บุคคลที่มีอยุ่จริงในประวัติศาสตร์ เรือไททานิค Titanic ( ภาค 1 )

บุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เรือไททานิค Titanic (ภาค1)

 

เรื่องราวของตำนาน เรือไททานิค (Titanic) นั้นยังคงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนพูดถึงกันไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ เรือไททานิคนี้โด่งดังและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เมื่อเรื่องจริงนี้ถูกในมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี 1997 เกี่ยวกับเรือใหญ่ที่ไม่มีวันจม นาม “ไททานิค” ที่ได้เกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งอันมหึมา! และยังคงเป็นตำนานความรักของคู่หนุ่มสาว “แจ๊ค-โรส”  .. ทีนเอ็มไทยมี บุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เรือไททานิค Titanic (ภาค1) มาฝากเพื่อนๆ หรือใครที่ชอบเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ลองตามไปดูกันเลยคะ ^^  (เนื้อเรื่อง-ข้อมูลยาวนะคะ)

เรียบเรียงโดย teen.mthai.com

หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวหายนภัย เรือไททานิค

บุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เรือไททานิค Titanic (ภาค1) 

ถ้าเพื่อนๆ เคยดูหนัง ไททานิค (Titanic) นำแสดงโดย ลีโอนาโด ดิ คาปริโอ กับ เคท วินสเล็ต เรื่องนี้จะเห็นได้ว่า มีนักแสดงตัวสำคัญอยู่อีกหลายคน เช่น กัปตันเรือ, นักออกแบบเรือ, นักดนตรีบนเรือ เป็นต้น ซึ่งนักแสดงเหล่านี้มีอยู่จริงในเหตุการณ์นั้น! ผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน ให้นักแสดงกว่า 150 ชีวิตในเรื่อง แสดงเป็นตัวละครที่มีชื่อและเบื้องหลังของบรรดาผู้โดยสารจริงๆ ของเรือไททานิค

ส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ยังคงตรึงตราอยู่ในใจคนทั่วโลก คือการที่ผู้กำกับ นักแสดง และทีมงานทุกคน ต่างใส่ใจทุกรายละเอียดของเรื่องราวเหตุการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็น การให้ความสำคัญกับทุกตัวละคร ผู้โดยสารเรือ ที่หานักแสดงได้คล้ายกับตัวจริงนั้นๆ, รายละเอียดต่างๆ ของสิ่งของ-ฉาก เพื่อต้องการนำมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้เห็นและสัมผัสเหมือนเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นั้นเลยทีเดียว เพื่อนๆ รู้ไหมว่า นักแสดง-ทีมงานในเรื่องต้องใช้เวลากนานในการศึกษากิริยาและบุคลิกของผู้คนสมัยปี 1912 เพื่อความสมจริงสมจังของหนัง ..

Captain Edward John Smith

1. กัปตันเรือ เอ็ดวาร์ด จอห์น สมิธ (Captain Edward John Smith)

หรือมีชื่อย่อว่า Edward J. Smith หรือ E.J. Smith เป็นกัปตันเรือที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นกัปตันเรือที่ค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น ด้วยความสามารถของนักเดินเรือผู้มากประสบการณ์โดยได้ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาหลายครั้ง โดยมีผลงานที่โดดเด่นมากก็คือการได้เป็นกัปตันเรือ อาร์เอ็มเอส และไททานิค อันเป็นเรือลำสุดท้ายในชีวิตของเขา ที่เขาได้ดำรงตำแหน่งกัปตันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตบนเรือลำนี้ (ก่อนหน้านั้นก็คือเรือ RMS Olympic เรือแฝดพี่ของไททานิค แต่เมื่อ RMS Olympic เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับเรือ HMS Hawke จนต้องไปซ่อมแซม กัปตันสมิธก็มารับงานไททานิค

-   14 เมษายน 1912 ทะเลได้สงบเกินไปจนผิดปกติ พอตกเย็นอากาศโดยรอบเริ่มหนาวลงกว่าเดิม เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักเดินเรือว่าจะต้องมีภูเขาน้ำแข็งโดยเป็นเหตุให้อากาศโดยรอบเย็นลง แต่ความรู้เหล่านี้มีผู้โดยสารน้อยมากที่จะรู้ และยังคงทำให้ผู้โดยสารดื่มและทานอาหารเย็นกันตามปกติ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ทำให้กัปตันสมิธชะล่าใจเรื่องภูเขาน้ำแข็งแต่อย่างใด

-   ในเวลา 20.55 น. กัปตันสมิธได้มายังสะพานเรือ เพราะว่ามีรายงานจากวิทยุว่า ไททานิคได้กำลังเดินทางเข้าสู่เขตที่ตั้งของภูเขาน้ำแข็ง เจ้าหน้าที่เรือและกัปตันได้สนทนากันเป็นเวลาหลายนาที เกี่ยวกับความสงบของทะเลในเวลานี้ได้ทำให้ความชัดเจนในการมองเห็นสิ่งวัตถุแปลกปลอมในเวลากลางคืนเป็นไปได้ยากขึ้น

-  ในเวลา 21.30 น. กัปตันสมิธได้ออกจากสะพานเรือและได้บอกเตือนแก่พนักงานบนเรือให้เฝ้าสังเกตสิ่งผิดปกติข้างหน้า และยังคงให้รักษาความเร็วของเรือไททานิคที่ 22 น๊อต (ประมาณ 40 กิโลเมตร/ชม.) กัปตันสมิธกระตือรือร้นที่จะให้ไททานิคไปถึงนิวยอร์คก่อนเวลาที่กำหนด (เป็นเหตุให้กัปตันยังคงรักษาความเร็วของเรือ)

-  หลังจากที่เรือชนภูเขาน้ำแข็ง แรงสั่นสะเทือนมากเพียงพอที่จะปลุกกัปตันสมิธซึ่งแต่งตัวพร้อมไว้เสมอในเวลานอน เขารีบไปที่สะพานเรือแล้วสั่งให้ปิดประตูกั้นน้ำทั้งหมด รองกัปตันเมอร์ด๊อก บอกเขาว่าได้ปิดมันเรียบร้อยแล้ว กัปตันสมิธถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่าเรือได้เฉียดไปชนภูเขาน้ำแข็ง แต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่หลังจากที่รายงานความเสียหาย น้ำก็ได้ทะลักเข้ามาในเรืออย่างรวดเร็ว

ภาพบน คือภาพถ่ายจริงของกัปตันและลูกเรือ – ด้านล่าง นักแสดงในภ.ไททานิค

-  กัปตันได้ส่งวิศวกรแอนดรูวซึ่งเป็นผู้ออกแบบเรือ และพวกของเขาลงไปตรวจสอบความเสียหายของเรือห้องเครื่องโดนน้ำท่วม และไม่สามารถหยุดน้ำจำนวนมากได้ คลังสินค้า 1 โดนน้ำท่วม คลังสินค้า 2 โดนน้ำท่วม วิศวกรแอนดรูวบอกกัปตันว่าเรือลำนี้ถูกออกแบบมาให้ลอยตัวอยู่ได้ถ้าน้ำท่วม 4 ห้อง แต่จะไม่สามารถลอยอยู่ได้หากเกิน 4 ห้อง พวกที่ลงไปสำรวจที่คลังสินค้า 3 ก็ได้พบว่าน้ำกำลังไกลบ่าอย่างมาก ทั้ง 2 คนได้ประกาศเตือน และได้ให้คนไปสำรวจตามจุดต่างๆทั่วเรือ และ พยายามที่จะปิดประตูกั้นน้ำของห้องหม้อน้ำหมายเลข 5 และหมายเลข 6 วิศวกรแอนดรูวได้บอกความคิดของเขาแก่กัปตันว่า ส่วนหัวของเรือจะจมลงหากน้ำได้ท่วมถึงห้องหม้อน้ำหมายเลข 6 และจะท่วมต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเรือก็จะจมลง และกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่จะพรากชีวิตไททานิคไปตลอดกาล …

-  มีการคาดการณ์ว่า มีเวลา 1 ชั่วโมง - 1 ชั่วโมงครึ่ง ที่เรือจะสามารถลอยอยู่ได้ .. กัปตันสั่งให้เรือช่วยชีวิตทุกลำเตรียมพร้อมไว้ เขาได้ไปห้องสื่อสารเพื่อที่จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ โดยแสดงพิกัดที่ไททานิคอยุ่ ไททานิคเป็นเรือที่มีความสามารถด้านการสื่อสารมาก และมีเรือหลายลำที่ได้รับข้อความ 1 ในจำนวนก็คือ เรือ บอลติก และเรือโอลิมปิก ของไวท์สตาร์ไลน์, เรือแฟรงค์เฟิร์ท เรือโคโรเนีย สัญญาณของเรือไททานิคได้ส่งไปถึงประภาคาร ที่ชายฝั่งของนิวฟาวน์แลนด์ โดยมีเรือขนส่งคาพาเธียเป็นเรือที่อยู่ใกล้และได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือจากไททานิค ซึ่งจุดที่เรือคาพาเธียอยู่ ห่างจากจุดที่ไททานิคอยู่ถึง 58 ไมล์ทะเล ผู้บังคับเรือ กัปตันอาเธอร์ โรสตรอน ยากที่จะเชื่อว่าเรืออย่างไททานิคกำลังจม ทันใดนั้น เขาก็สั่งให้ลุกเรือกำหนดพิกัดที่ไททานิคอยู่แล้วเดินทางไปช่วยเหลือไททานิคอย่างรวดเร็วที่สุดทันที

-  ขณะที่เรือกำลังจะจม เขาได้ทำหน้าที่ของกัปตันอย่างกล้าหาญ เขาได้ขึ้นไปที่ดาดฟ้าเรือ ควบคุมสถานการณ์ความวุ่นวายของผู้โดยสารร่วมกับลูกเรือคนอื่นๆ กัปตันสมิธสั่งกับเจ้าหน้าที่ว่า “ผู้หญิงกับเด็กให้ลงเรือก่อน” และต้องทำตามอย่างเคร่งครัด กัปตันสมิธได้สั่งให้เรือทุกลำติดดวงไฟไว้ที่หัวเรือ เพราะแสงไฟนี้สามารถมองเห็นได้ไกลถึง4ไมล์ และเขาก็ยังคงสั่งให้เรือช่วยชีวิตช่วยคนอื่นๆไปก่อน โดยที่ยังไม่ตองมาช่วยตัวเขาเอง ในขณะนี้มีเจ้าหน้าที่กระจายกันไปทั่วเรือเพื่อที่จะดูแลความสงบ และป้องกันการก่อจลาจลของผู้โดยสาร เขาพยายามควบคุมเหตุการณ์ให้ลดความวุ่นวายลง จนในที่สุด เขาก็จมลงไปกับเรือของเขา แสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่กัปตันของตนเอง และชดใช้ความผิดที่ตนเองชะล่าใจเรื่องคำเตือนภูเขาน้ำแข็งที่เรือลำอื่นๆส่งมาเตือนเขาผู้เป็นกัปตัน

เฮนรี่ ทิงเกิ้ล ไวลด์ (Henry Tingle Wlide)

2. เฮนรี่ ทิงเกิ้ล ไวลด์ (Henry Tingle Wlide)

เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของเรือไททานิค ที่กับตันสมิธได้แต่งตั้งไว้แทนที่เจ้าหน้าที่คนก่อน และได้รับมอบหมายจากสายการเดินเรือ White Star Line โดยมีรองกัปตัน William Murdoch และ Charles Lightoller อยู่ภายในสังกัด และไวลด์ ได้ทดสอบความสามารถต่างๆและการเป็นผู้นำของเขาจนผ่านได้ทำงานบนเรือไททานิคแห่งนี้

-  ในขณะที่เรือไททานิคกำลังจม ไวลด์ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆพยายามปล่อยเรือบดลงจากเรือขณะที่เรือกำลังจมลงอย่างรวดเร็ว แล้วยังแจกจ่ายปืนพกแก่เจ้าหน้าที่คนอื่นๆเอาไว้ควบคุมฝูงชนด้วย ผู้คนพบเห็นเขาครั้งสุดท้ายตอนที่เขากำลังพยายามยกเรือบดลำหนึ่งที่พลิกคว่ำร่วมกับผู้โดยสารคนอื่นๆและพยายามช่วยปล่อยเรือจนจมหายไปกับเรือหลังจากนั้น (ปล.มีข้อสันนิษฐานบางอย่างจากผู้โดยสารคนหนึ่งว่า เขาทำหน้าที่ปล่อยเรือบดออกไปจนหมดแล้ว เขาก็ยืนสูบบุหรี่อยู่บนสะพานเรือ รอคอยเวลาจนกว่าเรือจะอัปปางลง)

วิลเลี่ยม แมคมาสเตอร์ เมอร์ดอช (William McMaster Murdoch)

3. วิลเลี่ยม แมคมาสเตอร์ เมอร์ดอช (William McMaster Murdoch)

รองกัปตันของเรือไททานิค ในคืนที่ไททานิคอัปปางก่อนหน้านั้นหนึ่งชั่วโมง เขาได้มารับหน้าที่ผู้ควบคุมเรือ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยอีก 2 คน และ เจ้าหน้าที่อื่นๆอีก 10 คน เมื่อได้เกิดสัญญาณอันตรายที่ส่งจากเจ้าหน้าที่บนเสากระโดงเรือว่า มีวัตถุอันตรายข้างหน้า และมีโทรศัพท์ถึงสะพานเรือพร้อมกับได้รับแจ้งว่าพบภูเขาน้ำแข็งตรงหน้าของไททานิค รองกัปตันเมอร์ดอชได้สั่งให้หันหัวเรือในทันที และเขายังได้สั่งให้ถอยหลังเต็มตัว ในตอนนี้เขาได้เห็นภูเขาน้ำแข็งด้านหน้าต่อหน้าต่อตา แต่ทว่าเรือไททานิคยังคงเดินหน้าต่อไป เขาซึ่งทำหน้าที่ผู้ควบคุมเรือได้รีบไปปิดประตูกั้นน้ำใต้ท้องเรือให้หมดทุกห้อง เพื่อกั้นน้ำทะลักเข้าเรือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรายงานความเสียหายให้กัปตันรู้ขณะที่น้ำกำลังทะลักเข้าใต้เรือมาอย่างรุนแรง

-  เขาได้มีหน้าที่อพยพผู้โดยสารตรงกราบขวาของเรือและปล่อยเรือบดลงน้ำ โดยได้กำลังสั่งให้เรือช่วยชีวิตลำที่ 7 ค่อยๆหย่อนเรือลงไปด้านล่าง แต่มีปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือไม่สามารถขนย้ายผู้โดยสารให้เต็มเรือช่วยชีวิตได้ เรือช่วยชีวิตลำแรกมี ผู้โดยสาร 26 คน เป็นผู้หญิง 24 เด็ก 2 แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถรองรับได้ถึง 65 คน!!

-  หลังจากนั้นได้เกิดจลาจลขึ้นอย่างหนัก โดยผู้อพยพชาวอิตาลีได้พยายามที่จะแย่งกันขึ้นเรือ เป็นเหตุให้เขาจำต้องยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อที่จะหยุดผู้ที่ก่อจลาจล และสามารถทำได้สำเร็จ (แต่ในภาพยนตร์ได้มีฉากที่เขายิงปืนใส่ผู้โดยสารจนเสียชีวิต โดยมีคนยืนยันว่ามีการยิงใส่ผู้โดยสารจริง แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นรองกัปตันเมอร์ดอชเลย แต่ เจมส์ คาเมรอน เพิ่มเข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในชีวิตจริงของรองกัปตันเมอร์ดอช และผู้กำกับคาเมรอนได้เดินทางไปพูดคุยปรับความเข้าใจกับครอบครัวทายาทรองกัปตันผู้นี้เรียบร้อยแล้ว)

-  เรือช่วยชีวิตทุกลำได้ถูกปล่อยออกไปหมดแล้วในเวลา 02:05 น. แต่ทว่าในเวลานั้นยังมีผู้โดยสารติดค้างบนเรือกว่า 1,500คน ผู้โดยสารได้พยายามว่ายน้ำและกระโดดหนีออกจากตัวเรือ และในตอนนี้ไม่มีใครได้เห็นรองกัปตันเมอร์ดอชอีกเลย และจนถึงปัจจุบันการเสียชีวิตของเขาก็ยังคงเป็นปริศนา

ชาร์ลส เฮอร์เบิร์ต ไลท์โทลเลอร์ (Charles Herbert Lightoller)

4. ชาร์ลส เฮอร์เบิร์ต ไลท์โทลเลอร์ (Charles Herbert Lightoller)

รองกัปตันอีกคนของเรือไททานิค โดยเป็นเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสูงสุดที่รอดชีวิตในบรรดาผู้รอดชีวิตทั้งหมดจากภัยพิบัติไททานิค ภายหลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นทหารเรือในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

- ก่อนเกิดหายนะ เมื่อมีคำเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งมากขึ้นทุกที เขาได้มาสนทนากับกัปตันสมิธเกี่ยวกับความสงบของทะเลในเวลานี้ ได้ทำให้ความชัดเจนในการมองเห็นสิ่งวัตถุแปลกปลอมในเวลากลางคืนเป็นไปได้ยากขึ้น แต่กัปตันสมิธกระตือรือร้นที่จะให้ไททานิคไปถึงนิวยอร์คก่อนเวลาที่กำหนด ทำให้รองกัปตันไลท์ทอลเลอร์ ได้กล่าวกับลูกเรือและเจ้าหน้าที่ให้ช่วยกันมองหากพบภูเขาน้ำแข็ง และยังคงให้รักษาความเร็วของเรือไททานิคที่ 22 น๊อต (ประมาณ 40 กิโลเมตร/ชม.)

-  จนถึงเหตุการณ์หายนะนั้น เขาก็ได้ไปช่วยอพยพผู้โดยสาร และควบคุมลูกเรือบนดาดฟ้าเรือร่วมกับเจ้าหน้าที่นายอื่นๆด้วย โดยเขาได้ควบคุมผู้โดยสารอย่างเคร่งครัด ให้เด็กกับผู้หญิงลงเรือก่อน ส่วนผู้ชายคนไหนจะแย่งลงเรือก็ต้องได้เจอรองกัปตันไลท์ทอลเลอร์ยิงปืนขู่ ทำให้ความวุ่นวายเกิดขึ้นแล้วสงบไปชั่วขณะตามลำดับ

-  มีคนพบเห็นเขาได้กระโดดลงจากเรือไททานิคหลังจากที่เขาได้ดูแลการปล่อยเรือช่วยชีวิตไปหมดแล้วเขาได้ว่ายน้ำไปจนพบเรือช่วยชีวิตลำที่ใกล้ที่สุดพร้อมกับเรียกให้เรือช่วยชีวิตลำใกล้ๆมาจัดระบบผู้โดยสารใหม่เพื่อให้มีเนื้อที่ในการช่วยชีวิตคนให้มากที่สุด และเขาก็ได้นำเรือช่วยชีวิตลำอื่นๆกลับมาช่วยเหลือผู้รอดชีวิต ผู้คนได้ชมเขาว่า “เขาได้ทำหน้าที่ของเขาได้ยอดเยี่ยมในฐานะของเจ้าหน้าที่ของเรือไททานิค”

ฮาโรลด์ ก็อดฟรีย์ โลว์ (Harold Godfrey Lowe)

5. ฮาโรลด์ ก็อดฟรีย์ โลว์ (Harold Godfrey Lowe)

หลังจากที่ไททานิคได้ออกเดินทางออกจากเซาท์แทมตันแล้ว โลว์ก็มีหน้าที่ถ่ายทอดข้อความไปยังส่วนต่างๆของเรือผ่านทางโทรศัพท์และโทรเลข  โลว์ได้รายงานตัวและได้จัดการธุระต่างๆบนเรือไททานิค ทั้งเก็บข้าวของ รายงานตัว ทุกอย่าง แม้แต่การลดจำนวนเรือชูชีพตามคำสั่งของคณะกรรมการที่ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทาง สนใจแต่วิวทิวทัศน์สวยงามของมหาสมุทรแค่นั้น ทำให้ผู้รอดชีวิตจากโศกนาฏกรรมมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น 

-  ในคืนหายนะ โลว์ก็ได้พักผ่อนโดยแลกเปลี่ยนเวรยามกับเจ้าหน้าที่มูดดี แต่การพักผ่อนของเขาในครึ่งชั่วโมงได้สิ้นสุดลงเมื่อเขาตื่นขึ้นมาพร้อมกับข่าวว่าความหายนะกำลังมาเยือน ไททานิคได้ชนภูเขาน้ำแข็งเข้าแล้ว เขาไม่รอช้ารีบแต่งชุดเครื่องแบบและคว้าปืนพกออกไปประจำการทันที

-  เขากับเจ้าหน้าที่คนอื่นก็ได้ช่วยกันปล่อยเรือชูชีพออกจากมหาวิมาณยักษ์ที่กำลังจะอัปปางลงสู้ก้นสมุทร พร้อมกับการก่อตัวของความวุ่นวายเมื่อผู้โดยสารต่างตื่นตระหนกกับหายนะที่อยู่ตรงหน้า ทำให้เขาและเจ้าหน้าที่อื่นต่างวุ่นวายไปตามๆกัน ทั้งต้องปล่อยเรือชูชีพและยิงปืนขู่ผู้โดยสารที่ไม่อยู่ในระเบียบขณะกำลังกระโจนลงเรือชูชีพหรือแย่งที่นั่งผู้หญิงและเด็ก

-  หลังจากที่เรือยักษ์ได้อัปปางสู่ก้นสมุทรไปแล้ว โลว์เห็นทีว่าถ้ายังต้องรอเรือใหญ่ “คาร์พาเทีย” มาช่วยต่อไปก็เห็นจะไม่ได้การ เขาจึงต้องรวมผู้โดยสารย้ายลงเรือชูชีพให้ได้มากพอที่จะมีเรือสักลำเป็นเรือค้นหาผู้รอดชีวิตที่ลอยเคว้งคว้างอยู่กลางมหาสมุทรอันหนาวยะเยือกนี่ได้ เมื่อเขาจัดการขนย้ายที่นั่งผู้โดยสารเรียบร้อยแล้ว เขาจึงจำเป็นต้องรอเสียงกรีดร้องขอความช่วยเหลือที่ดังระงมให้ค่อยๆเงียบลงไป เงียบลงไป

-  ใจจริงเขาไม่อยากทำอย่างนี้เลย เหมือนเขาฆ่าผู้โดยสารทั้งเป็น แต่เขาจำเป็นจริงๆ เพราะว่าถ้ารีบไปอยู่ในเหล่าผู้โดยสารที่รอคอยความช่วยเหลือในเวลานี้ เรือของเขาต้องถูกผู้โดยสารที่หนาวเหน็บต่างรุมตะเกียกตะกายเอาชีวิตรอดจากความหนาวจนทำให้เรือของเขาพลิกคว่ำ จนเขากลับต้องตายเสียเอง

-  เมื่อแวดล้อมมหาสมุทรได้เงียบสงบลง เขาจึงได้ออกค้นหาผู้รอดชีวิตอย่างรวดเร็วทันที เขาและลูกเรือต้องพายเข้าไปในบริเวณที่เต็มไปด้วยร่างของผู้ถูกความหนาวเย็นพรากชีวิตไป เขาเตือนลูกเรือตลอดทางว่าขอให้พายให้ค่อยๆ อย่าให้ต้องไปถูกร่างของผู้โดยสาร เพื่อเป็นการให้เกียรติและเคารพต่อดวงวิญญาณพวกเขา โลว์ได้ตะโกนเรียกผู้รอดชีวิตไปตลอดทางเพื่อค้นหาว่ามีใครยังรอดชีวิตขานตอบเขาบ้างไหม  และเขาได้ช่วยชีวิตผู้รอดชีวิตมาได้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น (หนึ่งในนั้นก็คือ “โรส” ในภาพยนตร์ไททานิคนั่น)

-  หลังจากได้นำตัวผู้รอดชีวิตมาให้ความอบอุ่นร่างกายแล้ว เขาก็สังเกตเห็นเรือจากระยะไกลและรู้ว่านั่นต้องเป็นเรือคาร์พาเธียแน่ๆ เขาจึงยิงปืนขึ้นฟ้าและจุดพลุควันบอกตำเแหน่งให้เรือใหญ่ทราบและมาช่วยเหลือผู้โดยสารได้ ภายหลังเขาก็ได้ถูกยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษอีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไททานิค

(ปล.นักแสดงคนที่รับบทเป็นวีรบุรุษผู้นี้ในภาพยนตร์ “ไททานิค” ต่อมาได้มาแสดงนำในเรื่อง Fantastic 4 ในบท Reed Richard อีกด้วย)

เจมส์ พอล มูดดี้ (James Paul Moody)

6. เจมส์ พอล มูดดี้ (James Paul Moody)

เจ้าหน้าที่ของไททานิค  เป็นเจ้าหน้าที่ที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหมด (เสียชีวิตเมื่ออายุ 24 ปี)

-  ในคืนที่เรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็ง เขาซึ่งเป็นเวรยามได้ไปรับโทรศัพท์จากยามเสากระโดงเรือว่า “ภูเขาน้ำแข็งอยู่ตรงหน้า!!” เขารีบไปแจ้งรองกัปตันเมอร์ดอชให้รีบหักเรือหลบทันที แต่เมื่อหลบไม่พ้นทำให้เรือชนภูเขาน้ำแข็งและกำลังจะจม เขาจึงรีบไปจัดการนำเรือชูชีพมาประจำที่และปล่อยเรือร่วมกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ และรองกัปตันเมอร์ดอช และเขาก็เสียชีวิตในคืนนั้นเอง มีคนเห็นเขากระโดดลงจากเรือไททานิคไปเผชิญกับความหนาวเหน็บในมหาสมุทร บางคนก็บอกว่าเขาโดนลูกหลงกระสุนปืน แต่การตรวจสอบมีความเห็นตรงกันว่าเขาเสียชีวิตเพราะอากาศหนาวเย็นในมหาสมุทรนั่นเอง

Frederick Fleet

7. Frederick Fleet และ Reginald Lee (จำได้ไหม 2 คนที่อยู่บนเสากระโดงเรือนั่นเอง)

Frederick Fleet เขาเป็นคนแรกที่ได้มองเห็นภูเขาน้ำแข็งที่ไททานิคกำลังเข้าใกล้เรือ ได้เริ่มอาชีพตลอดหลายปีเป็นลูกเรือและยามเสากระโดงเรือมากว่า 4 ปี และได้ถูกจ้างและมอบหมายให้มาเป็นยามสังเกตการณ์บนเรือไม่มีวันจมนี้ ร่วมกับ Reginald Lee ซึ่งถูกโอนย้ายจากเรือโอลิมปิกแฝดพี่ของไททานิคมาประจำการด้วย

-  ต่อมาในคืนหายนะ เขาเป็นคนแรกที่ได้มองเห็นภูเขาน้ำแข็งที่ไททานิคกำลังเข้าใกล้ จากนั้นเขากับเพื่อนอีกคนคือลี รีบสั่นระฆังเตือนเป็นสัญญาณบอกเหตุและรีบโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ข้างล่างให้รีบหักเรือหลบภูเขาน้ำแข็งทันที โดยผู้ที่มารับโทรศัพท์คือเจ้าหน้าที่มูดดี และได้รีบไปเตือนรองกัปตันเมอร์ดอชก่อนจะสายเกินแก้ .. แต่สายเกินไป ไททานิคไม่สามารถหลบภูเขาน้ำแข็งพ้นได้ ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม

Reginald Lee

-  เขารอดชีวิตมาได้พร้อมกับลีเพื่อนอีกคน จากนั้นเขาก็ให้การว่ากล้องส่องทางไกลของเขาหายไป โดยมีคนมายืมไปแต่ก็ไม่นำมาคืน ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง และกล่าวอีกว่า ถ้ากล้องของเขาไม่หายไปเขาต้องได้เห็นภูเขาน้ำแข็งเร็วกว่านี้

-  หลังจากนั้นเขาก็ได้ไปเป็นคนขายของในสมัยสงครามโลก ต่อมาก็ไปประจำการเป็นยามเสากระโดงอีกครั้งบนเรือโอลิมปิก และพบกับภาพหลอนในจิตใจเขาเองตลอดมาเรื่องไททานิค มีเรื่องเล่าว่าเขาได้แต่เสียใจและเก็บตัวเงียบโดยได้แต่โทษตัวเองว่าเป็นต้นเหตุของโศกนาฏกรรม เขาถูกความเศร้าเสียใจรุมเร้าทำให้เขาไม่กล้าออกไปพบหน้าผู้คนภายนอกอีก จนเขาตัดสินใจปลิดชีวิตตนเองในเวลาต่อมา

Reginald Lee หลังจากที่เขาได้ให้การเรื่องไททานิคแก่เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ไม่นานเขาก็เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนในโรคปอดบวมที่เขาเป็นมานาน

ระฆังบนเสากระโดงเรือไททานิค

Jack Pillipis และ Harold Bride

8.  Jack Pillipis และ Harold Bride

ทั้งคู่เป็นพนักงานวิทยุประจำเรือไททานิค โดย Harold Birde เป็นผู้ช่วยของ Jack Pillipis ทั้งคู่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อนที่จะมาประจำการที่เรือยักษ์ลำนี้ ทั้งคู่ต่างมีภาระงานที่ยุ่งวุ่นวายเกี่ยวกับการส่งโทรเลขวิทยุไร้สายจากผู้โดยสารส่งถึงผู้รับซึ่งก็คือเหล่าญาติๆของพวกเขาที่นิวยอร์คนั่นเอง

-  ทั้งคู่ต่างยุ่งวุ่นวายมากในการจัดการโทรเลขวิทยุจากผู้โดยสารไททานิคส่งไปถึงปลายทางของแต่ละคน ในทุกๆนาทีเขาทั้งคู่ต้องส่งโทรเลขวิทยุหลายข้อความจากผู้โดยสารเป็นร้อยทำให้พวกเขาแทบไม่ได้พักผ่อน แต่ก็ยังพอมีเวลาให้ไบรด์ฉลองวันเกิดครบรอบ 25 ปีแก่ฟิลลิปส์ ด้วยขนมปังและขนมอบที่พอให้มีเรี่ยวแรงทำงานกันต่อ

-  คืนก่อนหน้าวันหายนะ 1 วัน ไบรด์ได้พักผ่อนในช่วงแรกก่อนที่จะมาผลัดเปลี่ยนเวรกับฟิลลิปส์ในช่วงต่อมาเพื่อให้ฟิลลิปส์ได้พักผ่อนจากการส่งวิทยุมาหลายชั่วโมง ต่อมาอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุเกิดขัดข้อง ทั้งคู่อาสาเข้าแก้ไขอุปกรณ์ และหลังจากปลุกปล้ำอยู่นานถึง 6 ชั่วโมง ฟิลลิปส์กับไบรด์ ก็พบสายไฟลัดวงจรต้นเหตุ แล้วจึงจัดการซ่อมแซมจนสำเร็จใช้งานได้ ทำให้การทำงานส่งข้อความอย่างวุ่นวายดำเนินต่อไป

Guglielmo Marconi ผู้คิดค้นระบบไร้สายขึ้นเป็นคนแรก

**ปล.** นักวิศวกรไฟฟ้ารางวัลโนเบล Guglielmo Marconi คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นคนแรกในโลก กลายเป็นต้นธารให้การสื่อสารแบบไร้สายขึ้นในอีกหลายปีต่อมา และต่อมาเขาได้ตั้งบริษัท Marconi Company ขึ้นเพื่ออำนวยการสื่อสารแบบไร้สายให้ทั่วถึงมากขึ้น ไบรด์กับฟิลลิปส์ก็ทำงานในบริษัทนี้เช่นกัน

-  จนถึงคืนหายนะ เรือ SS Californian ซึ่งอยู่ในเขตแอตแลนติกเช่นกัน กำลังแล่นอยู่ท่ามกลางภูเขาน้ำแข็ง ได้ส่งข้อความเตือนมาว่าให้ระวังภูเขาน้ำแข็งให้ดี เพราะเส้นทางที่ไททานิคกำลังแล่นอยู่นั้นเป็นเขตที่อาจมีภูเขาน้ำแข็งลอยเข้ามาในเขต จึงต้องระวังและคอยสังเกตตลอดเวลา แต่ข้อความนี้กลับไม่ได้ถูกกระจายออกไป เพราะฟิลลิปส์กำลังยุ่งกับงานจนหัวเสีย เพราะข้อความจากผู้โดยสารยังทยอยมาไม่หยุดหย่อน ทำให้เขาไม่มีเวลาแม้แต่จะพักเบรกและต้องนั่งทำงานมือระวิง เขาจึงตอบกลับไปยัง SS Californian ด้วยความไม่พอใจว่า “เงียบซะที พวกเรากำลังยุ่งมาก!!” ทำให้เรือ SS Californian ไม่พอใจและสั่งปิดเครื่องวิทยุสัญญาณแต่เพียงเท่านี้ และพนักงานต่างก็เข้านอน ทำให้ไม่ได้รับข้อความขอความช่วยเหลือของไททานิคทั้งๆที่อยู่ใกล้กัน!!!

Jack Pillipis

-  เมื่อไททานิคได้เกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง กัปตันสมิธได้สั่งให้ไบรด์กับฟิลลิปส์รีบส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังเรือทุกลำที่อยู่ในอาณาบริเวณให้รีบมาช่วยโดยเร็วที่สุด โดยไบรด์ได้แจ้งข่าวร้ายแก่กัปตันแล้วว่าเรือจะลอยลำอยู๋ได้แค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น จากนั้นฟิลลิปส์ก็ได้รีบส่งสัญญาณ CQD กระจายออกไปทันที แต่ไบรด์ได้เสนอให้ฟิลลิปส์ลองใช้สัญญาณใหม่ที่ยังใช้ไม่แพร่หลายเท่าไร นั่นคือ “SOS” ฟิลลิปส์เห็นชอบด้วย ดังนั้น นี่คงจะเป็นจุดเริ่มต้นการใช้สัญญาณ sos อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา และยังใช้กันต่อมาจนถึงปัจจุบัน

-  แต่เมื่อสถานการณ์เลวร้ายขึ้นทุกขณะ น้ำกำลังกลืนกินหัวเรืออย่างรวดเร็วและเกิดความวุ่นวาย ไบรด์ได้รีบนำเสื้อชูชีพมาให้ฟิลลิปส์ และบอกให้รีบหนีจากที่นี่โดยเร็วแล้วไปหาเรือชูชีพ แต่ฟิลลิปส์ยังคงส่งสัญญาณต่อไป ไม่ฟังคำพูดและได้ปฏิเสธไบรด์ กัปตันสมิธได้เข้ามาในห้องและบอกว่าตอนนี้ใครที่ทำหน้าที่ของตัวเองได้เต็มที่แล้ว ก็ให้รีบหนีไปโดยเร็ว เพราะไททานิคกำลังถึงจุดจบในไม่ช้าแล้

#เรือไททานิค
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
29 ต.ค. 57 เวลา 10:12 2,801 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...