ไครที่ "โหลดบิต" งานเข้าแล้ว!!!!

เมื่อ ICT สั่งติด Sniffer ทุกคนที่ใช้ internet

ไอซีทียันดักข้อมูลชาวเน็ตไทยไม่ละเมิด "ประเทศไหนๆก็ติด Sniffer"

        หัวหน้าคณะทำงานปราบคอนเทนท์เถื่อนบนอินเทอร์เน็ตในสังกัดไอซีทียืนยันชัดเจน การติดตั้งระบบดักจับข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือ Sniffer ที่ไอเอสพีหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นเป็นการช่วยป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้ผล แจงกลุ่มนักท่องเน็ตชาวไทยผู้ต่อต้าน Sniffer ว่าการติด Sniffer เป็นเรื่องสากลที่ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯก็ทำ ย้ำว่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือยังต้องมีการดักเก็บข้อมูลการใช้งาน การดักเก็บข้อมูลผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีขนาดใหญ่กว่าจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ

Sniffer คือโปรแกรมดักจับข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่คณะทำงานโครงการนี้มีมติเสนอให้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการบริการอินเทอร์เน็ต ว่าต้องติดตั้ง Sniffer ไว้ที่เกตเวย์เพื่อใช้ดักอ่านข้อมูลที่วิ่งไปมาบนระบบ (Traffic) เท่ากับไอซีทีต้องการบังคับให้ไอเอสพีทุกค่ายดักเก็บข้อมูลผู้ใช้ทุกคน เพื่อตรวจว่าลูกค้ารายใดใช้งานคอนเทนท์เถื่อนผิดลิขสิทธิ์จากแหล่งใด

จุดประสงค์ของไอซีทีคือต้องการปราบปรามการเผยแพร่คอนเทนท์เถื่อนผิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต เช่น เพลง โปรแกรม ภาพยนตร์ ฯลฯ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความกังวลว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยกำลังจะถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัว ขณะที่ต้นทุนของผู้ประกอบการเกตเวย์ (ISP : Internet Service Provider) ก็จะสูงขึ้นและอาจเป็นภาระกลับไปยังผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงขึ้น ที่สำคัญ หากข้อมูลที่ดักเก็บไว้ถูกนำไปใช้ในทางไม่ชอบ ก็จะมีผลเสียหายตามมา โดยทั้ง 3 ข้อนี้เป็นความกังวลซึ่งปรเมศวร์ มินศิริ เว็บมาสเตอร์กระปุกดอทคอมโพสต์ไว้บนเว็บบอร์ด thaifollow.com

ทันทีที่ข่าวนโยบายติดตั้ง Sniffer แพร่กระจายไป ชาวอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยพากันจับกลุ่มวิจารณ์และไม่เห็นด้วย กระทั่งล่าสุด มีการจัดตั้งกลุ่ม thainosniff ขึ้นมา เรียกร้องไม่ให้ภาครัฐทำการดักจับข้อมูลด้วย Sniffer

มั่นใจแก้รัดกุมที่ต้นเหตุ นายอาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประธานคณะทำงานกำกับดูแลและเฝ้าระวังการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยลุกขึ้นมาแสดงความเห็นต่อต้าน Sniffer ว่า การติดตั้ง Sniffer เป็นการช่วยป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ต้นเหตุ แถมยังสามารถคัดกรองเว็บไซต์เหมาะสมทุกประเภท ต่างจากพ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่สามารถเอาผิดได้เมื่อมีคดีความเกิดขึ้นเท่านั้น ถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

"สำหรับกรณีที่หลายภาคส่วนเป็นห่วงว่าการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงด้วย แต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนถนนสาธารณะที่จะต้องมีการเฝ้าระวัง ไม่ให้มีการใช้เพื่อดำเนินการผิดกฎหมาย"

อาจินระบุว่าข้อมูลที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีจำนวนมหาศาล เป็นไปได้ยากที่ไอเอสพีจะเฝ้าดูข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าทุกราย ประกอบกับไอซีทีจะมีเกณฑ์ข้อมูลที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ส่งไปยัง ISP แต่ละรายแบบอัตโนมัติ ซึ่งผู้ประกอบการ ISP จะต้องคัดเฉพาะข้อมูลที่เข้าข่ายเท่านั้นมาพิจารณา และหาก ISP รายใดนำข้อมูลส่วนตัวลูกค้าไปใช้ประโยชน์ก็จะถูกดำเนินการทางกฎหมายทันที

“เราจะให้ ISP คัดกรองข้อมูลที่น่าสงสัย สมมุติมีปริมาณการเข้าใช้เว็บไซต์เพลงเว็บไซต์หนึ่งจำนวนมากผิดปกติ เราก็ต้องตรวจเช็คว่าเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ในรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงหรือไม่ อย่างไรก็ดี การเฝ้าระวังทราฟิกที่น่าสงสัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการเฝ้าระวังที่ต้นเหตุ ดีกว่ารอให้เกิดคดีแล้วค่อยไปไล่ตรวจจับ ประกอบกับอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้อยู่ทั่วไปในระดับสากล เพราะในต่างประเทศให้ความสำคัญกับการดักจับข้อมูลไม่เหมาะสม เช่นในอเมริกา ก็มีการร่างกฎหมายดักจับข้อมูลขึ้นมาโดยเฉพาะ”

อย่างไรก็ดี การติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวดังกล่าวยอมรับว่าเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการ ISP ต้องรับภาระเอง แต่การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบหลีกเลี่ยงที่จะให้ความร่วมมือ ไอซีทีจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในฐานะผู้กำกับดูแลสั่งการให้ ISP ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว

"สำหรับกลุ่มผู้คัดค้านก็ต้องถามกลับไปว่าพวกเขาคัดค้านอะไร กรณีการดำเนินการของรัฐบาลครั้งนี้ต้องการสร้างความสงบสุขบนสังคมอินเทอร์เน็ต และเป็นเกราะป้องกันเยาวชนให้พ้นจากภัยที่มากับอินเทอร์เน็ต การทำหน้าที่ของรัฐครั้งนี้เปรียบเสมือนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง คนที่ผ่านไปมาต้องยอมเสียความเป็นส่วนตัวบ้างเพื่อความปลอดภัย ความสงบสุขของประเทศ และการเฝ้าระวังการใช้งานบนเครือข่ายนี้ก็ดูแลโดยรัฐนั้นคือไอซีที ซึ่งการันตรีว่าจะไม่มีการละเมิดข้อมูลส่วนของประชาชนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแน่นอน"

ทั้งนี้ นอกจากการขอความร่วมมือกทช. ไอซีที ได้ดำเนินการส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความว่า การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเฝ้าระวังการละเมิดลิขสิทธิ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก่อนเกิดคดีความ นั้นสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และยังได้ดำเนินการแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับเรื่องดังกล่าวไปพร้อมกันด้วย

กระแสค้านก่อตัว ไอซีทียันดักข้อมูลชาวเน็ตไทยไม่ละเมิด "ประเทศไหนๆก็ติด Sniffer"

คณะทำงานโครงการปราบปรามคอนเทนท์เถื่อนผิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยตัวแทนจาก 5 ส่วน ได้แก่ กระทรวงไอซีที กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ขณะนี้แผนการใช้ Sniffer เป็นเครื่องมือปราบปรามนั้นยังค้างอยู่ที่ กทช. ซึ่งยังไม่มีกำหนดการผ่านพิจารณาที่ชัดเจน

ระหว่างที่เรื่องยังไม่ชัดเจน ชาวอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยออกมาคัดค้านเรื่องนี้ด้วยการติดป้าย #thainosniff บนทวิตเตอร์ (Twiiter) และมีการใช้ชื่อ thainosniff เป็นชื่อกลุ่มในเว็บเครือข่ายสังคมเฟสบุ๊ก (Facebook) ลักษณะเดียวกับ #welovetheking ซึ่งชาวทวิตเตอร์ติดป้ายเพื่อบ่งบอกว่าเป็นกลุ่มเทิดพระเกียรติในหลวง ยังไม่มีมีแถลงการณ์ออกมาอย่างเป็นทางการในขณะนี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้ง Sniffer นั้นเป็นวิธีการปราบปรามคอนเทนท์เถื่อนบนอินเทอร์เน็ตที่ได้ผลจริง โดยเฉพาะการปราบ"ขบวนการโหลดบิต"ชุมชนนักแลกเปลี่ยนข้อมูลคอนเทนท์เถื่อนขนาดใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบอย่างแรงหากมีการติดตั้ง Sniffer ในอนาคต แต่การหักดิบด้วยการดักข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนในประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ชาวเน็ตถือว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่ยากจะยอมรับได้ จนมีบางรายเปรียบเทียบว่าการติด Sniffer ไม่ต่างอะไรกับการติดกล้องวงจรปิดในห้องน้ำ พร้อมประนามว่าโครงการนี้จะทำให้ไอซีทีกลายเป็นถ้ำมอง ซึ่งเชื่อขนมกินได้เลยว่า การพิจารณาเพื่อหาทางเดินที่ดีที่สุดของเรื่องนี้จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าทุกอย่างจะลงตัว

ความคิดเห็นผม ผมว่าการติด Sniffer นี้เหมือนกับเปิดทางให้แฮ็กเกอร์ล้วงข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ ไม่ต้องทำอะไรมากมายเลย เพราะเรื่องนี้ก็เคยมีปัญหาในหลายประเทศที่ใช้ Sniffer อยู่แล้วและก็เลิกใช้มาทำ Log ไฟล์แทน เพราะเหตุผลหนึ่งคือ Sniffer สามารถบักทึกได้ทุกอยู่แม้กระทั้งระหัดบัตรเครดิดที่กรอกลงไปในแต่ละเว็บซึ่งเท่ากับเป็นการล้วงข้อมูล ที่ไม่ต่างอะไรกับมี ตร.มานั่งเฝ้าถึงในห้องน้ำเลย แล้วแบบนี้ ICT จะอ้างว่าไม่ละเมิดมันเป็นไปได้หรือ ?

ซึ่งผมเองก็ไม่เข้าใจ ถ้าICTสั่งทำ Log ไฟล์แล้ว ยังจะมาทำ Sniffer เพื่อล้วงข้อมูลกันแบบนี้ไปเพื่ออะไร

ปล. ข่าวเก่าครับเอามาโพสสำหรับคนที่ยังไม่รู้    แต่สบายใจได้ มานได้ถูกยกเลิกไปแว้วววว ^_^

#ไครที่ #โหลดบิต
motiles
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
21 ก.ย. 53 เวลา 21:50 12,007 79 548
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...