โทษประหารของญี่ปุ่น

การ ประหารชีวิตเป็นเรื่องน่ากลัวและสยดสยองของมนุษย์มาแต่โบราณกาล ในปัจจุบันความคิดในเรื่องการมีโทษประหารของแต่ละประเทศแตกต่างกัน หลายประเทศได้ประกาศยกเลิก หรือไม่นำมาปฏิบัติ บางประเทศก็ยังประหารชีวิตนักโทษอย่างเมามัน ประเทศหนึ่งที่ลึกลับในเรื่องนี้เอามากๆ ก็คือ ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ลึกลับมากในเรื่องการประหารชีวิต ถึงแม้จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ยังมีโทษประหารเหมือนสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเกือบทั้งหมดไม่มีโทษประหาร ประเทศเหล่านี้ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกือบทั้งหมดของยุโรป (EU มีเงื่อนไขบังคับว่าประเทศที่เป็นสมาชิกต้องไม่มีโทษประหารชีวิตหรือถึงมีกฎหมายก็ต้องไม่นำมาใช้) และหลายประเทศในอเมริกาใต้

สรุปว่าถ้านับทั้งโลก 89 ประเทศไม่มีโทษประหาร 28 ประเทศ ถึงมีโทษประหารแต่ก็ไม่มีการประหารในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และ 9 ประเทศระบุว่าโทษประหารใช้เฉพาะกรณีพิเศษจริงๆ

ประเทศประชาธิปไตยในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น, ไทย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, ไต้หวัน ยังคงมีโทษประหารชีวิต (ไต้หวันกำลังอยู่ในกระบวนการยกเลิกโทษประหารชีวิต)

 

ข้อมูล ที่ผู้สื่อข่าวเสาะหามาได้จากญี่ปุ่นชี้ว่าการประหารชีวิตนักโทษไม่มีการ บอกกล่าวก่อน บอกเดี๋ยวนั้นก็ประหารเลยและไม่บอกญาติพี่น้องก่อนประหารด้วย ไม่มีการให้ข่าวหรือแถลงข่าวอย่างเป็นทางการแก่สื่อแต่อย่างใดทั้งสิ้น ไม่มีสื่อหรือแม้แต่สมาชิกรัฐสภาที่เคยร่วมเป็นพยาน ทุกอย่างดำเนินไปอย่างลึกลับดำมืด โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดกล้าให้ข่าวหรือเล่าว่าประหารชีวิตกันอย่างไร ปัจจุบันที่รู้ก็เพราะมีข้าราชการคนกล้าจากสำนักงานอัยการชื่อ Tamaki Mitsui ออกมาให้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้

Mitsui เล่าว่าข้าราชการที่เป็นพยานการประหารชีวิตถูกบังคับโดยกฎหมายไม่ให้เปิดเผยสิ่งที่เห็น (การ เปิดเผยครั้งนี้มีส่วนทำให้เขาเจ็บตัวในเวลาต่อมาด้วยข้อหารับสินบน) เขากล่าวว่าโลกควรจะรู้ว่าเขาประหารชีวิตนักโทษญี่ปุ่นกันอย่างทารุณอย่างไร นักโทษที่ Mitsui ไปเป็นพยานการประหาร (ณ เมืองนาโกยา 1 ใน 7 แห่งของสถานที่ประหารของญี่ปุ่น) คือหัวหน้าแก๊งโจรที่ฆ่า 3 ศพ เขาเล่าว่ามีข้าราชการ 4 คน เป็นพยานนั่งเป็นแถวอยู่หลังกระจกใสที่กั้นขึ้นไปจนติดเพดาน มองทะลุออกไปคือสถานที่ประหารซึ่งเป็นห้องว่างโล่ง ไฟสว่าง กำแพงทาสีขาว มีพื้นที่ประมาณ 18 ตารางฟุต (เกือบ 2 ตารางเมตร) พื้นเป็นไม้ไซปรัสของญี่ปุ่น

จาก เพดานมีเชือกเป็นห่วงสำหรับผูกคอห้อยลงมายาว มีเสียงสวดเบาๆ จากเทปของ เมื่อถึงเวลาฝาที่เป็นประตูก็จะหมุนเปิดออก การ์ดสองคนนำนักโทษที่มีผ้าปิดตา มือสองข้างมัดไขว้หลัง เท้าเปล่าและอยู่ในชุดผ้าฝ้ายขาวเดินเข้ามา และให้ไปยืนตรงกลางห้องที่มีกากะบาด การ์ดคนหนึ่งเอาห่วงเชือกคล้องคอ นักโทษดูจะอยู่ในสภาพจิตที่สงบ การ์ดถอยออกไป ทิ้งให้ยืนอยู่ในห้องพร้อมห่วงคล้องคอคนเดียว

ทัน ใดนั้นพื้นไม้ที่นักโทษยืนอยู่ก็เปิดออกอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ตัวนักโทษตกหายลงไปในประตูกลนั้น เชือกที่สวมคออยู่ถูกดึงให้ตึงขึ้นมาทันที คอของนักโทษหักในบัดดล ตัวของเขาห้อยต่องแต่งอยู่ในห้องข้างล่าง (ผู้ประหาร 5 คน กดสวิตซ์ไฟพร้อมกันโดยอันที่เป็นของจริงมีอยู่เพียง 1 อัน ไม่มีใครรู้ว่าสวิตซ์ตัวใดเป็นของจริงที่ทำให้พื้นเปิดทั้งนี้เพื่อลดความเครียดของเจ้าหน้าที่ประหาร)

Mitsui มั่น ใจว่านักโทษตายแล้ว แต่ก็แปลกใจที่ไม่มีการลดหรือตัดเชือกให้ร่างเคลื่อน ลงสู่พื้น เมื่อถามก็ได้คำตอบว่ากฎหมายญี่ปุ่นบังคับให้ห้อยอยู่เช่นนั้นไม่ต่ำกว่า 5 นาที เวลาผ่านไป 30 นาที เขาจึงได้ลงไปดูศพของนักโทษ และเห็นว่าศพนอนอยู่บนพื้นคอนกรีตธรรมดาอย่างไม่พิถีพิถัน ศพถูกพลิกให้ดูว่าไม่มีรอยฟกซ้ำบนร่างกายยกเว้นที่คอเท่านั้น

คำ ถามก็คือ ทำไมทุกอย่างจึงลึกลับดำมืดถึงแม้ว่าคนญี่ปุ่นจะสนับสนุนการมีโทษประหาร ชีวิตมากว่าคนอเมริกัน และการแขวนคอก็ไม่ใช่เรื่องที่สังคมญี่ปุ่นสนใจนัก (ญี่ปุ่นใช้โทษแขวนคอแทนตัดคอตั้งแต่สมัยเมจิ ใน ค.ศ.1873)

ค่า นิยมของสังคมญี่ปุ่นเห็นว่าการตายเช่นนี้เป็นเรื่องน่าอับอาย ซึ่งต่างจากการฆ่าตัวตาย (ฮาราคีรี) ซึ่งเป็นหนทางของการรักษาเกียรติตนเองจึงทำให้ไม่อยากให้ความสำคัญแก่การ ประหารชีวิต จนทุกอย่างเป็นเรื่องดำมืด ?

#โทษประหารของญี่ปุ่น
lachai
นักแสดงรับเชิญ
4 ส.ค. 53 เวลา 00:06 6,539 14 200
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...