บอร์ด
กระทู้: ภาวะวิกฤตของสายการบิน กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป

     วิกฤต Covid-19 ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ กระทบทั้งวิถีการดำเนินชีวิต อาชีพ การทำมาหากิน เศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคน เรียกได้ว่าในรอบ 50 ปีที่ผ่านมานอกจาก Iphone ของสตีฟจ็อบ ที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ได้ ก็มีแต่โรคนี้แหละที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมหลายๆอย่างของมนุษย์ และคาดว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งนี้จะเป็นมาตรฐานระยะยาว หรือ New Normal ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

              New Normal หลายๆอย่างกระทบกับการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งหลายๆแบรนด์ก็ต้องปรับตัวตามอย่างเลี่ยงไม่ได้ และหลายๆ New normal แทบจะทำให้ธุรกิจบางประเภทต้องปรับตัวกันอย่างฉุกเฉิน เพราะ New Normal นั้นๆ จะทำให้ธุรกิจกระทบระยะยาว หากไม่ปรับตัวแย่แน่นอน ซึ่ง 1 ในธุรกิจที่ต้องโดนวิกฤต New Normal มากระทบสูงสุดในตอนนี้นั่นคือ ธุรกิจ การท่าอากาศยาน และ สายการบิน

          การท่องเที่ยวในช่วงต่อจากนี้น่าจะเริ่มที่สถานที่ท่องเที่ยวที่ “อยู่ใกล้” ที่พักที่สุดก่อน เป็นการเดินทางที่เหมาะกับการจำกัดพื้นที่การโดยสารให้เป็นพื้นที่ที่คนน้อยที่สุด อาทิ การขับรถไปเอง รถตู้สาธารณะ การเดินทางโดยเครื่องบินระยะยาวล้วนแต่ไม่สะดวก ไม่ว่าจะเป็น Social Distancing การ “เว้นที่นั่งบนเครื่องบิน” ที่ทำให้ต้นทุนการเดินทางโดยเครื่องบินสูงขึ้น (แม้แต่สายการบิน Low cost ก็เถอะ) จากการสำรวจราคาตั๋วเที่ยวบินในประเทศไทยที่เริ่มเปิดบินตั้งเเต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา เส้นทางอุบลราชธานี-ดอนเมือง ราคาตั๋วเฉลี่ยของสายการบินต่างๆ จะอยู่ที่ราว 1,400 – 2,500 บาท (ตามระยะการจองล่วงหน้า 1 สัปดาห์) เเพงขึ้นจากช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 ที่ตอนนั้นเเข่งราคากันอย่างมาก (ที่มา : https://positioningmag.com/1277952) โดยคาดว่าอย่างน้อยครึ่งปีหลังในประเทศการท่องเที่ยวจะเป็นรูปแบบนี้ไปค่อนข้างแน่นอน ดูได้จากสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่รอบกรุงเทพฯที่ใกล้ๆ อาทิ หัวหิน ชะอำ บางแสนเป็นสถานที่ที่แออัดมาก

           และเมื่อการท่องเที่ยวแบบ New Normal เป็นแบบนี้ธุรกิจที่โดนผลกระทบหนักที่สุดคงไม่พ้นการท่าอากาศยานและสายการบินที่คาดว่าในระยะสั้นคงยังไม่ฟื้นตัวอย่างแน่นอน การคาดการณ์ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATA) คาดการณ์ว่าอย่างน้อย 3 ปีที่จะพลิกฟื้นอุตสาหกรรมตรงนี้ขึ้นมาได้  แต่ดูจากรูปการณ์ นี่ก็เข้าเดือนที่ 6 ของปี หลายๆ เมืองระบาดรอบที่ 2 กันรอบ (อย่างที่ญี่ปุ่น เกาหลี และปักกิ่ง) 3 ปีไม่น่าจะเอาอยู่แล้ว  มันแย่กว่าที่คิดไว้เยอะมาก สายการบินใหญ่ สนามบินใหญ่ต้องเจอภาวะขาดทุนแบบยาวนาน จะทำเช่นไร? ความหวังของธุรกิจเหล่านี้ก็คงได้ต้องพึ่งพารัฐบาลว่าจะเข้ามาช่วยได้มาก – น้อยแค่ไหน

   ซึ่งข้อมูลจาก IATA  สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่มองว่า ทิศทางการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปี 2563 จะยังไม่สามารถพลิกกลับมาเป็นบวก โดยรายได้ท่องเที่ยวทั้งจากตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยเที่ยวในประเทศทั้งปีอาจสูญเสียไปราว 1.69 ล้านล้านบาทและแม้ในปี 2564 จะฟื้นตัว ก็คงจะยังไม่กลับไปสู่สถานการณ์ก่อนโควิด-19 จึงเป็นช่วงที่ลำบากของธุรกิจ
เพราะธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องเจอโจทย์ท้าทายสูงภายใต้สภาวะ New Normal กว่าที่บรรยากาศจะกลับมาเอื้อต่อการเดินทาง คงจะไม่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ขณะที่มาตรการภาครัฐบางประการยังจำเป็นต้องคงไว้ เช่น การควบคุมการเดินทางเข้าออกของนักท่องเที่ยวต่างชาติและไทย การบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อลดความหนาแน่นของนักท่องเที่ยว รวมทั้งกำลังซื้อ และความกังวลของนักท่องเที่ยวเองก็เป็นปัจจัยประกอบด้วยเช่นกัน (ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/167048)
หวังว่ารัฐบาลจะเข้ามาช่วยธุรกิจนี้เพราะว่าประเทศไทยเป็นอีก 1 ประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลัก เรียกได้ว่าธุรกิจอากาศยานเป็น 1 ในธุรกิจหลักที่ช่วยหาเงินหล่อเลี้ยงประเทศ และหลังจากภาวะวิกฤตนี้ผ่านพ้นไป ก็จะกลับมาเป็นธุรกิจความหวังที่ทำรายได้ก้อนใหญ่ให้ประเทศเหมือนเดิม ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอเราเชื่อเช่นนั้น

เครดิต: https://pantip.com/topic/40019030

 

28 มิ.ย. 63 เวลา 22:59 3,116 1
โพสต์โดย

cookiemania


เด็กกองถ่าย
  • ความเห็นที่ 1

    ผมว่าไม่ใช่แค่สายการบินที่จะอยู่ยากตอนนี้
    มันไปถึงธุรกิจพวกที่อยู่ในสนามบินที่รายได้หลักจะเป็นจากนักท่องเที่ยวอย่างดิวนี้ฟรีอย่างคิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรีไทย

    ที่ตอนนี้ยังจ่ายเงินเดือนให้พนักงานเติมจำนวนและไม่มีการปลดพนักงานเลย ซึ่งหากยังเป็นแบบนี้อีกนานแค่ไหนก็ไม่รู้

    ตอนนี้ก็ต้องดูกันต่อไปละว่ารัฐเองจะออกมาตรการเยียวยายังไง

    โพสต์เมื่อ 28 มิ.ย. 63 เวลา 23:54
    โดย

    eikillman

    คนดู