ปลาสวยงาม ตอนที่1

ปลาสวยงาม  ตอนที่1

 

ปลาหมอสี

 

 ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่มาจากทะเลสาบ ทังกันยิกา ทะเลสาบมาลาวีและทะเลสาบวิกตอเรีย รูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอไทย แต่มีสีสันหลากหลายสวยงามยิ่งนัก ตามตำราระบุว่าปลาหมอชนิดนี้เป็นลัตว์น้ำเค็ม แต่เมื่อประมาณ 11-30 ล้านปีได้เกิดการแตกแยกของผิวโลก กลายเป็นทะเลสาบ ปลาทะเลนานาชนิดไถเข้าไปอยู่อาศัย โดยเฉพาะปลาหมอสีได้วิวัฒนาการมาตลอดจนมีจำนวนสกุลและชนิดมาก ดังนั้นรูปร่างและพฤติกรรมก็แตกต่างกันหลายรูปแบบด้วย

 ปัจจุบันนี้ปลาหมอสีได้ถูกมนุษย์จับมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และพัฒนาพันธุ์มากมายหลายชนิด ซึ่งประเทศไทยก็มิน้อยหน้าประเทศใด ๆ เลย เพราะว่ามีผู้เลี้ยงปลาสวยงามจำนวนมากนิยมนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงพร้อมกับพัฒนาพันธุ์ ผลิตลูกพันธุ์ขายให้กับผู้สนใจทั้งในและนอกประเทศ ทำเงินเข้าประเทศปีละนับสิบ ๆ ล้านบาท เช่นปลาในสกุล (Genus Nimbochromis), Genus Protomelas, Genus Aulonocara, Genus Aristochromis, Genus Copadichromis, Genus Geophagus และ Labeotropheus

 Aristochromis

 Aulonocara

 Copadichromis

 Geophagas

 Labeotropheus

 Nimbochromis

 Protomelas

 

1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้

2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้

3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้

4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี

5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้

6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก

7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ

 

 

การเพาะพันธุ์เราควรจะคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เสียก่อน ปลาหมอสีตัวผู้กับตัวเมียหากจะดูตามลักษณะของอวัยวะเพศนั้นค่อนข้างยาก แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าจะสังเกตเห็นว่าปลาหมอสีบางพันธุ์ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย และบางพันธุ์ตัวผู้จะมีสีสด ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่า พ่อแม่พันธุ์ที่ดีต้องเป็นปลาที่สมบูรณ์ ว่ายน้ำว่องไว ปราดเปรียว ที่สำคัญต้องเป็นปลาที่ไม่ผ่านการเร่งหรือย้อมสี มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

สถานที่ที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาหมอสีควรใช้ตู้กระจกขนาด 36 นิ้ว เพราะสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแม่ปลาได้ง่าย ทาสีตู้ทั้ง 3 ด้าน เพื่อป้องกันปลาตื่นตกใจ เมื่อเตรียมพ่อแม่พันธุ์และสถานที่เรียบร้อยแล้ว จึงปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตราส่วน พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 5 ตัว ซึ่งตู้ขนาด 36 นิ้ว สามารถปล่อยพ่อพันธุ์ได้ 3 ตัว และ แม่พันธุ์ได้ถึง 15 ตัว โดยตัวผู้จะไล่จัดคู่กับตัวเมียเอง

การผสมพันธุ์นั่นเมื่อตัวเมียเริ่มวางไข่ตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ และเนื่องจากปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาที่อมไข่ เมื่อตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อเสร็จปลาตัวเมียก็จะอมไข่ไว้และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนไข่หมด ซึ่งปลาหมอสีจะอมไข่ได้ครั้งละประมาณ 30-40 ฟอง จากนั้นตัวผู้จะไปผสมพันธุ์กับตัวอื่นต่อไป มีปลาหมอสีบางชนิดที่วางไข่กับพื้นโดยไม่อมไข่ไว้เหมือนกันแต่พบได้น้อยมาก

ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วแม่ปลาจะอมไว้ในปาก ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่าใต้คางของแม่ปลาจะอูมออกมาชัดเจน เหงือกจะอ้าออกเพื่อให้น้ำไหลผ่านในช่องปากตลอดเวลา เมื่อครบ 15 วัน ลูกปลาจะเริ่มฟักเป็นตัวระยะนี้เราสามารถนำแม่ปลามาเปิดปากเพื่อนำลูกปลาออกมาแล้วนำไปอนุบาลต่อไป การเปิดปากแม่ปลาควรทำด้วยความรวดเร็วและระมัดระวังมิเช่นนั้นแม่ปลาอาจเกิดการบาดเจ็บได้

ปลาคาร์พ

ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp) หรือที่เรียกกันว่าปลาไนแฟนซี ปลาไนสี หรือปลาไนทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มปลาตะเพียน (carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โคย (Koi) หรือนิชิกิกอย (Nishikigoi) เดิมทีเป็นปลาไนชนิดธรรมดา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่พบอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก บริเวณที่ถือว่าเป็นแหล่งดั้งเดิมจริง ๆ ของปลาไนคือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ชาวจีนเป็นชนกลุ่มแรกที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาไนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศญี่ปุ่น ตามหลักฐานตามประวัติศาสตร์ชิ้นแรกที่มีอยู่เกี่ยวกับ Koi นั้นได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณสองร้อยปีหลังคริสต์ศตวรรษ หลักฐานดังกล่าวได้เล่าถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ปลาเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้สำหรับดูเล่น

สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ป ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็มีผู้สั่งปลาเข้ามาเลี้ยงกันมากมายในราคาที่ค่อนข้างสูงได้มีการศึกษาและทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จ ยังผลให้การสั่งเข้าปลาแฟนซีคาร์ปลดลง และปลาในประเทศที่มีคุณภาพดีได้รับความนิยมมากขึ้นจนแพร่หลายดังเช่นปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์ปจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ปสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่

 Kohaku

 Taisho Sanshoku

 Showa Sanshoku

 Bekko

 Utsurimono

 Asagi

 Shusui

 Koromo

 Goshiki

 Hikari muji mono

 Hikari moyomono

 Hikari Utsurimono

 Tancho

 Kawarimono

1. สถานที่เลี้ยง ควรอยู่ในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดทั้งวัน เพราะอาจจะมีสาหร่ายเกิดขึ้น ทำให้น้ำขุ่น ควรรับแดดในตอนเช้า นอกจากนี้ควรอยู่ห่างไกลจากยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลง รวมทั้งยาฆ่าปลวก บ่อกรองไม่ควรอยู่ติดกับบ้าน เพราะอาจจะมีเสียงดังรบกวนจากมอเตอร์ปั้มน้ำ และปั้มลม

2. คุณภาพน้ำ ควรเหมาะสมสำหรับปลาคาร์พ เช่น ควรมีค่าออกซิเจนในน้ำมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร พีเอชอยู่ในช่วงระหว่าง 7 - 7.5 ไม่มีแก๊ซพิษเช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ ควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ และควรทำความสะอาดบ่อกรองบ่อย ๆ เพราะธรรมชาติของปลาถ้าคุณภาพน้ำดี จะโตเร็วและมีสุขภาพแข็งแรง

3. สายพันธุ์ปลา ควรเลือกซื้อปลาคาร์พจากฟาร์มที่มีการจัดการที่ดี มีสายพันธุ์ที่เชื่อถือได้กล่าวคือ มีใบรับรองการปลอดโรคติดต่อร้ายแรง โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เมื่อได้ปลาใหญ่มาแล้ว ไม่ควรนำไปปนกับปลาเก่าทันที ควรกักไว้ดูอาการอย่างน้อย 4 อาทิตย์ ไม่ควรเลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป ความหนาแน่นที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วงประมาณ 2 - 3 ตัวต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาด้วย ปลาตัวเมียที่ถึงฤดูวางไข่ และมีท้องขยายใหญ่ น่าจะแยกให้วางไข่ โดยนำไปใส่ในบ่อใหม่พร้อมกับปลาตัวผู้ เพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์ และวางไข่ ป้องกันการเกิดเนื้องอกของรังไข่ที่ชื่อว่าโรค "โชมัน"

4. อาหารและการให้อาหารปลาคาร์พ เนื่องจากปลาคาร์พเป็นปลากินพืช โปรตีนที่ใช้ควรมาจากพืช ควรใช้อาหารเม็ดลอยน้ำที่มีคุณภาพ มีใบรับรองการผลิตที่ถูกต้องจากหน่วยงานของรัฐ การผลิตอาหารเม็ดลอยน้ำ วัตถุดิบทุกชนิดต้องผ่านความร้อน เพื่อให้อาหารสุก จะได้ทำเป็นเม็ดพองลอยน้ำได้ง่าย แต่ขบวนการดังกล่าว จะทำให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสลายไป ทำให้ปลาได้รับอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ มีผลทำให้ปลาอ่อนแอ เติบโตช้า มีอาการป่วยและติดเชื้อโรคได้ง่าย ทางแก้ไขที่ดี ควรเสริมวิตามินสำหรับปลาคาร์พในอาหารก่อนให้ปลากิน

5. การควบคุมป้องกันและรักษาโรค การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด กล่าวคือ ควรเลือกซื้อปลาที่มีสุขภาพแข็งแรง น้ำมีคุณภาพดี อาหารมีส่วนประกอบครบถ้วน โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุควรให้มีเพียงพอ สาเหตุของโรคในปลาคาร์พส่วนใหญ่เกิดจาก คุณภาพอาหารไม่เหมาะสม เช่น ขาดวิตามิน หรือมีสารพิษในอาหาร เช่น อัลฟ่าท็อกซิน รวมตลอดทั้งคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะของโรคที่เรียกว่า โรคไม่ติดเชื้อ ส่วนโรคติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส หนอนสมอ เห็บปลา ซึ่งจำเป็นจะต้องตรวจและใช้ยาฆ่าพยาธิ สำหรับเชื้อแบคทีเรียก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ โดยเฉพาะเชื้อแอโรโมแนส ไฮโดรฟิลล่า (Aeromonas hydrophilla) เชื้อซูโดโมแนส (Pseudomonas) เชื้อไมโครแบคทีเรียม โดยจะทำให้ปลามีอาการเบื่ออาหาร ตกเลือด เกล็ดพอง เหงือกอักเสบ ครีบฉีกขาด และบางรายมีอาการท้องบวม การแก้ไขควรให้กินยาปฏิชีวนะ หรือเอายาใส่น้ำ นอกจากนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปลาคาร์พตายทีละมาก ๆ ก็คือ เชื้อไวรัส เช่น กรณีโรคเคเอชวี (KHV = Koi Herpes Virus) โรคสปริงไวรีเมีย (SPV = Spring Viremia of Carp)

จะเห็นว่า การเลี้ยงปลาคาร์พให้สมบูรณ์ จะต้องมีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสม เพื่อให้การเลี้ยงปลาดำเนินไปด้วยดี บรรลุตามวัตถุประสงค์ สามารถผลิตลูกปลาออกจำหน่าย หรือคัดไว้เลี้ยงเอง อันจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพบว่า ปลาแสดงอาการป่วย ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ อย่าปล่อยให้ปลาตายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อจะได้เป็นลู่ทางในการป้องกันโรคต่อไป

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

จำเป็นต้องทราบว่าปลาแฟนซีคาร์ปมีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างไร กล่าวคือโดยทั่วไปปลาเพศเมียจะมีความกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้ บริเวณส่วนท้องจะใหญ่ นิ่ม ช่วงหัวจะกลมและป้านกว่าเพศผู้ ในฤดูสืบพันธุ์ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่สมบูรณ์ จะมีส่วนท้องขยายกว้างใหญ่ออกจนถึงเกือบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อจับหงายท้องดูที่ช่องเพศจะสังเกตเห็นช่องเพศใหญ่และนูนออกเป็นรูปกลม ส่วนปลาเพศผู้ช่

#ปลา
moolove2538
เด็กกองถ่าย
14 มี.ค. 54 เวลา 20:26 2,521
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...