ทราย ดูด (Quicksand) ตำนานหรือเรื่องจริง !?

                                      
                                                                               ทรายดูด (Q

ท่านคงเคยชมภาพยนต์ที่เกี่ยวข้องกับบ่อทรายดูด ตอนที่พระเอกพลัดตกลงไปในบ่อทราย และค่อยๆถูกดูดลงไป เผอิญบริเวณใกล้มีต้นไม้ พระเอกใช้เชือกที่หาได้จากไหนไม่ทราบเหวี่ยงไปคล้องกับต้นไม้ และดึงตัวขึ้น รอดได้อย่างหวุดหวิดหวาดเสียว ส่วนใหญ่พระเอกจะรอด แต่ถ้าเป็นผู้ร้ายก็อาจจะถูกดูดจมลงไปสะใจคนดู

 

                มันเป็นเรื่องจริงเหรอ??

               
 

                บ่อทรายดูดคืออะไร??  ทรายดูดเกิดจากน้ำที่ผสม กับทราย ทำให้อนุภาคของทรายเกิดการเลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ภาษาอังกฤษจึงเรียกทรายที่เลื่อนตัวอย่างรวดเร็วนี้ว่า Quicksand

             ในกรณีที่เป็นทรายแห้งยังไม่เปียกน้ำ มันจะอยู่ในสภาวะที่ไม่ยืดหยุ่น เลื่อนตัวได้ยาก เกือบจะแข็ง แต่ถ้าทรายนั้นชุ่มน้ำ มันจะอ่อนตัวลง และเลื่อนตัวได้ง่าย ดังนั้นทรายดูดจะเกิดกับดินที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆ หรือเม็ดทราย ผสมเข้ากับน้ำ

              เมื่อทรายชุ่มน้ำ มันจะเปลี่ยนสภาพของทรายให้เป็นของเหลวและไหลตัวได้ง่าย ในกรณีที่เป็นบ่อขนาดใหญ่ เรียกว่า บ่อทรายดูด แต่น้ำที่มากมายเพื่อทำให้ทรายจำนวนมหาศาลเป็นทรายดูดจะได้จากที่ไหน มีความเป็นไปได้ 2 วิธีที่จะเกิดบ่อทรายดูดขนาดใหญ่ ได้

                - น้ำใต้ดิน ที่พุ่งทะลักจากพื้นใต้โลก ผสมเข้ากับเม็ดทรายข้างบน

                - แผ่นดินไหว การสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ช่วยให้เกิดการผสมและคลุกเคล้าของน้ำกับทรายได้เป็นอย่างดี

                การผสมระหว่างดินทรายกับน้ำ ลดแรงเสียดทานระหว่างเม็ดทราย และเปลี่ยนสภาพของเม็ดทรายให้เป็นของเหลว ซึ่งเป็นเหตุให้ของหนักที่ตั้งอยู่บนทรายจมลงได้ หรือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ตึกทั้งหลังที่ตั้งอยู่บริเวณที่มีน้ำใต้ดินผ่าน และเป็นดินทราย อาจจมทั้งหลังได้ กรณีโคลนถล่มก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อฝนตกลงมามาก ดินคลุกเคล้าเข้ากับน้ำซึ่งจะเปลี่ยนสภาพเป็นโคลน และไหลได้ง่าย

                



                ต่อไปเป็นสถานที่ที่เกิดบ่อทรายดูด

                - ริมตลิ่ง

                - ชายหาด

                - ริมทะเลสาบ

                - หนองบึง และที่เฉอะแชะ

                ท่านทดลองไปเดินชายหาด ริมทะเล ถ้าท่านเดินอยู่บนทรายแห้ง ความแห้งจะทำให้ทรายไหลตัวได้ยาก ท่านจึงยืนอยู่ได้ แต่ถ้าท่านไปยืนชายหาดใกล้กับทะเล ยังไม่ถึงน้ำทะเล จะสังเกตว่าทรายเปียก และแน่นกว่าทรายแห้ง บริเวณนี้สามารถนำทรายมาก่อประสาททรายขึ้นได้ ส่วนบริเวณชายหาดที่โดนน้ำเต็มๆ เม็ดทรายจะชุ่มน้ำ และเลื่อนตัวได้อย่างรวดเร็ว

                               

เมื่อตกลงไปในบ่อทรายดูด !? ในบ่อทรายดูด ท่านยิ่งพยายามดิ้นรนแรงเท่าไรเพื่อจะออกจากบ่อ มันจะยิ่งดูดท่านให้จมลงไปเร็วเท่านั้น แต่ถ้าท่านตัวตามสบาย ร่างกายของท่านจะลอยอยู่ได้ เนื่องจากความหนาแน่นของร่างกายท่าน น้อยกว่าความหนาแน่นของบ่อทราย

         ถ้าเผอิญท่านตกลงไปในบ่อทราย ดูด ไม่ต้องตกใจ เพราะ ร่างกายของคนปกติ มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ขณะที่บ่อทรายดูด มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำคือประมาณ 2 กรัม/ลูกบาศก์ เซนติเมตร นั่นก็หมายความว่า ท่านสามารถลอยอยู่เหนือทรายดูดได้ดีกว่าน้ำ ดังนั้นท่านไม่ต้องตกใจ คุมสติให้มั่น

                ไม่ต้องดิ้นรน ยกไม้ยกมือ เหมือนกับว่ายน้ำ เพราะมันจะทำให้ท่านยิ่งจมลงไป ดังนั้น ให้ท่านหงายศีรษะขึ้นฟ้า และเอนตัวนอนหงาย เหมือนนอนเล่น ท่านก็จะไม่จม ถัดไปค่อยๆเลื่อนตัวไปเพื่อจับยึดต้นไม้ หรือขอนไม้ แต่ถ้าตัวของท่านจมลงไปแล้วจนเกือบถึงเอว แล้วละก็ ท่านต้องเลื่อนตัวอย่างช้าๆ พยายามก้าวขาขึ้นมาที่ผิวของทรายอย่างช้าๆ อย่าก้าวเร็ว เพราะการก้าวเร็ว ทำให้เกิดสุญญากาศขึ้นที่เท้า และจะดูดตัวท่านให้จมลงเร็วขึ้นไปอีก การก้าวอย่างช้าจะช่วยลดความหนืด ขณะเดียวกันให้ท่านเพิ่มพื้นที่ผิว โดยการกางแขนให้มากที่สุด ช่วยให้ท่านลอยอยู่ได้

         ตอน นี้ถ้าท่านเจอกับทรายดูด ก็จะทราบแล้วว่าควรทำอย่างไร ไม่ต้องกลัวอีกต่อไปแล้ว เหตุการณ์ร้ายแรงที่สุดที่น่าจะเป็นก็คือ ท่านจะต้องล้างเท้าครั้งใหญ่เท่านั้น

 

                                 

ทรายดูดไม่เคยคร่าชีวิตคน ?! - ข้อเท็จจริงที่รู้กันไม่มากนักเกี่ยวกับทรายดูด ได้รับการยืนยันอีกครั้งครับ ด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ ที่ทรายดูดจะดึงร่างกายของคนเราให้จมลงจนมิดได้ เพราะความหนาแน่นของร่างกายคน มีไม่มากพอ

         คุณแดเนียล บอนน์ จาก มหาวิทยาลัยแห่งอัมสเตอร์ดัมกล่าวว่า “ความน่ากลัว ที่แท้จริงของทรายดูดคือ คุณอาจจะต้องติดอยู่ในทรายดูด จนเกิดน้ำท่วมสูงขึ้นมานั่นแหละ” เพราะมักจะพบทราย ดูดได้บ่อยในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว หรือไม่ก็เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหว ซึ่งปลดปล่อยน้ำใต้ดินออกมา และทรายดูดอาจเป็นเหตุให้สะพานหรืออาคารสิ่งก่อสร้างถล่มลงมาได้

         อย่าง ไรก็ตาม หากคุณตกลงไปในทรายดูดล่ะก็ เพียงแค่อดทนรอคอยให้นานพอ เม็ดทรายก็จะค่อยๆ จัดตัวใหม่ และแรงลอยตัวที่มีอยู่ในทรายดูด ก็จะค่อยๆ พยุงให้ตัวคุณลอยขึ้นจนถึงระดับบนสุด เพราะแท้ที่จริงแล้ว นักวิจัยบอกว่า ส่วนผสมของทรายดูดเป็นเพียงทรายธรรมดาที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ จึงทำให้แรงเสียดทานระหว่างอนุภาคของทรายน้อยลงไป และไม่สามารถรับน้ำหนักมากๆ ได้

          เพื่อ พิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ คุณแดเนียลได้วิเคราะห์องค์ประกอบของทรายดูด ซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากทะเลสาบนามัค (Namak Lake) ใน ตอนเหนือของประเทศอิหร่าน พบว่าประกอบด้วยเม็ดทรายละเอียด น้ำเค็ม และโคลนเลน หลังจากนั้นจึงสร้างทรายดูดขึ้นในห้องปฏิบัติการด้วยอัตราส่วนที่เหมือน กับในธรรมชาติ และใช้เม็ดอะลูมิเนียมซึ่งมีความหนาแน่นเท่ากับความหนาแน่นเฉลี่ยของคนเรา เป็นตัวทดสอบ

          เมื่อวางเม็ดอะลูมิเนียมไว้ บนทรายดูด และให้แรงสั่นกับ บ่อทรายดูดจำลอง เม็ดอะลูมิเนียมก็ค่อยๆ จมลง นักวิจัยอธิบายว่า เมื่อมีวัตถุใดตกลงไปในทรายดูด ก็จะทำให้อนุภาคของเม็ดทรายที่มีน้ำเป็นตัวพยุง สูญเสียความคงสภาพ และรับน้ำหนักไม่ได้ เป็นเหตุให้วัตถุ ดังกล่าวจมตัวลงราวกับทรายดูดเป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ซึ่งคุณแดเนียลเปรียบเทียบเหมือนกับกองส้มที่วางเรียงกันไว้อย่างเป็น ระเบียบ หากมีสิ่งภายนอกเข้ามากระทบก็จะพังลงมา ด้วยแรงสั่นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายสภาพคงตัวนั้นได้

         ใน การทดลองพบว่า เมื่อเพิ่มแรงบนเม็ดอะลูมิเนียม เพียงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ความเร็วในการจมจะเพิ่มขึ้นเป็นล้านเท่า ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงดึงตัวให้ทรายดูด คุณแดเนียลบอกว่า ณ จุดนี้ ถ้าคุณพยายามจะออกจากทรายดูดก็ยากเอาการทีเดียว เพราะแรงที่คุณต้องใช้เพื่อดึงเอาเท้าออกนั้น เท่ากับแรงที่ต้องใช้เพื่อยกรถยนต์ขนาดย่อมๆ เลยทีเดียว

         อย่าง ไรก็ตามในท้ายที่สุด เม็ดอะลูมิเนียมก็ลอยตัวขึ้นมาเองครับ และหลังจากนั้นก็ไม่จมลงไปถึงกว่าครึ่งหนึ่งของเม็ดอะลูมิเนียมอีกเลย แม้ว่าเม็ดอะลูมิเนียมแต่ละอันจะมีขนาดเพียง 4 มิลลิเมตร แต่คุณแดเนียลก็เชื่อว่า การทดลองดังกล่าวนี้จะให้ผลเช่นเดียวกันกับร่างกายของคนเรา ซึ่งมีความหนาแน่นเท่ากัน

 

นำข้อมูลมาจาก

http://www.rmutphysics.com/CHARUD/howstuffwork/howstuff2/quicksand/quicksandthai.htm

17 ก.ค. 53 เวลา 13:35 9,882 37 468
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...