สบู่จากความสะอาดสู่ความงามแห่งผิวพรรณ

http://www.thairath.co.th/content/520041

สบู่จากความสะอาดสู่ความงามแห่งผิวพรรณ

สบู่ในยุคแรกทีไว้เพื่อการซักล้าง.

คอลัมน์ไทยรัฐซันเดย์สเปเชียลโดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูนสัปดาห์นี้ขอเขียนถึงของใกล้ตัวที่ทุกบ้านล้วนมีกัน ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ความเป็นมาของสิ่งนี้กันนัก นั่นก็คือ “สบู่”

เริ่มด้วยคำว่า “สบู่” ในภาษาไทย เป็นคำที่แปลงมาจากคำว่า “soap” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า “sapo” ที่หมายถึงสบู่เช่นกัน ในทางเคมี สบู่เป็นผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของไขมันในตัวกลางที่เป็นด่างหรือปฏิกิริยาที่เรียกว่า Saponification หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าไขมันเจอกับด่างที่เป็นสารละลาย โซเดียม ไฮดรอกไซด์ (NaOH เรียกกันทั่วไปว่า โซดาไฟ) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) หรือน้ำขี้เถ้าก็จะกลายร่างเป็นสบู่ได้ทั้งสิ้น

สบู่นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่อารยธรรมยุคแรกๆของมนุษย์เราเลยทีเดียว คือตั้งแต่สมัยบาบิโลน เมื่อราว 2,800 ปีก่อนคริสตกาล ทั้งนี้ก็เพราะมีการขุดพบไหใบหนึ่งซึ่งภายในมีเศษวัตถุที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ผสมกับขี้เถ้าไม้ เชื่อกันว่าการทำวัตถุที่ว่าขึ้นมาในยุคแรกๆนั้น ไม่น่าจะทำเพื่อการใช้ทำความสะอาดร่างกาย แต่สันนิษฐานว่าสำหรับใช้ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้มากกว่า ในยุคต่อมาชาวฮีบรูก็ทำวัตถุคล้ายกันนั้นมาใช้เพื่อการซักล้างด้วย

ราวศตวรรษที่ 2 ชาวกรีกเริ่มรู้จักใช้สบู่เพื่อการรักษาโรคและทำความสะอาดร่างกาย ต่อเนื่องไปจนถึงยุคโรมันเรืองอำนาจ เชื่อกันว่ายุคนั้นชาวโรมันทำสบู่ขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะชาวโรมันนิยมอาบน้ำกันอย่างยิ่ง แต่หลังจากสิ้นยุคโรมัน สบู่ก็เหมือนกับจะหายไปจากยุโรป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดขึ้นในยุโรปหลายต่อหลายครั้ง เพราะการเป็นอยู่ที่สกปรกของผู้คนนั่นเอง

สบู่ อยู่เคียงคู่กับสตรีมาอย่างยาวนาน.

ในศตวรรษที่ 7 มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าการผลิตสบู่เกิดขึ้นอีกครั้งในสเปนและอิตาลี โดยทำจากไขมันแพะผสมกับขี้เถ้าจากไม้บีช และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่ฝรั่งเศสก็เริ่มทำสบู่จากน้ำมันมะกอก และหลังจากนั้นจึงเริ่มมีการผสมส่วนประกอบอื่นๆ เข้าไปเพื่อให้มีกลิ่นหอมขึ้นมา สำหรับใช้เพื่อการชำระล้างร่างกาย ว่ากันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สั่งตัดคอคนทำสบู่ไปถึงสามคน เนื่องจากสบู่ของพวกเขาทำให้พระฉวีเกิดอาการแพ้ขึ้นมา

ที่ตะวันออกกลางมีหลักฐานเป็นเอกสารที่บอกให้ทราบว่า ที่นั่นมีการผลิตสบู่ออกมาใช้กันแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 และสบู่กลายเป็นสินค้าที่สำคัญในศตวรรษต่อมา แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่เมืองนาบลัส (Nablus แถบเวสต์แบงก์ ของปาเลสไตน์), ดามาสคัส (Damascus) และอัลเลปโป (Aleppo) ประเทศซีเรีย ซึ่งสบู่ที่ผลิตที่เมืองนี้มีเอกลักษณ์พิเศษ คือ จะใช้ส่วนผสมของน้ำมันมะกอกกับน้ำมันจากใบ Laurel ที่ให้กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสินค้าสัญลักษณ์เด่นของเมืองและสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมาจนถึงทุกวันนี้

ไปที่ประเทศอังกฤษบ้าง เมืองผู้ดีเริ่มทำสบู่ขึ้นมาใช้เองราวศตวรรษที่ 12 เช่นกัน และในปี ค.ศ.1633 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงพระราชทานสิทธิ์ในการทำสบู่แต่เพียงผู้เดียวแก่สมาคมผู้ผลิตสบู่แห่งเวสต์มินสเตอร์ (Society of Soapmakers of Westminster) ซึ่งทำมาจากส่วนผสมของกรดไขมันจากพืชหรือสัตว์กับด่างที่ทำจากโพแทสเซียม ไฮดรอกไซด์ หรือ โซเดียม ไฮดรอกไซด์ แสดงให้เห็นว่ายุคนั้นการใช้สบู่ที่อังกฤษเป็นที่นิยมและแพร่หลายมากแล้ว การใช้สบู่ที่อังกฤษเพิ่มมากขึ้นอีกในยุคของควีนเอลิซเบธที่ 1 ว่ากันว่าสมัยนั้นการใช้สบู่ของชาวเมืองผู้ดีใช้สบู่กันมากกว่าชาติใดๆ ในทวีปยุโรปทั้งหมด

ส่วนสบู่อย่างที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ 1 ความต้องการใช้สบู่เพื่อทำความสะอาดบาดแผลและซักล้างสิ่งสกปรกต่างๆ พุ่งขึ้นสูงมาก ขณะที่ส่วนผสมต่างๆ เพื่อทำสบู่กลับขาดแคลน นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงคิดค้นสบู่ที่มีส่วนผสมใหม่ขึ้นมาจากสารสังเคราะห์ต่างๆหลายชนิด ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของ detergent หรือผงซักฟอกที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ด้วย ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องแล้ว สบู่แบบที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ควรจะเรียกเป็นสารชำระล้างร่างกาย ไม่ใช่สบู่ เพราะส่วนผสมต่างกันมากเมื่อเทียบกับ soap หรือสบู่ในยุคก่อนหน้านั้น

ในโรงอาบน้ำของชาวโรมัน มีการใช้สบู่กันอย่างแพร่หลาย.

ส่วนกระบวนการผลิตที่ทันสมัยเกิดขึ้นที่สหรัฐฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งได้พัฒนากระบวนการผลิตจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์แต่ละลอต เป็นเหลือเวลาเพียงวันเดียว

นอกจากนั้นยังมีผู้ผลิตรายใหญ่อีกรายหนึ่งในสหรัฐฯ ที่สร้างตำนานของสบู่คุณภาพขึ้นมาในปี ค.ศ.1925 โดยเน้นความหอมติดผิวและราคาไม่แพง ในชื่อที่บอกออกมาคนยุคนี้ก็ต้องร้อง “อ๋อ” นั่นก็คือ LUX ที่หมายถึงแสงสว่างในภาษาละติน บวกกับความหรูหราแบบ Luxury ของสบู่คุณภาพสูงมาตรฐานฝรั่งเศส จนกลายเป็นที่นิยมของผู้หญิงทั่วอเมริกา ในฐานะ “สบู่เพื่อความงามแห่งผิวพรรณ” และสร้างความนิยมข้ามทวีปไปที่ประเทศอังกฤษในปี 1928 จากนั้นขยายต่อไปในทุกทวีปครอบคลุมกว่า 100 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย และยังมี “ลักส์ สตาร์” ซึ่งก็คือดาราภาพยนตร์ระดับซุปเปอร์สตาร์ที่หลงใหลในเสน่ห์ของสบู่ยี่ห้อนี้กว่า 400 คนจากทั่วโลก อาทิ มาริลีน มอนโร, ออเดรย์ เฮปเบิร์น, เกรซ เคลลี ที่สร้างและส่งต่อแรงบันดาลใจให้เหล่าลักส์ สตาร์ และสาวๆทั่วโลกเป็นเจ้าของผิวหอมนุ่มเกินห้ามใจที่เริ่มตั้งแต่การอาบน้ำมายาวนานถึง 90 ปี จนขึ้นแท่นเป็นสบู่ที่ขายดีอันดับหนึ่ง คือราว 12 ล้านก้อนต่อวัน!

ทุกวันนี้เมื่อเดินไปดูตามชั้นวางขายสบู่ จะพบว่ามีสบู่จำนวนมากวางขายอยู่ ทั้งแบบก้อนและแบบเหลว ซึ่งสบู่บางแบบก็มีส่วนผสมหรือกลิ่นหอมบางชนิดเพื่อผลเฉพาะอย่างที่มากกว่าแค่ทำความสะอาดผิวกายหรือผิวหน้าเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นครีมบำรุงผิว น้ำผึ้ง สมุนไพรหลากชนิด ฯลฯ แต่ส่วนประกอบหลักที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือ น้ำหอมหรือน้ำมันชนิดต่างๆที่นำมาผสม แล้วสบู่ที่มีส่วนผสมต่างชนิดกันจะมีคุณประโยชน์ต่างกันอย่างไร?

ผมมีข้อมูลย่อๆ ที่สามารถนำไปประกอบการตัดสนใ ซือ4บูୈมา6ห#ดู'ันครับ

น้ำหอมกลิ่นดอกำล้

29 ก.ย. 58 เวลา 02:53 2,146 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...