..เนื้องอกในมดลูก...

ปัจจุบันผู้หญิงจำนวนมากที่มีความผิดปกติของประจำ


เดือน การตรวจพบถุงน้ำ หรือเนื้องอกใน ระบบสืบพันธุ์


ของผู้หญิงมีมากขึ้นทุกวัน การไปตรวจสุขภาพ และตรวจ


ภายในจึงเป็นเรื่องหนึ่ง ที่คนรักสุขภาพควรคำนึงถึงเป็น


อันดับต้นๆ เมื่ออายุย่างเข้าเลข 3 ซึ่งก็ไม่ควรกังวลอะไร


มากเพราะหากพบความ ผิดปกติเกิดขึ้น และได้รับการ


รักษาแต่เนิ่นๆ โอกาสหายก็มีมาก สำหรับบางคน


ก้อนเนื้อที่ตรวจพบก็อาจจะ ไม่ใช่เนื้อร้าย..แต่ถ้าไม่ทำ


การรักษา อาจเป็นบ่อเกิดของโรคมะเร็ง

 

เนื้องอกมดลูก( fibroids หรือ myoma uteri)



เป็น ปัญหาที่พบได้บ่อยมาก และสามารถรักษาให้หายได้ เนื้องอกมดลูก


เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อของผนังมดลูก ที่เจริญมากกว่าปกติ จนกลาย


เป็นก้อนกลมอยู่ในผนังมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกชนิดนี้มักจะไม่


เป็นเนื้อร้าย และไม่ทำให้เกิดอันตรายอะไร


ตอนเริ่มแรกเนื้องอกมักมีขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่ว แล้วค่อยๆโตขึ้นช้าๆไป


เรื่อยๆ ตลอดช่วงวัยเจริญพันธุ์ บาง คนอาจไม่ต้อง รับการรักษาใดๆ


เพียงแต่คอยตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลง ของเนื้องอกให้สม่ำเสมอก็


เพียงพอ แต่บางคนก็จำเป็นต้องรับ การรักษาหากเนื้องอกโตมาก หรือ


ทำให้เกิด อาการผิดปกติ เนื้องอกมดลูกมักพบได้บ่อยในสมาชิกครอบ


ครัวเดียวกัน แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมผู้หญิงบางคน

 

เป็นเนื้องอกมดลูก ขณะที่บางคนไม่เป็น


อาการที่ชวนสงสัย:

คนที่มีเนื้องอกมดลูกบางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยก็ได้ แต่ เนื้อ


งอกที่โตอยู่ในมดลูกของคุณ อาจทำให้เกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ


ไปนี้ เช่น

  ประจำเดือนที่มากหรือนานหรือบ่อยผิดปกติ     ปัสสาวะลำบาก ท้องอืดหรือท้องผูก     รู้สึกปวดหรือหน่วงในท้องน้อย ปวดปัสสาวะบ่อยๆ     ปวดหลัง     ภาวะมีบุตรยาก

 

คนส่วนน้อยมากที่หากไม่ได้รับการตรวจพบว่ามีเนื้องอก


มดลูกแล้วเนื้องอกเจริญมากขึ้นจนทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง

 

เช่น กลายเป็นเนื้อร้าย


รักษาได้หลากหลายวิธี:


เนื้องอกมดลูกในแต่ละคนไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเดียวกันการเลือกวิธี


การรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ จำนวน, ขนาด,ตำแหน่ง และความเร็วใน


การโตของเนื้องอก และยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาด้วย ปัจจุบัน


มีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ซึ่งคุณหมอจะให้คำปรึกษาแนะนำวิธีที่


เหมาะสม ที่สุดสำหรับคุณได้ หลังจากที่ได้ตรวจอย่างละเอียดแล้ว


ตรวจอะไรกันบ้าง


ในขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย คุณหมอจะถามประวัติอาการของคุณและ


ตรวจภายในด้วย นอกจากนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี


การอื่นๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดและตำแหน่งของก้อน


เนื้องอกมดลูก ที่มีอยู่


การตรวจภายใน


จะบอกได้ถึงรูปร่างลักษณะ, ขนาดโดยรวม, ความเรียบของผิวนอก รวม


ทั้งอาการเจ็บปวดของมดลูกได้ หากคุณมีปัญหาเลือดออกผิดปกติด้วย


คุณหมอก็จะตรวจดูผนังช่องคลอดและปากมดลูกว่ามีการอักเสบติดเชื้อ


หรือรอยแผลหรือไม่ และคุณหมอจะทำการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก


ที่เรียกว่า Pap smear ไปในคราวเดียวกันด้วย และเนื่องจากก้อนเนื้อ


งอกมดลูกอาจซ่อนอยู่ในผนังด้านหลังของมดลูกได้  ดังนั้นคุณหมออาจ


ต้องตรวจทางทวารหนักด้วยก็ได้นอกจากนี้การตรวจอื่นๆ ที่ใช้กันบ่อย


คือ การตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวนด์


(Ultrasound) สามารถทำได้เร็ว ง่าย และไม่เจ็บปวด ส่วนการส่องกล้อง


ตรวจเข้าในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) และการส่องกล้องตรวจทาง


หน้าท้อง (Laparoscopy) จะต้องใช้เครื่องมือผ่านเข้าไปในร่างกาย


เพื่อตรวจ หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น  ก็ไม่ต้องตกใจ คุณกับคุณ


หมอควรจะปรึกษาร่วมกันในการเลือกทางรักษา โดยทั่วไปถ้าหมอแน่ใจ


ว่าไม่ใช่เนื้อร้ายจะแนะนำให้เฝ้าติดตามเนื้องอกไป เรื่อยๆ ก่อน, ในบาง


รายอาจพิจารณาให้ตัดก้อนเนื้องอกออก หรือตัดเอาตัวมดลูกออกไป


เลย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของคุณขนาด และผลกระทบของ


ก้อนเนื้องอก รวมทั้งความเร็วที่เนื้องอกโตมากขึ้น ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจ


ตัดมดลูกออก คุณจะต้องคำนึงถึงโอกาส และความต้องการมีบุตรใน


อนาคตของคุณเองด้วย แต่ที่แน่ๆ ไม่ว่าจะเลือกวิธีใดรักษา


ต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสียให้ดีถี่ถ้วนเสียก่อน



ติดตามความเปลี่ยนแปลงของเนื้องอกไปก่อน

โดยการตรวจภายในหรืออัลตร้าซาวนด์เป็นระยะๆ สม่ำเสมอ วิธีนี้จะ


เหมาะในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดเล็ก หรืออายุคุณใกล้จะถึงวัยหมดประจำ


เดือน เพราะในช่วงวัยหมดประจำเดือนนั้น เนื้องอกมักจะเล็กลงได้เอง


เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเจริญของ


เนื้องอกนั้นมีระดับลดลง หากคุณใช้ยาฮอร์โมนอยู่ ต้องเฝ้าติดตามเนื้อ


งอกอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ

9 ก.ค. 55 เวลา 18:46 7,294 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...