วิญญาณหัวขาดสุดเฮี้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ

ต้อนรับเทศกาลฮาโลวีน กับเรื่องราววิญญาณหัวขาดสุดเฮี้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ ที่ถูกเล่าขานมาอย่างยาวนาน ว่าวิญญาณของพระนางยังคงวนเวียนสร้างความเฮี้ยนอยู่บนหอคอยลอนดอน โดยการถือศีรษะเดินผ่านไปมาให้ผู้คนพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง…วันนี้ทีนเอ็มไทยจะขอเปิดกรุเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของพระนางให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน แต่เรื่องราวอาจะยาวไปสักหน่อย อย่าเพิ่งเบื่อนะคะ

 วิญญาณหัวขาดสุดเฮี้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ

แอนน์ โบลีน (Anne Boleyn) ถือได้ว่าเป็นดวงวิญญาณที่มีความเฮี้ยนมากที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีตำนานที่เป็นเรื่องจริงเป็นเครื่องการันตี โดยภาพที่ผู้คนมักได้เห็นความสยดสยองก็คือ ร่างขององค์ราชินิที่ไม่มีศรีษะนั่งอยู่บนรถม้าที่ไม่มีหัวหรือไม่ก็ปรากฎอยู่บนหอคอยลอนดอน

โดยเรื่องราวเริ่มต้นจาก พระนางแอนน์ โบลีน (Anne Boleyn) เป็นบุตรีของเซอร์ทอมัส โบลีน กับเลดีเอลิซาเบธ โบลีน และได้เป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และเป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ (ต่อมาเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1) พระองค์มีพี่น้องอยู่ 5 คน เสียชีวิตแต่เล็ก 2คน เหลือพี่สาวของแอนน์คือ แมรี โบลีนและน้องชายของแอนน์คือ จอร์จ โบลีน

แอนน์ โบลีน (Anne Boleyn)

ในปี พ.ศ. 2064 พระนางถูกบิดา สั่งให้แต่งงานกับญาติของพระนางคือ เจมส์ บัทเลอร์แต่เจมส์ก็เสียชีวิตเสียก่อน แอนน์ โบลีนจึงได้ถูกส่งเข้าราชสำนักเพื่อรับใช้สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน

หลังจากนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษได้ทรงเบื่อพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอน เนื่องจากโดยเวลานี้พระนางแคทเทอรีนประสบปัญหาจากการมีบุตร และพระนางแคทเทอรีนนั้นมีพระชนมายุสูงวัยกว่าพระเจ้าเฮนรี

ทำให้ในปี พ.ศ. 2068 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษเกิดตกหลุมรักแอนน์ โบลีนและต้องการนาง ทำให้พระเจ้าเฮนรีหาเหตุที่ว่าพระนางแคทเทอรีนเคยอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอาเทอร์นั้นเป็นการผิดบัญญัติแห่งพระเจ้า พระองค์ต้องการหย่ากับพระนางแคทเทอรีน  และทรงถูกขับไล่ออกไปจากพระราชวัง

พระเจ้าเฮนรีที่ 8

ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราว พระราชอำนาจหลังพระราชบัลลังก์ฉายเด่นชัดจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ “คนของพระราชา” และ “คนของพระราชินี” แม้จนเมื่อท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จะทรงมีชัยชนะเหนือพระมเหสี สามารถสำเร็จโทษพระนางได้ ด้วยการกล่าวหาว่าพระนางสมสู่กับน้องชายแท้ๆ ของพระนางเอง แต่ความแตกร้าวก็ยังคงมีอยู่ไม่รู้จบ พระองค์ถูกกล่าวขานถึงว่า “ราชินีแห่งอังกฤษที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมี”

ในช่วงแรกชีวิตคู่ก็มีความสุข แต่พอนานๆ เข้าความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียด พระเจ้าเฮนรีทรงไม่ชอบท่าทางของแอนน์ที่ทำเพื่อตนเองและชอบโต้แย้งกับพระองค์ หลังจากการล้มเหลวจากการได้บุตร พระเจ้าเฮนรีมองการล้มเหลวเป็นการทรยศพระองค์ ในวันคริสต์มาสพระเจ้าเฮนรีได้สนทนากับทอมัส เครนเมอร์ และ ทอมัส ครอมเวลล์ในเรื่องการขับไล่พระนางแอนน์ โบลีน และให้พระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนกลับมา

พระราชินีแอนน์

พระนางแอนน์ไม่เกรงกลัวต่ออันตรายใดๆ ทรงใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย พระนางพยายามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง และได้มีการสั่งประหารศัตรูของพระนาง ผู้ซึ่งต่อต้านนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์

ต่อมาในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2079 ข่าวการสวรรคตของพระนางแคทเทอรีนก็ได้ทราบถึงพระเจ้าเฮนรีและพระนางแอนน์ ทั้งคู่ได้ทรงฉลองพระองค์สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่ไม่เป็นมงคลสำหรับสเปนจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ หลังจากมีการชันสูตรพระศพของพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนได้พบว่า หัวใจของพระนางกลายเป็นสีดำ บางคนเชื่อว่าไม่พระเจ้าเฮนรีก็พระนางแอนน์ได้ลอบวางยาพิษพระนางแคทเทอรีน แต่บ้างก็ว่าพระเจ้าเฮนรีทรงเสียพระทัยในการจากไปของพระนางแคทเทอรีนอย่างมาก

หลังจากนั้นพระนางแอนน์ทรงพระครรภ์อีกครั้ง ในเดือนต่อมาพระเจ้าเฮนรีได้ทรงตกม้าจากการแข่งขันทำให้ทรงบาดเจ็บมาก ดูเหมือนว่าพระองค์อาการหนักมาก เมื่อข่าวล่วงรู้ถึงพระนางแอนน์ ทำให้พระนางตกพระทัยเป็นอันมากจนถึงขนาดทรงแท้งทารกชายในครรภ์ที่มีอายุเพียง 15 สัปดาห์ เหตุการณ์ครั้งนี้บังเกิดขึ้นในวันฝังพระศพของพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอน จึงทำให้พระนางแอนน์มีบุตรีคนเดียวคือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ และเหตุการ์ณต่างๆ เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อนางเจน เซมัวร์นางสนองโอษฐ์ในพระราชาเข้ามาอยู่ในราชวังและแล้วเรื่องการคบชู้สู่ชาย การร่วมประเวณีกับผู้ใกล้ชิด และการทรยศ ก็เกิดขึ้น

ในวันสุดท้ายของเดือนเมษายน นักดนตรีชาวเฟลมมิชที่พระนางแอนน์เรียกไปรับใช้ชื่อว่า มาร์ก สเมียตัน ได้ถูกจับกุมและทรมานร่างกาย เพราะได้ถูกตั้งข้อหาว่าคบชู้กับพระราชินีแต่ระหว่างการทรมานเขาได้สารภาพผิด ต่อมาชาวต่างชาติ เฮนรี นอร์ริส ได้ถูกจับในเดือนพฤษภาคมแต่เนื่องจากเขาเป็นชนชั้นสูงจึงไม่ถูกทรมาน เขาได้ปฏิเสธและสาบานว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ 2 วันต่อมาเซอร์ฟรานซิส เวสตันได้ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาเดียวกัน วิลเลียม แบร์ตันบ่าวรับใช้ของพระเจ้าเฮนรีก็ถูกจับกุมในข้อกล่าวหานี้เช่นกัน สุดท้ายก็มีการจับกุมพระอนุชาของพระนางแอนน์ จอร์จ โบลีนในข้อหาคบชู้กับสายเลือดเดียวกัน

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 พระนางแอนน์ได้ถูกจับกุมและส่งไปหอคอยแห่งลอนดอน นักโทษคนอื่นได้รับการปลดปล่อยเหลือแต่พระนางแอนน์และจอร์จ โบลีน 3 วันต่อมาแอนน์ได้ถูกกล่าวหาว่าได้คบชู้สู่ชายกับสายเลือดเดียวกัน และทรงเป็นผู้ทรยศ

หลังจากการตัดสิน จอร์จ โบลีนพระอนุชาได้ถูกประหารในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 แอนโทนี คิงส์ตันผู้เป็นยามเฝ้าประตูได้บันทึกไว้ว่า พระนางแอนน์นั้นดูมีความสุขและเตรียมตัวเตรียมใจที่จะได้รับการประหาร พระเจ้าเฮนรีได้ทำตามคำขอของพระนางแอนน์เป็นครั้งสุดท้ายโดยได้จ้างเพรชฆาตจากฝรั่งเศสมาทำการประหารโดยใช้ดาบตามธรรมเนียมฝรั่งเศส เนื่องจากพระนางแอนน์กลัวการประหารด้วยขวานทื่อๆตามธรรมเนียมอังกฤษ ในเช้าของวันที่ 19 ทหารได้มาเชิญพระนางเข้ารับการประหาร แอนโทนี คิงส์ตันได้เขียนบันทึกเป็นภาษาอังกฤษว่า พระนางแอนน์ได้ทรงฉลองพระองค์สีแดง พระเกศารวบด้วยผ้าลินินสีขาวซึ่งเป็นธรรมเนียมฝรั่งเศส พระนางทรงมีนางสนองโอษฐ์ 4 คนเดินตามจนถึงแท่นประหาร

การประหาร

พระนางแอนน์รู้สึกดีขึ้นกับการประหารในแบบฝรั่งเศส พระนางได้สวดครั้งสุดท้ายว่า “แด่พระเยซูคริสต์ ข้ายินดีที่จะมอบวิญญาณของข้า องค์เยซูโปรดรับวิญญาณข้า” นางสนองโอษฐ์ได้นำผ้ามาปิดพระเนตรของพระนาง เพชรฆาตนั้นตื่นเต้นและพบว่าการประหารครั้งนี้สำเร็จยากเนื่องจากพระศอของพระนางนั้นสั้น เพื่อเป็นการเบนความสนใจพระนาง เพชรฆาตได้ตะโกนเสียงดังว่า “ดาบข้าอยู่ไหน” และได้ทำการบั่นพระเศียรของพระนางโดยที่พระนางไม่รู้ตัวว่าดาบมาเมื่อไร การประหารนี้เป็นการประหารอย่างรวดเร็วและเป็นการประหารในดาบเดียว และเมื่อชูหัวของนางที่ไร้ร่างขึ้นมา ก็พบว่าดวงตากลมโตของนางยังคงเบิดโพลงอยู่ ปากยังคงขมุบขมิบคล้ายกำลังสาปแช่ง จากนั้นจึงให้นางกำนัลนำศพมาใส่ในหีบธนู ศพอยู่ในสภาพงอเข่าคู้ หัวซุกอยู่ที่อก

พระเจ้าเฮนรีไม่สามารถหาโลงพระศพที่ดีเยี่ยมให้แอนน์ โบลีนได้ ดังนั้นจึงต้องนำร่างและพระเศียรของพระนางใส่หีบ และฝังโดยมิได้สวมหน้ากากให้ ฝังไว้ในห้องสวดมนต์ของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา ร่างของพระนางได้มีการระบุชื่อในระหว่างการปฏิสังขรณ์โบสถ์ในสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และได้มีการสวมหน้ากากให้พระศพของพระนาง ปัจจุบันหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระนางแอนน์ไปเกือบ 500 ปี มีคนเสนอให้รัฐบาลอังกฤษยกโทษให้พระนางแอนน์อย่างเป็นทางการเพื่อจะได้เคลื่อนย้ายพระศพจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา ไปยังมหาวิหารเวสมินเตอร์เหมือนพระราชวงศ์อื่นๆแต่ได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาล อ้างว่าคดีนี้เก่าจนไม่สามารถหาหลักฐานมาได้ว่าพระนางทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ พระศพจึงถูกฝังที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา เช่นเดียวกับพระศพของ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน ฮาวเวิร์ดและสมเด็จพระราชินีนาถเจน เกรย์ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน

หอคอยแห่งลอนดอน

กล่าวกันว่าหลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ประหารชีวิตพระนางแอนน์ โบลีน ด้วยการตัดพระเศียร (ทรงจ้างเพชรฆาตมือหนึ่งและดาบที่คมที่สุดจากฝรั่งเศสตามคำขอของพระนางแอนน์ โบลีน ซึ่งโดยปรกติแล้วการประหารชีวิตในอังกฤษจะใช้ขวานทื่อๆในการตัดคอ) แล้วที่Tower Green ดวงวิญญาณของพระนางก็ยังคงสิงสถิตอยู่ที่นั่น กล่าวคือ มีทหารยามพบเป็นสตรีสวมผ้าคลุมศีรษะออกมาเดินเล่นริมระเบียงที่ถูกปิดตาย เพียงแต่สตรีผู้นั้นได้ถือศีรษะของตนออกมาเล่นด้วย ไม่ก็พระนางจะลากโซ่ตรวนในห้องประหารแล้วกรีดร้องเสียงดัง และเห็นพระนางแอนน์ โบลีน นำทหารในสมัยนั้นและเลดี้หรือสตรีระดับสูงเข้ามาในโบสถ์ที่หอคอยแห่งลอนดอน จนเงาพวกนั้นค่อย ๆ หายไป แล้วปล่อยให้โบสถ์นั้นเงียบสงัดไปดื้อ ๆ เป็นต้น จนบัดนี้เหตุการณ์แปลกๆที่ว่านี้ก็ยังมีให้เห็นทุกคืน

ข้อมูล วิกิพีเดีย

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...