกกลางคืน ขณะนั้น นายนรินทร์ภักดี ซึ่งเป็นคู่หมั้นของนางสาว บุญเหลือ และไปอยู่กรุงเทพฯ ได้เป็นนายกองเดินเท้า อาสามาใน กองทัพหลวงด้วยความเป็นห่วง เมื่อถึงนครราชสีมา แล้วก็ตื้นตันใจยิ่งนักสัญญาใจว่าจะต่อสู้ศัตรู โดยเต็มกำลังและแก้แค้นให้สุดที่รักจนได้ จึงได้ออกต่อสู้ในสนามรบทุกแห่ง เรื่อยมา บัดนี้ทราบ แผนการว่าจะต้องจู่โจมเข้าค่ายข้าศึกในเวลากลางคืน จึงขันอาสาทำงานนี้ตั้งใจว่าจะแก้แค้น ให้สำเร็จจนได้ (ตรงนี้ตามหนังสือ "ท้าวสุรนารี" ของพันตรีหลวงศรีโยธาและคณะ เขียนเล่าไว้) เมื่อแผนการเป็นที่ จึงให้ทหารบุกป่าปีนขึ้นไปทั้งสองฟากค่ายช่องเขาสาร แอบซุ่มอยู่จำนวนมาก เวลากลางคืนตกดึกก็ใช้ธนูไฟยิงเข้าไป ในค่ายลาว ทหารลาวอลหม่านดับไฟหลายแห่ง นายนรินทร์ ภักดี ได้โอกาสก็นำหน่วยกล้าตายปีนค่าย เข้าเปิดประตูค่าย ได้สำเร็จ กองทัพไทยก็เข้าตีในค่าย ทหารลาวตายมาก ที่ยอมจำนนก็มีที่หนีไปก็มี การแก้แค้นสำเร็จลงเมื่อ18 พฤษภาคม 2370 แต่นายนรินทร์ภักดีก็ต้องพลีชีวิตเพื่อชาติในที่รบนั้น

มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง ... ดวงวิญญาณย่าบุญเหลือยังคงอยู่คู่กับย่าโม เพื่อคอยปกป้องแผ่นดินสยาม ...
ขอทุกดวงวิญญาณโปรดน้อมรับกุศลที่ลูกหลาน ได้สวดบท มหาจักรพรรดิ์ และปรับภพภูมิให้สูงขึ้น รวมถึงดวงวิญญาณทหารลาวที่ถูกบังคับ และถูกเกณฑ์มาในครั้งกระนั้นด้วย ... สาธุ สาธุ สาธุ

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...