บอร์ด
กระทู้: เมื่อโลกของน้ำมันจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ปตท. วางหมากเดินเกมต่ออย่างไร ?

ในระยะหลังมานี้น้ำมัน ถือเป็นพลังงานที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ โดยได้กลายเป็นพลังงานที่มีความต้องการใช้ของผู้บริโภคลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการขายของผู้ผลิต กลับมีการผลิตกันออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จนกระทั่งเกิดภาวะที่เรียกว่า oversupply และส่งผลต่อราคาที่ปรับตัวลดลง จนถึงขั้นทำให้ผู้ประกอบการน้ำมันบางรายถึงกับต้องล้มละลาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีโรคระบาดใหญ่ทั่วโลกอย่าง COVID-19  เข้ามา ยิ่งทำให้ความต้องการใช้น้ำมันมีน้อยมากจากมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก 

สำหรับประเทศไทย ผู้ดำเนินธุรกิจพลังงานที่ใหญ่ที่สุดก็คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยที่ผ่านมา ปตท. ถือว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมันโลกเช่นกัน โดย Techsauce ได้พูดคุยกับ คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนที่ 9 ของ ปตท. ถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งได้มีการอธิบายถึงที่มาที่ไปของน้ำมันในประเทศไทย รวมถึงการปรับตัว และการนำนวัตกรรม มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน

ที่มาที่ไปของการเดินทางของน้ำมันดิบในประเทศไทย 

คุณชาญศิลป์อธิบายว่า ...พื้นฐานการใช้พลังงานในประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำมัน เช่น น้ำมันดิบ ประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรล ซึ่งมาจากการนำเข้าประมาณ 80-90% ขณะเดียวเราสามารถผลิตได้เองประมาณ 10-20% เท่านั้น โดยการนำเข้าน้ำมันดิบส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศในตะวันออกกลาง และในภาคพื้นอื่น ๆ เช่น เอเชีย ตะวันออกกลาง รวมทั้งแอฟริกาและอเมริกา ส่วนราคาของน้ำมันจะขึ้นอยู่กับราคาฐานที่ดูไบ ซึ่งเชื่อมโยงกับน้ำมันดิบ Brent ที่ทะเลเหนือ และเชื่อมโยงกับน้ำมันดิบที่ WTI (West Texas Intermediate) ทางฝั่งสหรัฐอเมริกา

เดิมทีน้ำมันดิบเกิดขึ้นมาเป็น 100 ปีแล้ว  โดยเกิดขึ้นที่ทะเลเหนือและอเมริกาก่อน จากนั้นมาที่เอเชีย ดังนั้นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงจากแหล่งที่มีกำลังการผลิตสูง แต่เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว กลุ่มตะวันออกกลาง หรือที่เรียกว่ากลุ่ม OPEC มีสมาชิก 10 ประเทศ มีกำลังผลิต 60-70% ของโลก หลังจากนั้นเมื่อมีเทคโนโลยี มีการผลิต และการแสวงหาแหลางน้ำมันไปเรื่อย ๆ ก็มีกลุ่ม Non-OPEC (โดยเฉพาะรัสเซียและอเมริกา)เกิดมากขึ้น ฉะนั้นจึงทำให้ทุกวันนี้กลุ่ม OPEC มีกำลังการผลิตประมาณ 30-40% ของการผลิตน้ำมันดิบของโลกเท่านั้น 

ก่อนหน้านี้อเมริกาบริโภคน้ำมันและนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ แต่ตอนนี้อเมริกาสามารถผลิตน้ำมันเองได้ เข้าโรงกลั่นเอง อีกทั้งยังส่งออกได้ด้วย ดังนั้นเมื่อความต้องการลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นต้นมา ทำให้ความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปลดลงรวดเร็ว 

ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดีเซล ที่ใช้สำหรับรถบรรทุก รถยนต์ต่างๆ หรือในโรงงาน ก็จะลดลงประมาณ 30-40% ส่วนน้ำมันแก๊สโซลีน ที่ใช้สำหรับรถยนต์ส่วนตัว จะลดลงไปประมาณ 40-50% เพราะบางประเทศมีการ lockdown และเคอร์ฟิว ไม่ให้คนเดินทาง ส่วนน้ำมันเครื่องบิน ลดลงไปประมาณ 70-90% เพราะมีข้อห้ามไม่ให้มีคนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ฉะนั้นน้ำมันเครื่องบินจะกระทบมากที่สุด 

สำหรับการกลั่นน้ำมันดิบมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและกระบวนการของโรงกลั่น โดยส่วนใหญ่จะกลั่นได้แก๊ส LPG ก่อน 5-10% แก๊สโซลีนหรือน้ำมันเบนซิน 15-20% น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน 40-45% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นน้ำมันเตา เช่น ยางมะตอยและน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 

การปรับตัวของผู้ค้าน้ำมัน เมื่อดีมานด์ลดลงอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงกลั่น 6 แห่ง ได้แก่ 1. โรงกลั่นไทยออยล์ 2. โรงกลั่น Global Chemical GC 3. โรงกลั่น IRPC 4. โรงกลั่น ESSO 5. โรงกลั่นบางจาก 6. โรงกลั่น SPRC โดยจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกโรงกลั่นมีการปรับตัวโดยการลดกำลังการผลิตตามความต้องการใช้ภายในประเทศ

สำหรับกลุ่มปตท. ได้มีการดูแลพนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ให้มีการทำงาน จากที่บ้านตามมาตรการของรัฐบาล และสามารถดำเนินธุรกิจในเรื่องการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานและเศรษฐกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะพลังงานมีส่วนสำคัญในเศรษฐกิจอย่างมาก 

จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในกลุ่มของปตท.ทั้งหมด ธุรกิจที่กระทบน้อยมาก คือ ธุรกิจการผลิตไฟฟ้า (GPSC) อย่างที่ทราบว่าเรามีเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติที่มาใช้กับการผลิตไฟฟ้า 40-50% โดยที่เรานำเข้ามาจากอ่าวไทย พม่า และต่างประเทศ ที่ทำให้ต้นทุนถูกลง และราคาในต่างประเทศลดลง เราก็นำเข้ามามากขึ้น 

นอกจากนี้ปตท.ยังมีการทำน้ำมัน Bio ไม่ว่าจะเป็น Bio Diesel ที่ช่วยน้ำมันปาล์ม หรือแม้กระทั่งเอทานอล ที่ช่วยธุรกิจอ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการส่งเสริมนโยบายที่ช่วยเกษตรกร และช่วยสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

 

 

สนับสนุนคุณภาพโดย Slotxo สล็อตxo

26 พ.ค. 63 เวลา 23:16 222