รถไทยประดิษฐ์ VS โมเดิร์นคาร์

 

รถไทยประดิษฐ์ VS โมเดิร์นคาร์
       

เรามาดูความเหมือนที่แตกต่างกันระหว่างรถไทยประดิษฐ์ VS โมเดิร์นคาร์ มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ที่รถไทยประดิษฐ์ส่วนใหญ่จะมีล้อหน้าหนึ่งล้อและมี ล้อหลังสองล้อซึ่งสลับกันกับรถสมัยใหม่ แล้วจะรู้ว่า คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก…

 

ซาเล้ง หรือ สามล้อแดง เป็นรถ สามล้ออีกประเภทหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใช้ส่งสินค้า ที่มีน้ำหนักไม่มาก และระยะทางไม่ไกลนัก ลักษณะเป็นสามล้อถีบผู้ขับขี่อยู่ด้านหลัง กระบะบรรทุก เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ได้มีการนำเครื่องยนต์ขนาดเล็กมาดัดแปลงติดกับซาเล้ง วิ่งรับจ้างโดยสารตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ

 

สามล้อถีบ พ.ศ. 2476 รถสามล้อถือกำเนิดเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา โดย นาวาเอก เลื่อน พงษ์โสภณ นำ “รถลาก” หรือ “รถเจ๊ก” มาดัดแปลงร่วมกับรถจักรยาน รถสามล้อแบบนี้ ถือเป็นต้นแบบรถสามล้อที่ใช้รับส่งผู้โดยสาร แพร่หลายไปทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน

 

 

สกายแล็บ หรือ สามล้อเครื่องอีสาน ซึ่งเป็นรถที่นิยมใช้กันอย่างมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2522 เป็นปีเดียวกับยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า “สกายแล็บ” เสร็จสิ้นภารกิจและกลับคืนสู่ผิวโลก คนไทยในขณะนั้นได้ประดิษฐ์สามล้อขึ้น และเรียกชื่อตามสมัยนิยมว่า “สามล้อสกายแล็บ” โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัอุดรธานี แล้วแพร่หลายกระจายไปในทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

ซุปเปอร์สามล้อ ในยุคที่เครื่อง ยนต์รถยนต์ใช้แล้วราคาถูกจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาแทบล้นตลาด ตามที่รู้จักกัน “เครื่องเก่าเชียงกง” นักประดิษฐ์ไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออกก็นำเครื่องรถยนต์เหล่านี้ไปดัดแปลง ออกแบบติดตั้งใน รถสามล้อเครื่อง เพื่อเพิ่มสมรรถนะทั้งในด้าน กำลังเครื่องยนต์ มากกว่า 700 CC ความเร็ว สะดวกด้วยความกว้างของที่นั่งโดยสารและพื้นที่สำหรับบรรทุกสิ่งของ

 

 

รถตุ๊ก ตุ๊ก มีกำเนิดมาจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลงเป็นรถนั่งโดยสาร เมื่อปี 2503 เพื่อทดแทนรถสามล้อถีบซึ่งถูกห้ามวิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันประเทศไทย สามารถผลิตได้เอง และยังส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศในนาม “TUK-TUK” สามล้อตุ๊ก-ตุ๊ก มีบริการทั่วไปทุกจังหวัด และเป็นที่นิยม อย่างยิ่งของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

 

 

การเดินทางหลากหลาย มีหลากหลายพาหนะที่นำไปสู่จุดหมาย ” สามล้อ ” ก็เป็นวิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อก็ยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในสังคมไทย เป็นภาพลักษณ์ของความภาคภูมิใจในความสามารถ แห่งการประดิษฐ์ของคนไทยที่นำไปประยุกต์เข้ากับการประกอบสัมมาชีพได้ อย่างกลมกลืน

23 ก.พ. 55 เวลา 08:00 6,338 9 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...