S&W 1917 ขอเกิดเป็นปืนดีๆสักสี่ห้าชาติ

ผมมั่นใจเลยว่าถ้าคุณไม่เคยพูดเองก็คงต้องเคยได้ยิน ประโยคที่ว่า  “ปืนสมัยนี้นะความประณีตสู้ปืนยุคเก่าไม่ได้  แม้แต่ปืนแบบเดียวกัน ปืนที่ผลิตใหม่ๆยังสู้ปืนเก่าๆไม่ได้เลย”ทีแรกผมก็ไม่ ค่อยจะเชื่อนะ ไม่น่าเป็นไปได้  วิทยาการด้านโลหะวิทยาก้าวกระโดดไปไกล เครื่องมือในการผลิตก็ดีกว่าแต่ก่อนมาก แต่พอได้สัมผัสกับปืนเก่าหลายกระบอกเข้าก็เริ่มจะคล้อยตาม แต่ลองอ่านให้ ดีนะครับ เราไม่ได้ว่าปืนรุ่นใหม่ไม่ดี เพราะจริงๆแล้วปืนรุ่นใหม่ล้วนใช้งานได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่าปืนรุ่นเก่า ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าเรากำลังพูดถึงความประณีตงดงามของฝีมือการผลิต สำหรับพวกเราคนรักปืนทั้งหลาย ใช่หรือไม่ว่าปืนมิได้เป็นเพียงอาวุธ หรือเครื่องมือ สำหรับเราปืนแต่ละกระบอกเปรียบได้กับงานศิลป์ที่มีความงามอยู่ตัวมันเอง และพวกเราก็มักจะใช้เวลาชื่นชมปืนที่มีอยู่มากกว่าการออกไปยิงปืนที่สนาม เสียอีกมี ปืนในอดีตหลายกระบอกที่เป็นที่ถูกยกย่องว่าเป็นปืนที่ดีที่สุดที่เคยผลิตมา หลังจากที่มันถูกเลิกผลิตไปเป็นเวลานาน ผู้คนก็ยังเพียรพยายามที่จะเสาะหาและครอบครองสุดยอดปืนเหล่านี้ด้วยราคาที่ แพงลิ่วคง จะเป็นกระแสการบริหารแบบหั่นต้นทุนลดราคาสู้กัน แล้วเน้นจำนวนไม่เน้นคุณภาพนี่ละที่ทำให้ช่างฝีมือในฐานะลูกจ้างของบริษัท ใหญ่ๆเหล่านี้ไม่สามารถนั่งประดิษประดอยให้ปืนออกมาอย่างงดงามดั่งเก่าก่อน หรือจะเป็นที่ ว่าผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ไม่มีรสนิยมพอที่จะชื่นชมกับปืนสวยงามที่ผลิตออกมา ด้วยความตั้งใจเต็มฝีมืออีกต่อไปหลายครั้งที่ขวนขวายเสาะหาปืน เก่าเหล่านั้นด้วยราคาที่สูงเกือบเท่า(หรือ แพงกว่า)ปืนใหม่ ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า ทำไมนะจึงไม่มีบริษัทปืนที่หวนคิดกลับมาทำปืนอย่างเต็มฝีมือดั่งเช่นวันวาน มาขายกันอีกสักครั้ง และแล้วสิ่งที่ฝันไว้ก็เกิดขึ้น

โคล์ท 1873 ซิงเกิ้ลแอ๊คชั่นอาร์มี่ย์ หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ Colt SAA

ท้าวความถึงที่มาของแฮนอีเจ็คเตอร์โมเดล
ในช่วงปี 1880 เป็นต้นมากองทัพสหรัฐเริ่มรู้สึกตัวว่าปืนสั้นประจำการของตนในขณะนั้นคือ โมเดิล 1873 ซิงเกิ้ลแอ๊คชั่นอาร์มี่ย์ ออกจะล้าสมัยไม่ทันเพื่อนฝูงที่หันไปใช้ปืนลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่นกันหมด แล้ว ปืนดับเบิ้ลแอ็คชั่นแบบแรกที่ทางกองทัพเรือเลือกใช้คือปืนโคล์ทนิวเนวี่ ที่ใช้กระสุนขนาด .38 โคล์ท(บางครั้งก็ถูกเรียกว่า .38 ลองโคล์ท) ซึ่งเป็นปืนที่เปิดโม่ออกทางด้านข้างแบบแรกของบริษัทโคล์ท

 

โคล์ท นิวเนวี่ ขนาด .38 โคล์ท ปืนลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น

เห็นอย่างนั้น บริษัทสมิทแอนด์เวสสัน ก็ไม่ยอมน้อยหน้าเปิดตัว สมิทแอนด์เวสสัน แฮนด์อีเจ็คเตอร์ขนาด .32 ออกมา ในปี 1896 จากนั้นก็เอากระสุน .38 โคล์ทมาต่อความยาวสาวความยืดและเพิ่มดินปืนอีก 20เปอร์เซ็นต์ กลายเป็น กระสุน.38 สมิทแอนด์เวสสัน สเปเชี่ยล ที่เราๆท่านๆมีใช้กันทุกวันนี้ละครับ ปืนที่เปิดตัวออกมาพร้อมกระสุนขนาด.38 ในยุคแรกของแฮนด์อีเจ็คเตอร์นี้ก็คือโมเดิล 1899 ที่กลายมาเป็นโมเดล 10 มิลิทารี่แอนด์โพลิส ที่ครองใจตำรวจทั่วโลกต่อมาอีกร่วมร้อยปี
 

สมิทแอนด์เวสสัน แฮนด์อีเจ็คเตอร์ขนาด .32

สมิทแอนด์เวสสัน โมเดล 1899
 

แต่กระสุน .38โคล์ทที่ใช้ในกองทัพนี้ให้แรงปะทะต่ำกว่ากระสุน .45โคล์ทที่เคยมีใช้กันอยู่ในปืนซิงเกิ้ลแอ็คชั่นอยู่เกือบครึ่ง และรายงานจากภาคสนามในสู้รบระหว่างกองทัพสหรัฐกับชนเผ่าโมโรพื้นเมือง ฟิลิปปินส์ก็ยืนยันเข้ามาว่าอำนาจหยุดยั้งของกระสุน .38โคล์ทไม่น่าเชื่อถือพอ มีรายงานหนึ่งที่แจ้งว่ายิงเข้าที่ปอดของนักโทษแหกคุกชาวโมโรคนหนึ่งถึงสาม นัดแล้วยังวิ่งเข้ามาสู้กันต่อได้อีก

เมื่อมีข่าวออกมาอย่างนี้ทหาร อเมริกันก็วิ่งโร่กลับมาหาเพื่อนเก่าที่ชื่อโคล์ท ซิงเกิ้ลแอ็คชั่นอาร์มี่ .45 กันเป็นแถว ทางกองทัพเองก็ต้องตั้งโปรเจคที่จะหาปืน .45 กลับมาใช้อีกโดยเร่งด่วนแต่คราวนี้มุ่งไปที่ปืนออโตเมติกแทน(ซึ่งเป็นต้น กำเนิดของ โคล์ท 1911 ออโตเมติกผู้เป็นตำนาน)แล้วอย่างนี้จะมาบอกได้อย่างไรว่าขนาดไม่ใช่เรื่อง สำคัญ
 

Colt 1911 ขนาด .45 ACP

เมื่อทหารทำ อย่างนั้น ผู้พิทักษ์สันติราษฎ์ที่เคยคาดปืนซิงเกิ้ลแอ็คชั่นขนาด.45 หรือ .44 ติดเอวก็เริ่มร้องเรียนให้ผู้ผลิตปืนสร้างปืนดับเบิ้ลแอ๊คชั่นให้พวกเขาบ้าง และในปี 1908 สมิทแอนด์เวสสันก็ตอบข้อเรียกร้องของพวกเขาด้วย ปืนที่ชื่อว่า นิวเซ็นจูรี่ และเปิดตัวออกมาพร้อมกับกระสุนชนิดใหม่ .44 สเปเชี่ยล
 

S&W New Century Triple Lock ขนาด .44 สเปเชี่ยล ปืนลูกโม่ชั้นเยี่ยมที่สุดที่เคยผลิตมาในโลกใบนี้

เจ้านิวเซ็นจู รี่ นี้มีชื่อเล่นอีกชื่อคือ.44 ทริปเปิ้ลล็อค ซึ่งมาจากการที่มันมีกลไกสำหรับล็อกโม่ถึงสามจุดคือท้ายโม่, ปลายก้านคัดปลอก เหมือนปืนที่เราเห็นกันในปัจจุบันแถมด้วย ล็อคอีกอันระหว่างท้ายลำกล้องกับแกนหน้าโม่ ด้วยความงดงามของกลไกและความสุดยอกของฝีมือการผลิต เซียนปืนลูกโม่ทั้งหลายต่างลงความเห็นว่าเจ้าทริปเปิ้ลล็อคนี่ละคือปืนลูก โม่ชั้นเยี่ยมที่สุดที่เคยผลิตมาในโลกใบนี้ (ใครที่คิดว่าโคล์ทไพธ่อนของท่านเจ๋งที่สุดในโลกแล้ว กรุณาทราบไว้ด้วยว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า)

ล็อคตัวที่สามหน้าแกนโม่ ที่มาของชื่อ  Triple Lock

โชคไม่ดีที่ยุคนั้นเศรษฐกิจของอเมริกาค่อน ข้างจะฝืดเคือง (แต่ก็ยังโชคดีที่สมัยนั้นยังไม่มีไอเอ็มเอฟ) ปืนงามๆอย่าง ทริปเปิ้ลล็อคจึงต้องเข้ากระบวนการหั่นต้นทุน (ยุคหลังนี่มักจะเรียกเสียหรูว่ารีเอ็นจิเนียริ่ง แต่แปลเป็นไทยง่ายๆว่าลดพนักงาน) สิ่งที่ตัดออกไปคือฝักหุ้มก้านคักปลอก และล็อคตัวที่สามที่ตรงหน้าโม่ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่จำเป็นเพราะปืนของคู่แข่งคือโคล์ทมีล็อคจุดเดียวที่ท้าย โม่ยังขายได้ ปืนรุ่นนี้ออกมาวางตลาดในปี 1915 มีชื่อเรียกกันว่า แฮนด์อีเจ็คเตอร์โมเดิลสอง ถึงจะถูกลดต้นทุนลงไปแต่ก็ยังจัดว่าเป็นปืนที่ยอดเยี่ยมอยู่ดี
 

Smith & Wesson แฮนด์อีเจ็คเตอร์โมเดิลสอง ขนาด .455 Webley ที่ผลิตส่งให้กับกองทัพอังกฤษและคานาดา เป็นปืนที่ทั้งสองกองทัพนำไปใช้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเช่นกัน

ชาติที่ 1 ในมือทหารหาญ

เพียงสองปีหลังจากที่กองทัพอเมริกันเลือกโคล์ท 1911 ออโตเมติกเข้าประจำการได้เพียงสองปี สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็เกิดขึ้น จำนวนปืน 1911 ประจำการนั้นมีอยู่เพียงน้อยนิด และจำนวนที่ผลิตได้ก็ยังจำกัด เมื่อเทียบกับจำนวนทหารที่เรียกระดมในขณะนั้น ลุงแซมจึงต้องหันซ้ายหันขวามองหาวิธีแก้ไข     ........ทำไงดีล่ะ

ก่อนที่สงคราม จะเริ่มขึ้นนั้น สมิทแอนด์เวสสันก็ได้มีสายการผลิตปืน แฮนด์อีเจ็คเตอร์โมเดิลสอง ในขนาด .455เพื่อส่งให้กับ กองทัพอังกฤษและกองทัพคานาดา ประธานบริษัทสมิทฯในขณะนั้นเห็นโอกาสเหมาะที่จะรับใช้ชาติและสร้างความ มั่งคั่งให้กับตัวเองไปพร้อมๆกัน (ท่านนักการเมืองไทยกรุณาเอาเป็นแบบอย่างหน่อยนะครับ ไม่ใช่เอาแต่สร้างความมั่งคั่งกันสถานเดียว)  จึงร่วมมือกับสรรพวุธอเมริกัน นำเจ้า แฮนด์อีเจ็คเตอร์โมเดิลสองนี้มาดัดแปลงให้ใช้ได้กับกระสุน .45 ออโตซึ่งเป็นกระสุนแบบไม่มีริม และนั้นคือกำเนิดของ สมิทแอนด์เวสสัน โมเดิล 1917

วิธีดัด แปลงก็คือออกแบบแผ่นเหล็กสปริงเป็นคลิ๊ป ครึ่งวงกลม เรียกกันว่า “ฮาล์ฟมูนคลิ๊ป” เป็นตัวเกาะท้ายกระสุนไว้ไม่ให้ผลุบเข้าไปในโม่ การคัดปลอกก็ทำได้ตามปรกติ และยังทำให้บรรจุกระสุนลงในโม่ได้พร้อมๆกันเป็นพวงๆละ 3 นัดอีกด้วย นอกจากนี้ยังเซาะร่องภายในโม่ให้มีบ่ารับกับปลอกกระสุน เพื่อให้สามารถใส่กระสุนทีละนัดได้โดยไม่มีคลิ๊ปในยามจำเป็นได้อีกด้วย แต่จะคัดปลอกไม่ออกต้องมานั่งกระทุ้งกันทีละนัด (ต่อมาบริษัทโคล์ทก็ได้นำปืนโคล์ทรุ่นนิวเซอร์วิส มาดัดแปลงด้วยวิธีเดียวกัน เพื่อส่งปืนให้กับกองทัพ โดยที่ปืนรุ่นนั้นเรียกว่า โคล์ท โมเดิล 1917)
 

 
 


 


 

สมิท 1917 ที่ผลิตให้กับกองทัพสหรัฐ เป็นปืน ลำกล้อง 5 1/2นิ้ว รมดำในลักษณะเดียวกับปืนพานิช นกและไกชุบแข็งแบบคัลเลอร์เคสฮาร์ดเดน ด้ามเป็นไม้วอลนัทเรียบไม่แกะเช็คเกอร์ ที่ส้นด้ามมีห่วงสำหรับคล้องสาย และที่ส้นด้ามตอกไว้ว่า “US Army/Model/1917”  และด้านข้างของลำกล้องตอกว่า “S&W D.A. 45”



 

ฮาฟมูนคลิ๊ปและ ฟูลมูนคลิ๊ปที่ช่วยให้ปืนลูกโม่คัดปลอกของกระสุน .45 ACP ที่ไม่มีขอบออกมาได้

สมิท 1917 ได้ร่วมรบเป็นอาวุธคู่กายของทหารอเมริกันจำนวนไม่น้อยในสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง และทหารส่วนใหญ่กลับอยากจะได้ สมิท 1917 มากกว่า โคล์ท 1911 ออโตเมติก เพราะทหารในยุคนั้นไม่คุ้นเคยกับปืนออโตที่ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จึงจะทำงานได้ดีในสนามรบ

สมิท โมเดล 1917 เป็นที่นิยมมากแค่ไหนลองดูจากตัวอย่างนี้ก็แล้วกัน คุณเคยสังเกตมั๊ยครับว่าปืนคู่มือของอินเดียน่าโจนส์ ที่อยู่ในซองหนังข้างเอวพระเอกแห่งยุค 1930 ผู้นี้คือปืนอะไร ใช่แล้ว สมิท โมเดล 1917นี่เองครับ (ในตอน Raiders of the lost arc และ The Temple of doom ส่วนตอน The last crusade อินดี้เปลี่ยนไปใช้ ปืนเวบเลย์ ขนาด .45

 

ด.ร โจนส์ ยิงสู้กับคนร้ายบนรถบรรทุกด้วย 1917 ในเรื่อง Raider of the Lost Are

 



 


 


 

ปืนของ Indy เป็นปืน โมเดล 1917 ที่ดัดแปลงตัดลำกล้องให้เหลือ 4 นิ้ว จากผู้ที่ศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับปืนในภาพยนต์เรื่องนี้ กล่าวว่าปืนที่ใช้ในฉากต่างๆมีสองกระบอก กระบอกที่หนึ่งที่เห็นชัดๆในตอนแรกที่ Indy จัดกระเป๋าเดินทางนั้นเป็น 1917 ขนาด .45 ACP ส่วนกระบอกที่ใช้ในฉากอื่นเป็น Hand Ejector 2nd Model ขนาด .455 Webleyทราบละเอียดจาก เว็บไซต์ indygear.com

 

ในช่วงปี 1937-38 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพบราซิลก็ได้สั่ง โมเดิล 1917 จากบริษัทสมิทอีก 25,000กระบอก และในช่วงปี 1946-1949 บริษัทสมิทก็นำโครงปืนและชิ้นส่วนที่มีเหลืออยู่มาผลิตขายให้กับประชาชนทั่ว ไป และนั่นก็เป็นการผลิตครั้งท้ายสุดของ โมเดิล 1917

 

.45 Cal Model of 1950 ที่กลายมาเป็น Model 22 ในเวลาต่อมา (ส่วนต่อหน้ากริปเป็นส่วนที่ใส่เพิ่ม)
 

ชาติที่ 2 Model 22 ในมือพลเรือน

ในปี 1952 Smith & Wesson ผลิตปืนที่คล้ายกับ 1917 ออกมาอีกครั้งในชื่อ .45 Hand Ejector Model of 1950 สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมีเพียง 3 อย่างคือ ชุดลั่นไกและนกที่มีจังหวะตวัดสั้นลง, กริปที่มีชื่อว่า Magna grip และการหายไปของห่วงคล้องสายที่ด้ามปืน

.45 CAL Model of 1950  ผลิตจากปี 1952 มาจนถึง 1957 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Model 22 เพราะในช่วงนั้นเป็นครั้งแรกที่ สมิทเรียกชื่อรุ่นปืนทั้งหมดเป็นหมายเลข ผลิต มาจนถึง ปี 1961 ก็ปิดสายการผลิตไป ด้วยจำนวนผลิตเพียง 3,976 กระบอก เดี๋ยวจะกลับมา ที่ Model 22 กระบอกนี้กันอีกครั้งนะครับ

 

ชาติที่ 3 สมิท เฮอริเทจซี่รี่ส์ 1917 เพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ การกลับมาของสิ่งดีๆในวันวาน

อย่างที่ทราบกันครับ ว่าบริษัทสมิท มีแผนกช่างปืนพิเศษที่เรียกกันว่าสมิทเพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ ทีมช่างทีมนี้มีหน้าที่ผลิตปืนในลักษณะคัสตอมเมดที่ผสมผสานเทคโนลี่ทางโลหะ และเครื่องมือสมัยใหม่เข้ากับงานฝีมือที่เราโหยหา ปืนจากเพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ ออกมาสู่ตลาดในจำนวนจำกัด โดยที่เปลี่ยนรุ่นออกไปเรื่อยๆ มีหลายรูปแบบตั้งแต่ปืนที่แต่งออกมาเพื่อการพกซุกซ่อนสำหรับผู้มีรสนิยม ไปจนถึงปืนเพื่อการแข่งขัน ในปี 2002  ทีมเพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ ทำเซอไพรซ์ โดยการนำปืนแห่งตำนานของ สมิทแอนด์เวสสันหลายรุ่นกลับ มาสู่สายตาของ เราอีกครั้ง ในนามของสมิท เฮอริเทจ ซี่รี่ (Heritage Series) ปืนในชุดนี้มีตั้งแต่ .44 สเปเชี่ยล แฮนด์อีเจ็คเตอร์, .45โคลท์ แฮนด์อีเจ็คเตอร์,  .22 ลองไรเฟิล แฮนด์อีเจ็คเตอร์, โมเดล 1917 กระบอกนี้ ฯ

บอกตรงๆเลยว่าพอเห็นโฆษณาของสมิทในนิตยสารปืนต่างประเทศใน ครั้งแรกนั้นผมดีใจจนแทบตกเก้าอี้ และเฝ้ารอวันที่ร้านปืนในเมืองไทยจะสั่งปืนชุดนี้เข้ามาให้ยลโฉมกัน

แรกแกะกล่อง ผมก็ได้สัมผัสกับปืนกระบอกงาม เนื้อเหล็กขัดมันจนเรียบละออตา ผิวของปืนรมดำแบบสมิทไบร์ทบลูที่ไม่พบเห็นกันอีกแล้วในปืนยุคใหม่  ด้ามไม้วอลนัทเนื้องามแกะลายเช็คเกอร์คมและละเอียด รูปร่างของปืนคงสัดส่วนของปืนในยุคของ 1917 ไว้อย่างมีเสน่ห์และแปลกตาไปจากปืนตลาด ดูอะไรๆก็ถูกใจไปเสียหมด เรียกว่ารักแรกพบก็ว่าได้ 

ทีมเพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ สร้าง โมเดล1917 ขึ้นมาใหม่จากโครงปืนโมเดิล 25 ซึ่งก็คือลูกหลานสายตรงของ โมเดล1917 มันไม่ใช้การก็อบปี๊หรือการทำเลียนแบบ แต่อย่างที่บอกก่อนหน้านี้ว่าเป็นการผสมผสานเทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้ากับความ งามแบบเก่าก่อน ดังนั้น เพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ 1917 จึงต่างจาก โมเดล 1917เดิมอยู่บ้าง


 

สมิท โมเดล 1917 มาในกล่องกระดาษแบบคลาสสิกดั้งเดิม ข้างในห่อกระดาษน้ำมันมาเช่นเดิม พอแกะห่อกระดาษออกมาก็ต้องตะลึงกับความงามของสัดส่วนและผิวพรรณ (ปืนนะครับ) ผิวโลหะขัดมันราวกับกระจก การรมผิวเป็นแบบไบรทบลูดั้งเดิมของสมิท ภาพเต็มตัวให้เห็นสัดส่วนที่แตกต่างไปจากปืนในตลาดปัจจุบัน

 



 

ด้านซ้ายมือตอกตราเพอฟอร์มานส์เซ็น เตอร์ไว้  จากภาพนี้ดูออกมั๊ยครับว่ามีอะไรแปลกไปจากปืนสมิทรุ่นปัจจุบัน เฉลย โมเดล 1917 กระบอกนี้มีสกรูไซด์เพลทสี่ตัวแทนที่จะเป็นสามตัวเหมือนรุ่นปัจจุบัน สกรูตัวบนของไซด์เพลตนี้หายไปจากปืนสมิทแอนด์เวสสันตั้งแต่ปี 1955 แต่ก็ยังไม่เหมือน 1917 ของเดิมซะทีเดียว เพราะรุ่นเก่านั้นมีสกรูตัวที่ห้าอยู่ที่หน้าโกร่งไกอีกตัวครับ

 


 
 

ลำกล้องห้านิ้วครึ่งทรงเรียวจากโคน ไปหาปลาย ด้านซ้ายของลำกล้องสักคำว่า “S&W D.A. .45” เหมือนกับรุ่นเดิม

 

ด้ามเป็นไม้วอลนัท เนื้อดีแกะลายเช็คเกอร์ลายข้าวหลามตัดสวยงามมาก

 

จุดแตกต่างอีกอย่าง ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือโครงด้ามของกระบอกนี้เป็น ด้ามแบบราวน์บัทหรือว่าก้นกลม ขณะที่รุ่นเก่าเป็นแควร์บัทหรือก้นเหลี่ยม

 

จุดเด่นประจำรุ่นที่ยังคงอยู่คือ ห่วงสำหรับร้อยสายที่ส้นด้าม อันนี้ฝรั่งเขาเรียกว่าแลนด์ยาร์ด

 

ลำกล้องหกเกลียวเวียนขวา ขณะที่ปืนรุ่นใหม่ของสมิทส่วนใหญ่ใช้ลำกล้องห้าเกลียว

 

โมเดิล 1917 รุ่นนี้ผลิตขึ้นมาจากโครงปืนของโมเดล 25-12 ซึ่งเป็นปืนลูกโม่

 

.45รุ่นปัจจุบันของ สมิท กระบอกนี้เป็นกระบอกที่ 107 จากจำนวนผลิตที่ไม่มากนัก

 

ศูนย์หลังเป็นร่องอยู่บนโครงปืนปรับ ไม่ได้

ศูนย์หน้าเป็นแบบครึ่งวงกลม เช่นเดียวกับรุ่นเก่า แต่ที่ต่างกันคือ ใบศูนย์ยึดไว้ด้วยหมุดสามารถถอดเปลี่ยนได้ ในขณะที่ของรุ่นเดิมเป็นชิ้นเดียวกับตัวลำกล้อง
 

บานพับโม่แนบสนิทชิดกับโครงปืนกว่าปืนรุ่นใหม่ๆ อันนี้เป็นจุดหนึ่งที่แสดงถึงความประณีตในการผลิต
 

รุ่นนี้ใช้เข็มแทงชนวนแบบฝั่งอยู่ ที่โครงปืนแล้วนกจึงหัวตัดๆแบบนี้

“ ทีมเพอฟอร์มานส์เซ็นเตอร์ สร้าง 1917 ขึ้นมาใหม่ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้ากับความงดงามของวันวานที่ เราโหยหา บอกแบบไม่กลัวใครจะว่าเชียร์ปืนเกินเหตุเลยว่ามันเป็นปืนที่สวยที่สุดที่ผม เคยเห็นมากระบอกหนึ่งเลย

เราไม่ได้ทำการยิงทดสอบปืนกระบอกนี้ด้วยเหตุผลที่อยากจะให้ เจ้าของตัวจริงของมันได้ยิงมันเป็นคนแรก แต่จากฝีมือการผลิตที่ได้สัมผัสและชื่อเสียงที่ไว้ใจได้ของสมิทเพอฟอร์มานส์ เซ็นเตอร์ ผมไม่มีข้อสงสัยเลยว่ามันจะต้องเป็นปืนที่ยิงดีมากกระบอกหนึ่ง 

ขณะที่เขียนต้นฉบับนี้ผมยังลูบคลำ สมิท 1917กระบอกนี้อยู่ในมือ ผมต้องพยายามตัดใจนำมันไปส่งคืนร้านไกอาร์มทั้งๆที่อยากจะเก็บมันไว้ใจจะขาด บางครั้งสิ่งที่เราเฝ้ารอก็ผ่านมาหาในเวลาที่เราไม่สามารถครอบครองไว้” นั่นคือสิ่งที่ผมเขียนเป็นข้อความปิดท้ายไว้ใน Guns World โดยที่ไม่ได้คิดว่าโอกาสบางอย่างจะกลับมาเป็นครั้งที่สอง รออ่านเรื่องนี้ให้จบนะครับ
 

 

 

 

ชาติที่ 4 Ultimate Fighting Revolver โดย Thunder Ranch

ตอนที่เขียนบทความลงใน Guns World ผมนึกว่าเรื่องราวของ Model 22 หรือ 1917 จะจบแค่นั้น แต่ก็มีคนทำให้เรื่องราวบานปลายอีก คนนั้นชื่อ Clint Smith ครับ 

Clint Smith คือไดเร็คเตอร์ และเจ้าของสถาบันสอนยิงปืนที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี ในหน่วยรบนาวิกโยธิน, ตำรวจ จนมาถึงครูสอนยิงปืนในปัจจุบัน คลิ๊นท์ ก็น่าจะเป็นคนหนึ่งที่พอจะเชื่อได้ในเรื่องปืนสั้นต่อสู้กระมังครับ

ในขณะที่โลกปืนสั้นป้องกันตัวหมุนไปหาปืนออโตลูกดกจนแทบจะ ไม่มีใครสนใจปืนลูกโม่ คลิ๊นท์กลับมองว่าเจ้าปืนลูกโม่ทรงโบราณนี่แหละเหมาะมากสำหรับการต่อสู้ ป้องกันตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่มีลำกลัองรูโตๆพ่นหัวกระสุนหนักๆออกไปได้อย่าง แม่นยำ ที่สำคัญต้องขนาดไม่

#คาวบอย
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
14 มิ.ย. 53 เวลา 16:07 7,859 8 78
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...