ภาพประวัติศาสตร์…วินาทีจับกุมสาวน้อยชาวยิว Anne Frank

https://www.meekhao.com/history/annefrank-arrest

แอนน์ แฟรงก์ สาวน้อยชาวยิวที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากบันทึกประจำวันของเธอที่เขียนขึ้นในขณะที่ต้องหลบซ่อนจากชาวนาซีเยอรมัน และจุดจบของเธอก็หนีไม่พ้นการถูกจับกุมไปยังค่ายกักกันที่แสนโหดร้าย ฤดูร้อนในยุโรปช่วงปี 1944 ความหวังได้ก่อตัวขึ้นพร้อมๆ กับหัวใจที่แตกสลาย ในเดือนสิงหาคม ชาวอเมริกันและชาวรัสเซียถูกบังคับให้เดินย่ำเท้าเข้าสู่เยอรมนี กรุงวอร์ซอร์เป็นเสมือนบาดแผลของการปฏิวัตินองเลือด และในใจกลางกรุงอัมสเตอร์ดัมที่ซึ่งสาวน้อยนาม แอนน์ แฟรงก์ ซ่อนตัวอยู่กับอ๊อตโต้และเอดิทธ์พ่อแม่ของเธอ รวมทั้งพี่สาวชื่อว่ามาร์กอท ครอบครัวแวน เพลส์  (ประกอบด้วยคุณเฮอร์มัน คุณออกุส และลูกชายชื่อว่าปีเตอร์) และฟริทซ์  เฟฟเฟอร์ เพื่อรอคอยให้สงครามสิ้นสุดลง

ชาวยิวที่ซ่อนตัวอยู่นั้นมีความเป็นอยู่อย่างทุกข์ทรมาน พวกเขาต้องอดทนต่อการทิ้งระเบิด ความอดอยาก ความพยายามที่จะบุกเข้าจับกุม และสภาวะขาดแคลนของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาตลอดสองปีในการหลบซ่อน พวกเขาซูบซีดและมีสุขภาพย่ำแย่ แต่ยังคงมีชีวิต แอนน์ สาวน้อยวัย 15 ปี ผู้บันทึกเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในบ้าน ได้เติบโตและใช้ชีวิตในที่ที่เธอเรียกว่า Het Achterhuis หรือบ้านข้างหลัง ในระหว่างที่ซ่อนตัว เธอเรียนหนังสือ ทะเลาะกับแม่ มีจูบแรก และคอยเฝ้ามองต้นเกาลัดหลังบ้านเติบโต ตายลง และเติบโตขึ้นมาใหม่

ในตอนแรก แอนน์กลัวว่าที่ซ่อนแห่งนี้จะถูกพบได้อย่างง่ายดายเพราะมันซ่อนอยู่หลังสำนักงานของพ่อเธอ

“การไม่สามารถออกไปข้างนอกได้มันทำให้ฉันอารมณ์เสียจนไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร และฉันกลัวมากว่าที่ซ่อนของเราจะถูกพบ และเราทุกคนจะถูกยิงตายกันหมด” เธอเขียนลงไปในบันทึกของเธอในเดือนกันยายน 1942 “แน่นอนล่ะ เป็นความคาดหวังที่หดหู่สิ้นดี”

แต่ในเดือนสิงหาคม ปี 1944 เธอก็มีเรื่องอื่นให้กังวล เธอจัดการแก้ไขไดอารี่ของเธอซะใหม่ และแสดงให้เห็นว่าเธอจะเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ด้วย เนื้อหาทั้งหมดในไดอารี่ของเธอนั้นเขียนเกี่ยวกับความอ่อนแอของตัวเธอเอง ว่าวันหนึ่งผู้คนอาจจะค้นพบว่าภายใต้ความไร้ยางอายที่เธอแสดงออกมานั้น มีเด็กสาวที่อารมณ์อ่อนไหวและจริงจังซ่อนอยู่ “ฉันไม่สามารถรักษามันต่อไปได้” เธอเขียน “ในที่สุด ฉันจะบิดเบือนหัวใจตัวเอง แล้วความเลวร้ายต่างๆ จะถูกแสดงออกมาสู่ภายนอก ความดีจะถูกเก็บไว้ภายใน และฉันจะพยายามหาทางเป็นอย่างที่ฉันอยากจะเป็น หรือสามารถจะเป็นได้ ถ้าเกิดว่า…โลกนี้ไม่มีคนอื่นอยู่ด้วยแล้ว”

และต่อมา ในวันที่ 4 สิงหาคม 1944 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป

4 สิงหาคม 1944 [เวลาโดยประมาณ]

8 โมงเช้า: คุณมิพ คีส์ ขึ้นไปข้างบนเพื่อเอารายการซื้อของ แอนน์ทักทายเธออย่างยินดีและถามว่ามีข่าวอะไรบ้างไหม

ก่อน 11 โมงเช้า: ใครบางคนโทรแจ้งหน่วยงานตำรวจต่อต้านจารกรรม Sicherheitsdienst (SD) ในอัมสเตอร์ดัม บอกว่ามีชาวยิวซ่อนอยู่ในบ้านเลขที่ 263 พรินเซนกราทช์

11 โมง: ผู้ชายแต่งตัวดีเดินเข้ามาในออฟฟิศและเล็งปืนพกไปทางมิพ, เบพ วอสกูจิล และโจฮันนาส ไคล์แมน ที่กำลังทำงานอยู่หน้าออฟฟิศ ตำรวจดัตช์และเจ้าหน้าที่เยอรมันมาถึงในเวลาเดียวกัน พวกเขาบังคับให้วิกเตอร์ คูเกลอร์ พาสำรวจในอาคาร

11 โมง 15 นาที: สามีของมิพที่ชื่อแจนมาถึงเพื่อทานอาหารเที่ยง มิพเอาอาหารให้เขา รวมทั้งเงินและบัตรปลอมผิดกฎหมายให้เขาและบอกว่ามีบางอย่างผิดปกติ เขาหนีไปทันที

11 โมงครึ่ง: ไคล์แมนเอากระเป๋าสตางค์ให้เบพอย่างว้าวุ่นใจ และบอกเธอให้ไปที่ร้านของเภสัชกรที่ถนนถัดไปเพื่อบอกข่าวกับภรรยาของเขา แล้วให้หนีไปซะ

บ่ายโมง: ไคล์แมนได้รับแจ้งให้มอบกุญแจออฟฟิศให้มิพ เขาบอกเธอให้ออกไปจากที่นี่แต่เธอปฏิเสธ แต่ก็ทำตามแนะนำของเขาด้วยการเก็บรักษาอะไรก็ตามที่ยังสามารถรักษาไว้ได้

บ่ายโมง 15 นาที: ตำรวจดัตช์เข้ามาในออฟฟิศของมิพและถามถึงรถที่เพิ่งถูกส่งไป เจ้าพนักงานเยอรมันมาที่ออฟฟิศและมิพเพิ่งรู้ว่าเขามีสำเนียงเวียนนา (เธอเป็นชาวเวียนนา) เขาเผชิญหน้ากับเธอและเธอพยายามจะสงบจิตใจจนกระทั่งเขาขู่ถึงสามีเธอที่เธอกำลังปกป้องอยู่

บ่ายโมงครึ่ง: มิพได้ยินเสียงของครอบครัวแฟรงก์, ครอบครัวแวน เพลส์ และ ฟริทซ์  เฟฟเฟอร์ ลงมาจากบันได “ฉันสามารถบอกได้จากการเดินของพวกเขาว่าพวกเขากำลังลงมาเหมือนสุนัขที่อ่อนแรง” แอนน์เขียนลงในบันทึกของเธอ ในขณะเดียวกันแจนยืนอยู่ตรงทางข้ามคลองกับพี่ชายของไคล์แมน พวกเขามองเพื่อนๆ เดินจากออฟฟิศไปยังรถบรรทุกสีเขียว แต่ละคนมีหีบห่อเล็กๆ ในมือ ถึงแม้รถจะอยู่ห่างจากพวกเขาไม่กี่ฟุตแต่แจนไม่แม้แต่จะชำเลืองมองหน้าของพวกเขา ครอบครัวแฟรงก์ถูกพาไปยังสำนักงานใหญ่ของ SD พร้อมกับผู้คุ้มครอง

ห้าโมงเย็น: เบพและแจนกลับไปที่ออฟฟิศพร้อมกับมิพ พวกเขาเข้าไปยังที่ซ่อนที่ตอนนี้ยุ่งเหยิงไปหมด มิพสังเกตเห็นไดอารี่ของแอนน์บนพื้นห้องของพ่อแม่ เธอเก็บมันขึ้นมาพร้อมกับผ้าคลุมไหล่ของแอนน์และตลับแป้งของนางแฟรงก์

ถึงแม้ว่าไคล์แมนและคูเกลอร์จะถูกปล่อยตัวหรือหนีออกมาจากคุกได้ แต่ครอบครัวแฟรงก์ ครอบครัวแวน เพลส์และ นายเฟฟเฟอร์ ไม่ได้โชคดีเช่นนั้น และถึงแม้ว่ามิพกับแจนจะขอร้องและต่อรองขออิสรภาพให้แก่พวกเขา พวกเขาก็ต้องไปเวสเตอร์บอร์ก และไปสู่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ในรถบรรทุกขบวนสุดท้ายเพื่อไปจากเนเธอร์แลนด์ในระหว่างสงคราม

แอนน์เสียชีวิตเนื่องจากต้องอดอาหารในเดือนมีนาคม 1945 ในค่ายกักกันแบรกเกิล-เบลเซน ในเยอรมนี

อ๊อตโต พ่อของเธอ เป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต…

ชาวดัตช์นับพันได้จัดการแสดงถึงการต่อต้านในระหว่างสงคราม เพื่อแสดงให้เห็นความร้ายกาจและน่าสยดสยองโดยแสดงออกมาในรูปแบบของภาพถ่ายผู้หลบซ่อนชาวยิวที่มองเห็นจากหน้าต่าง การจับกุมแอนน์น่าจะคล้ายคลึงกับรูปภาพทั้งสองนี้

ไม่มีภาพถ่ายไหนในเดือนสิงหาคมที่แสนจะเลวร้ายที่สามารถแสดงถึงชะตากรรมและความกลัวได้หมด บางทีเหล่าเพื่อนบ้านอาจบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ แต่ระเบิดอาจจะทำลายมันไปหมดหรือถูกลืมไว้ในหนังสือ

Anne Frank: the only existing film images

บางทีภาพถ่ายของครอบครัวแฟรงก์หลังจาก Secret Annex อาจจะคล้ายคลึงกับแอนน์ ผู้ยังมีชีวิตอยู่ในวิดีโอนี้

Anne Frank: Her Life in Colour

ที่มา: mental_floss

20 เม.ย. 60 เวลา 05:19 2,070
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...