บอร์ด
กระทู้: EA anywhere สถานีชาร์จรถไฟฟ้าในไทย รองรับยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด

               ว่าด้วยสถานการณ์รถไฟฟ้าในประเทศไทยที่ยังไงก็ต้องบอกว่ามาแน่ๆ เห็นได้จากใน 2 ปีที่ผ่านมาค่ายยักษ์ใหญ่ต่างผลิตรถไฟฟ้าของตัวเองออกมาโชว์กันอย่างเต็มที่ อีกทั้งประเทศไทยก็เหมือนจะตอบรับกับกระแสที่กำลังมา ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ และเรื่องของการรองรับรถใหม่ๆที่กำลังเข้ามาทำการตลาดในประเทศ

                เรื่องตัวรถ จขกท. เคยพูดถึงในกระทู้ก่อนๆมาละว่าราคาตัวไหนเป็นยังไง และยังบอกคำเดิมคือยังสนใจรถไฟฟ้าที่ราคาไม่แรงมากนัก เต็มที่คือไม่เกิน 7 – 8 แสนบาท (เกินนั้นส่วนตัวมองว่าเล่นรถน้ำมันประเภท Eco car เลยดีกว่า) แต่ปัญหาของรถขนาดที่ จขกท. มองเนี่ยมีปัญหาหลักๆเลยคือ ขนาดของแบตเตอรี่ เพราะราคารถที่ไม่แรงจะมาพร้อมขนาดของแบตเตอรี่ที่ไม่เยอะมากนัก ดังนั้นสิ่งที่จะต้องดูก่อนซื้อเลยคือ ประเด็นขนาดแบตเตอรี่ และ สถานีชาร์จที่ครอบคลุมการเดินทาง เพราะคิดไว้แล้วว่ารถไฟฟ้าคือ “รถหลัก”  ในการเดินทางไป-กลับในการทำงาน และเดินทางระยะสั้นในรัศมี 200 Km ต้องมีที่ชาร์จ

ประเด็นของแบตเตอรี่ส่วนตัวมองว่าคงต้องพึ่งเทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิตจริงๆ เพราะการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในรถยนต์สมัยใหม่นั้นถือว่าเป็นจุดชี้ขาดอย่างนึงเหมือนกัน อาทิ  Mine Mobility ของไทยที่ถึงขั้นไปซื้อหุ้นของบริษัท Amita Technologies ผู้นำในธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนโพลิเมอร์ ไต้หวัน ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2559 โดย Know How ตรงจุดที่เป็นเจ้าของส่วนนึง (ไม่ได้ Outsource แบต) จะทำให้เทคโนโลยีพัฒนาไปได้ไกล และถูกกว่า

ประเด็นสถานีชาร์จในไทย ตอนนี้ที่รุกหนักที่สุดคือภาคี EA anywhere ที่มียักษ์ใหญ่ 4 บริษัทได้แก่ บริษัท เชฟรอน (ไทย)จำกัด, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท บริดจสโตนเอ.ซี.ที (ประเทศไทย), และ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) หรือ ROBINS ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่การให้บริการและการดำเนินธุรกิจของพันธมิตรทั่วประเทศเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) จึงเชื่อมั่นว่าเป้าหมายการเปิดให้บริการทั้งสิ้น 1,000 สถานีน่าจะทำได้จริง

                                  

              ส่วนตัว จขกท. ได้เห็นสถานีชาร์จไฟมาบ้างแล้วตามปั้มที่ตั้งอยู่บนถนนสายหลักๆที่ใช้เดินทางบ่อยๆ ทั้งแบบธรรมดาที่เค้าบอกว่าใช้เวลาชาร์จประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง และแบบชาร์จเร็ว หรือที่เรียกกันว่ Quick Charge ที่สามารถชาร์จได้ภายใน 15 นาที (จริงๆการตัดสินใจจะซื้อรถไฟฟ้า ก็เพราะเห็นสถานีชาร์จตามทางกลับบ้านพอดีเนี่ยแหละ) ซึ่งรถที่มองวิ่งได้ราวๆ 200 Km ก็น่าจะเพียงพอในการเติมไฟระหว่างทางได้ เพราะเป็นจังหวะแวะพักพอดี  แต่ถึงยังไงการชาร์จหลักก็ต้องมาจากที่บ้านอยู่ดี

                                                     

                     สุดท้ายนี้ถ้าใครจดๆจ้องๆจะซื้อรถไฟฟ้า ก็ให้มั่นใจและหาข้อมูลเชิงลึกในรุ่นที่ตัวเองสนใจได้แล้ว เพราะมั่นใจได้ว่าสถานีชาร์จจะไม่เป็นปัญหาในอนาคตแน่นอน

                                    

14 ส.ค. 62 เวลา 12:18 311