จังหวัดใหม่ จ.ที่ 77 ของประเทศไทย

มหาดไทย  เตรียมชง ครม. ยกระดับ อ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77


นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์  รมช.มหาดไทย ชี้แจงระหว่างการตอบกระทู้สดในสภาเรื่องการตั้งจังหวัดบึงพระกาฬ ว่า การเสนอตั้งจังหวัดบึงพระกาฬขณะนี้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดแล้ว  ในขณะที่ อีก 3 จังหวัดใหม่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ จ.แม่สอด ที่จะแยกมาจาก จ.ตาก    จ.พระนารายณ์ที่จะแยกมาจาก จ.ลพบุรี   จ.ฝางที่จะแยกมาจากจ.เชียงใหม่   ดังนั้นในส่วนของ จ.บึงกาฬ อยู่ในกระบวนการที่จะนำเข้าเสนอต่อที่ประชุมครม. นอกจากนี้ ยังจะมีการสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องเงิน  บุคลากร คือ สำนักงบประมาณ  และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และเมื่อครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบก็ต้องส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลจะผลักดันตามกฎหมายให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ สำหรับหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ นั้นต้องเป็นไปตามมติครม. เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2524 คือ 1.ต้องมีไม่น้อยกว่า 8 อำเภอ  2. มีประชากรไม่น้อยกว่า 3 แสนคน  3. หน่วยงานราชการที่จะมาเป็นจังหวัดใหม่มีความพร้อมหรือไม่  โดยจ.หนองคาย  มีพื้นที่ 17 อำเภอ  ซึ่งมีการร้องจัดตั้งจ.บึงกาฬ  จะมีการดึงออกมาจากจ.หนองคาย  8 อำเภอ ได้แก่ อ.บึงกาฬ  อ.ปากคาด อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.เซกา อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล    อำเภอบุ่งคล้า รวมประชากรทั้งหมด 3.9 แสนคน อย่างไรก็ตาม สำหรับความพร้อมของหน่วยงานราชการนั้น ที่ อ.บึงกาฬ มีพื้นที่ 791 ตารางกิโลเมตร ประชากรกว่า 80,000คน ซึ่งตอนนี้มีทั้งศาลจังหวัด  อัยการจังหวัด   เรือนจำ  คลังอำเภอ และสาธารณูปโภคอื่นๆ ไฟฟ้า  ประปา  และที่สำคัญคือถ้าจะตั้งจังหวัดแผนงานงบประมาณเพียงพอหรือไม่  โดยที่อ.บึงกาฬ มีที่ดินเพียงพอในการสามารถสร้างศาลกลางจังหวัดได้ ไม่ต้องไปซื้อที่ดิน รมช.มหาดไทย กล่าวว่า  สาระสำคัญที่สุดคือประชาชนในพื้นที่เห็นชอบที่จะตั้งจังหวัดใหม่หรือไม่  ซึ่งจากการสำรวจประชากรทั้ง  17 อำเภอ ในจ.หนองคาย ปรากฏว่า มีประชาชนเห็นด้วย 98.83%   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง126 แห่ง เห็นด้วย 96%  หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เและระดับจังหวัด เห็นด้วย 100% ด้าน นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ    สส.สัดส่วน  พรรคกิจสังคม ผู้กระทู้ถามสด เรื่อง การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยระบุว่า อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ถือว่ามีความพร้อมที่จะจัดตั้งเป็นจังหวัดได้  ท้ังการมีหน่วยงานราชการสำคัญๆ   ศาล   เรือนจำ   รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ก็เห็นด้วย จึงอยากทราบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ และความคืบหน้า

 

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 และผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งจึงจะมีผลโดยสมบูรณ์

การร้องขอจัดตั้งถูกขอตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย

จังหวัดบึงกาฬที่เสนอให้จัดตั้งมีพื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. [1] จากการสำรวจความเห็นของประชาชน จำนวน 366,903 คน ปรากฏว่าประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 98.83 หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ จะมีประชากรประมาณ 390,000 คน ประกอบด้วย 8 อำเภอ



***  เมื่อปี พ.ศ. 2537 กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งผลการพิจารณาว่ายังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี


ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ  ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

 


 

4 ส.ค. 53 เวลา 17:52 4,783 13 176
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...