อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central world

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

ผมจินตนาการความรู้สึก จาก เหตุการณ์จริง 
 ขณะนั่งชมภาพข่าวผ่านทีวี เมื่อเห็นหุ่นใบหน้ารูปผู้หญิง
 ที่เคยไปชม กำลังโดดเดี่ยวอยู่ท่ามกลางเปลวเพลิง 
 และควันไฟหน้า ห้าง ZEN
ด้วยหน้าตาอันชวน “พิศวง” ของเธอ หากใครได้เห็นภาพนั้น 
 คงจินตนาการไปถึงความน่ากลัว ของรูปปั้นหญิงปริศนา !
สำหรับผมเธอคือ “ประติมากรรม” ที่ มีชีวิต ด้วยจิตวิญญาณ
 แห่งศิลปะ หลังเปลวเพลิงสงบ เธอจะเป็นเช่นไร ?
ถูกหลอมละลายด้วยเปลวไฟ ไหม้ดำเป็นตอตะโก 
 หรือ จะยืนหยัดคงทน ผ่านพ้นคืนวันแห่งวิกฤติ !
 
 

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

รู้สึกดีใจ เมื่อเห็นภาพข่าว ท่ามกลางการพังถล่มของตึก เซ็นทรัล เวิลด์ ฝั่งเซน ประติมากรรมรูปผู้หญิงคนนั้น ยังคงตั้งเด่น ใบหน้าที่ดูน่ากลัวของเธอกลับเศร้าสร้อย ด้วยร่องรอยของไฟควัน ที่ถาโถมนับวันคืน...

รู้สึกเสียใจ ที่เธอถูก นำมาเขียนถึงให้น่ากลัว กล่าวหาว่าเธอเป็น "หุ่นอาถรรพ์" บ้าง ก็เปรียบเปรยว่าเป็น "ตุ๊กตาเสียกบาล" เป็นสิ่งอัปมงคลที่นำมาตั้งไว้ จนทำให้ไฟลุกไหม้ตึก เซ็นทรัลเวิลด์ ถล่มอยู่แค่ฝั่งเซน แต่ไม่ลุกลามไปถึงฝั่งอิเซตัน ที่มีเทพทั้งสองคุ้มครองอยู่ (พระตรีมูรติ และ พระพิฆเนศ) อีกทั้งบริเวณอาคารโดยรอบ ที่มีเทพทั้งหลายตั้งอยู่ (พระอินทร์ พระพรหม ฯ) ก็ไม่โดนไฟไหม้เช่นกัน...

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

“โปรด ใช้วิจารญาณในการอ่าน” แต่เรื่องตุ๊กตาอาถรรพ์นี้ ก็ได้รับการก็อปปี้&เพรส ไปเผยแพร่ต่อ ฟอร์เวิร์ดเมลล์ ว่อนอยู่ในอินเตอร์เน็ทอย่างรวดเร็ว ผูกโยงเรื่องเล่าไปถึงอาถรรพ์วังเพชรบูรณ์ การย้ายพระตรีมูรติ ปริศนาเลข 19 พฤษภาคม (19/05) แถมด้วยภาพกลุ่มควันไฟ ที่ดูเหมือนใบหน้าผู้หญิงคล้ายหุ่นปริศนา บ้างก็แต่งเติมให้หลงเชื่อมากขึ้นด้วย โฟโต้ ช็อป
 

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

หากใครสนใจแนว “ความเชื่อลี้ลับ” ลองให้ลุงกูเกิลช่วย          ค้นหาอ่านได้ในอินเตอร์เน็ทนะครับ

วันนี้หลายท่านคงจะได้ไปดูสถานที่เกิดเหตุ เศร้าใจ เก็บภาพร่องรอยแห่งความสูญเสีย หากพบเห็นหุ่นผู้หญิงปริศนา? ยังอยู่หน้าห้าง ZEN จะได้ทราบ “ความจริงทาง ศิลปะ” ว่าเธอเป็นใคร มาจากไหน และมาทำอะไรอยู่ที่ Central world



อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

ประติมากรรม ใบหน้าผู้หญิง หน้าตาชวน ฉงน...สงสัย (บางคนบอกว่าน่ากลัว บ้างก็นึกว่าเป็นเศียรพระพุทธรูป) ถูกนำมาจัดแสดงอยู่ หน้าห้างเซน มาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว แต่ก็มีน้อยคนที่จะสนใจเข้าไปดูใกล้ๆ ค้นหาความหมาย และที่มาของงานศิลปะชิ้นนี้ (ส่วนใหญ่ก็เลยไปจุดธูป สวดภาวนาขอเทพ อยู่ทางฝั่งอิเซตัน
 

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

THE HEAD “เดอะ เฮด” เป็น รูปปั้นศีรษะหญิงชาวอินเดีย สีทองอร่าม ประดับดอกไม้สีสันสดใส บนมวยผมสีดำ มีขนาดใหญ่ สูง 4 เมตร ผลงานประติมากรรมของ มร.ราวินเดอร์ เร้ดดี้ (Mr. Ravinder Reddy) ศิลปินระดับโลกชื่อดังชาวอินเดีย ซึ่งสถานเอกอัคร ราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย มอบให้ในโอกาสครบรอบ 62 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-อินเดียRavinder Reddy สร้างสรรค์ THE HEAD ขึ้น เพื่อมอบให้แก่ประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยนำโมเดลต้นแบบจากประเทศอินเดีย นำมาหล่อแบบด้วย วัสดุบรอนซ์ทอง ตกแต่งลวดลายดอกไม้ด้วยสีอะคริลิก โดยความร่วมมือจากศิลปิน และช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญงานประติมากรรมในประเทศ ไทย...

  

 รา วินเดอร์ เรดดี้ (ศิลปินอินเดีย) และ ชาติชาย ปุยเปีย (ศิลปินไทย)


อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

เซ็นทรัล เวิลด์ จัดงานรับมอบประติมากรรม “เดอะ เฮด” (THE HEAD)

ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยการสนับสนุนจาก หอการค้าไทย-อินเดีย และ สถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ได้จัดงานรับมอบเมื่อเดือน เม.ย. 52 และนำมาจัดแสดง ณ ลานหน้า เซ็นทรัล เวิลด์ ภายใต้โครงการ The Sculpture at Central World เพื่อยกระดับให้ ช็อปปิ้ง สตรีท ราชประสงค์ เป็นแลนด์มาร์คของงาน ศิลปะ-ประติมากรรมใจกลางกรุงเทพฯ เฉกเช่นมหานครชั้นนำของโลก...

ศิลปินชาวอินเดีย ราวินเดอร์ เร้ดดี้ กล่าวถึงแรงบันดาลใจของผลงานว่า “The Head of India เป็นผู้หญิงที่สร้างขึ้นจากจินตนาการของเขาเอง ไม่มีตัวตน และเขาก็กำลังตามหาผู้หญิงคนนี้อยู่เช่นกัน”

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

ผลงานศิลปะ อันเกิดจากจินตนาการรังสรรค์ ของศิลปินที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก มันน่าเศร้าใจนัก! ที่คนไทยนิยมไสยศาสตร์ มองเห็นเป็นเพียง “ตุ๊กตาเสียกบาล”
หากใครจะหลงเชื่อตามนั้น ลองมารู้จักกับผลงานศิลปะ ของศิลปินชาวอินเดีย ท่านนี้กันดูนะครับ !

ราวินเดอร์ เร้ดดี้ สร้างผลงานศิลปะในรูปแบบ อินเดีย-ฮินดู คอนเทมโพรารี่ อาร์ต (Indian-Hindu Contemporary Art) ผลงานที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียง จะเป็นประติมากรรมรูปศีรษะของหญิงชาวอินเดีย ด้วยการเลือกใช้สีบรอนซ์ทองเป็นพื้นผิวใบหน้าและลำคอ โดดเด่นที่ดวงตาอันกลมโต และเรียวคิ้วดำขลับโค้งได้รูปของหญิงสาว เน้นลูกเล่นที่มวยผมสีดำประดับประดาด้วยดอกไม้สีสัน สดใส อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว..


 
 งานศิลปะของ ราวินเดอร์ เรดดี้ ยัง ได้รับการยอมรับอย่างสูงในเวทีศิลปะระดับโลก ผลงานประติมากรรมรูปศีรษะของหญิงชาวอินเดีย ถูกนำไปตกแต่งแลนด์มาร์ค และแสดงนิทรรศการใน อาร์ต มิวเซียม ต่างๆทั่วโลก...

Ravinder Reddy ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากศิลปินแนว ป๊อป อาร์ต (POP ART) ชื่อดังระดับโลกอย่าง แอนดี้ วาร์ฮอล (Andy Warhol) จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “แอนดี้ วาร์ฮอล แห่งประเทศอินเดีย”

 
 
 

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

ANDY WARHOL (1928-1987)
 ไหนๆก็เขียนความจริงทาง ศิลปะ เพื่อแก้ต่างความเชื่อ ! ให้หุ่นหญิง ป๊อป อาร์ต แห่งอินเดียแล้ว ขอโยงใยไปถึงศิลปินที่ชื่อ แอนดี้ วาร์ฮอล มาให้ผู้อ่านทราบ พอสังเขป

 Andy Warhol หรือ Andrew Warhola ศิลปินชาวอเมริกัน เชื้อสายยุโรปตะวันออก (ค.ศ. 1928-1987) ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อ Pop Art (ศิลปะประชานิยม ของอเมริกา) เป็นศิลปินที่มีอิทธิพลใน ศตวรรษที่ 20 มากที่สุด ผู้ที่ทำให้ Commercial + Art พาณิชย์ + ศิลป์ โฆษณาและงานศิลปะ เป็นเรื่องเดียวกัน ผ่านผลงานศิลปะหลากหลายแขนง เช่นเขียนหนังสือ วาดภาพประกอบนิตยสาร และโฆษณา ออกแบบ แฟชั่น ไปจนถึงสร้างหนังแบบเวอร์ๆ

ผลงานศิลปะของ แอนดี้ วาร์ฮอล สื่อสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจการผลิต สู่การบริโภค ของระบบทุนนิยมอเมริกัน (วัฒนธรรม Pop Culture) ด้วยการผสมผสานระหว่างสีสันอันหลากหลาย กับสิ่งที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น บุคคลสำคัญ หรือสินค้าในสมัยนั้น ผลงานที่โด่งดังหลายชิ้นของเขา ใช้เทคนิคการพิมพ์ซ้ำๆ ที่เรียกว่า Screen Printing หรือ ซิลค์สกรีน...

The Two Marilyns (1962) By Andy Warhol

Che Guevara : The Smoking Gun By Andy Warhol

หากท่านผู้อ่านเคยคุ้นตากับภาพแนวกราฟฟิค ด้วยสีสันอันสดใส ของ มาริลิน มอนโรว์ เซ กูวารา ฯลฯ นั่นแหละคือผลงานของ Andy Warhol ศิลปะสไตล์ POP ART เฉกเช่นเดียวกับประติมากรรม THE HEAD ใบหน้าหญิงแห่งอินเดีย หน้าห้าง ZEN @ Central world

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

ความ งามในเชิงศิลปะของเธอ ดุจปรัชญาแห่งลัทธิเซน “การเห็นที่ไม่เห็น คือการเห็นที่แท้ การได้ยินที่ไม่ได้ยิน คือการได้ยินที่ แท้”
 The Head of India เธอคือหญิงงามที่เดินทางไกลจากอินเดีย สู่ประเทศไทย มาอวดโฉมตระหง่านอยู่หน้าห้าง ZEN เสมือนเป็นทูต ศิลปะ-วัฒนธรรม สื่อสัมพันธ์มิตรภาพไทย-อินเดีย ที่มีมายาวนาน...


เธอเป็นเพียงประติมากรรมโลหะ ที่มีชีวิตด้วยพลังทางศิลปะ แต่เธอก็ไม่ได้มีพลังวิเศษณ์ ที่จะไปช่วยดับไฟจลาจล...
โปรดอย่าโยนความ ผิด ให้เธอกลายเป็นหุ่นอาถรรพ์ หรือ ตุ๊กตาเสียกบาล ที่ถูกนำมาตั้งไว้จนไม่เป็นมงคลกับสถานที่...

อาถรรพ์แห่งเทพ ปริศนาหญิงอินเดีย หรือ ศิลปะแห่ง ZEN @ Central 
world

ไม่ เชื่อ อย่าลบหลู่ เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บนถนนสายเทพ มีจริง !!

#อาถรรพ์
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
27 มิ.ย. 53 เวลา 00:51 11,184 20 246
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...