เนเฟอร์ติติ ราชินีอียิปต์ผู้หายสาบสูญ

ถ้าพูดถึงความสวยความงามของสตรีที่อยู่คู่กับอารยธรรมอียิปต์โบราณ เชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องนึกถึงพระนางคลีโอพัตรา (Cleopatra) เป็นอันดับแรกถูกต้องไหมคะ แต่ยังมีอีกหนึ่งสตรีที่มีชื่อเสียงและเลอโฉมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ พระนางเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) ผู้ที่โด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน และรูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose สำหรับใครที่ชื่นชอบเรื่องอียิปต์ ฟาโรห์ คงต้องรู้จักพระนางเนเฟอร์ติติ แน่นอน แต่ถ้าใครไม่รู้จักวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาติดตามเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ เนเฟอร์ติติ ราชินีอียิปต์ผู้หายสาบสูญ กันค่ะ

เนเฟอร์ติติ ราชินีอียิปต์

  ประวัติศาสตร์ เนเฟอร์ติติ ราชินีอียิปต์ผู้หายสาบสูญ

ราชินี “เนเฟอร์ติติ” แปลว่า “ผู้งดงามหมดจด” แห่งอียิปต์โบราณได้รับการยกย่องมานานหลายพันปีว่าเป็นเจ้าของใบหน้าที่งดงามสมบูรณ์แบบ และรูปปั้นท่อนบนนี้เองที่เป็นตัวอย่างของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้าในตำนานได้กล่าวไว้ว่า อียิปต์ไม่เคยสร้างหญิงใดงามได้เท่าพระนางเนเฟอร์ติติซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์แบบด้วยพระสิริโฉมอันงดงาม สวมมงกุฎสูง และโกนพระเกศาเพื่อป้องกันเหาโรคร้าย และความร้อนของอียิปต์

นอกจากนี้เรื่องราวชีวิตต้นตระกูลของเนเฟอร์ติติก็ไม่มีใครทราบว่าบิดามารดาของเนเฟอร์ติติเป็นใคร แต่มีผู้เห็นพ้องต้องกันว่าเธออาจเป็นธิดาของเอย์ ผู้ที่ได้เป็นฟาโรห์ในเวลาต่อมา กับมเหสีที่มีชื่อว่าเทย์ อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเนเฟอร์ติติแท้จริงคือเจ้าหญิงทาดูคีปา ธิดาของกษัตริย์ทัชรัตตาแห่งมีทานนี ในม้วนคัมภีร์โบราณมีการกล่าวถึงชื่อนีเมรีธิน เป็นอีกชื่อหนึ่งของพระนาง แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ยังมีผู้เสนอแนวคิดว่าพระนางเป็นธิดา หรือพระญาติกับฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่สาม หรือไม่ก็เป็นชนชั้นสูงของชาวเธบ

ประวัติศาสตร์ เนเฟอร์ติติ ราชินีอียิปต์ผู้หายสาบสูญ

อีกทฤษฎีหนึ่งยกให้เนเฟอร์ติติเป็นธิดาของซีตามุน น้องสาวต่างมารดาของอาเมนโฮเทปที่สาม โดยมีพระราชินีเอียเรเป็นพระมารดาของนาง เอียเรเคยมีตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาท แต่ตำแหน่งดังกล่าวต้องสิ้นสุดลงเมื่ออาเมนโฮเทปที่สามขึ้นครองบัลลังก์ ซีตามุนถูกเลี้ยงดูให้เป็นมเหสีของทีเย แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าพระนางมีโอรสธิดากับผู้ใดหรือไม่ มีหลักฐานอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าทั้งซีตามุนและเนเฟอร์ติติต่างก็มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกัน นั่นคือชื่อของทั้งคู่ต่างก็หมายความว่า “ผู้เลอโฉม” เนเฟอร์ติตินับถือเทพเพียงองค์เดียว นั่นก็คืออาตอน ทั้งนี้ อาเคนาเตน สวามีของพระนางอาจเป็นพระบิดา หรือไม่ก็พี่ชายต่างมารดาของฟาโรห์ตุตันคามุน ขึ้นอยู่กับว่าจะนับญาติแบบไหน

วันที่เนเฟอร์ติติอภิเษกสมรสกับอาเมนโฮเทปที่สี่ และต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระชายาของพระองค์นั้นไม่อาจระบุได้แน่นอน อย่างไรก็ดี ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันหกคน ตามรายชื่อและปีเกิดต่อไปนี้:

เมรีตาเตน – เกิดในปีที่ 2 หลังจากที่อาเมนโฮเทปที่สี่ขึ้นครองราชย์ (1348 ปีก่อนคริสตกาล)
เมเคตาเตน – เกิดในปีที่ 3 (1347 ปีก่อนคริสตกาล)
อานเคเซนปาเตน, ผู้ที่ต่อมาเป็นชายาของ ฟาโรห์ตุตันคามุน – เกิดในปีที่ 4 (1346 ปีก่อนคริสตกาล)
เนเฟอร์เนเฟอรัวเตน ตาเชริต – เกิดในปีที่ 6 (1344 ปีก่อนคริสตกาล)
เนเฟอร์เนเฟอร์รูเรNeferneferure – เกิดในปีที่ 9 (1341 ปีก่อนคริสตกาล)
เซเตเปนเร – เกิดในปีที่ 11 (1339 ปีก่อนคริสตกาล)

ในปีที่สี่ของการครองราชย์ (1346 ปีก่อนคริสตกาล)อาเมนโฮเทปที่สี่ได้เริ่มสร้างศาสนสถานเพื่อบูชาเทพอาเตน และยังเชื่ออีกว่าปีเดียวกันนี้พระองค์ได้เริ่มก่อสร้างอาเคตาเตน เมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อเมืองอามาร์นา ในปีที่ห้าของการครองราชย์ (1345 ปีก่อนคริสตกาล) อาเมนโฮเทปที่สี่ ได้เปลี่ยนพระนามของพระองค์อย่างเป็นทางการเป็นอาเคนาเตน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของศาสนสถานแห่งใหม่ คาดกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 2 มกราคมของปีนั้น ในปีที่เจ็ดของการครองราชย์ (1343 ปีก่อนคริสตกาล) ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากกรุงธีบ ไปยังอามาร์นา แม้ว่าจะยังมีการก่อสร้างต่อไปอีกถึงสองปี (จนกระทั่ง 1341 ปีก่อนคริสตกาล เมืองใหม่ถูกอุทิศให้กับศาสนาใหม่ของทั้งคู่ เชื่อกันว่ารูปปั้นครึ่งตัวอันโด่งดังของเนเฟอร์ติติถูกสร้างขึ้นในปีนี้เอง

อักษรจารึกชิ้นหนึ่งระบุว่าราววันที่ 21 พฤศจิกายน ในปีที่ 12 ของการครองราชย์ (1338 ปีก่อนคริสตกาล) ได้มีการกล่าวถึงเมเคตาเตน พระธิดาเป็นครั้งสุดท้าย จึงเชื่อกันว่านางอาจจะสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากนั้น รูปสลักนูนต่ำในสุสานของอาเคนาเตนในสุสานกษัตริย์แห่งอามาร์นามีรูปงานศพของนาง

ในช่วง ศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ผู้ปกครองอาณาจักรไอยคุปต์ทรงพระนามว่า อาเคนาเตน (Akhenaten) ระยะเวลา 17 ปี ที่ครองราชย์นั้น พระองค์ได้ปฏิรูปศาสนา และศิลปกรรมของอียิปต์อย่างมากมาย ก่อความระส่ำระสายให้แก่นักบวชดั้งเดิมจนกลายเป็นความโกรธแค้นอาฆาต ซึ่งบุคคลที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังฟาโรห์และมีอิทธิพลต่อราชวงศ์ไอยคุปต์ก็คือ พระมเหสีเอกของพระองค์ผู้มีพระนามว่า เนเฟอร์ติตี (Nefertiti)

ดังจะเห็นได้จากจิตรกรรมและประติมากรรมต่างๆในยุคนั้น ที่มีรูปพระนางเนเฟอร์ติตีปรากฏอยู่ร่วมกับพระรูปของอาเคนาเตนเสมอๆ จนบางครั้งแทบดูไม่ออกว่าองค์ใดคือกษัตริย์ องค์ใดคือราชินี

รูปโฉมของเนเฟอร์ติตี มีลักษณะเป็นสตรีเอวบาง แต่บั้นท้ายและสะโพกหนา ชุดที่พระนางสวมใส่ มักจะบางเบาโปร่งแสง ทำให้แลดูมีเสน่ห์ยั่วยวน จนได้รับสมญาว่า “พระพักตร์งาม ทรงความเบิกบาน เป็นผู้ให้ความสำราญหาใครเทียม”

และแต่เดิมนั้น บรรดาประชากรอียิปต์ มีศาสนาที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม) โดยมีเหล่านักบวช เป็นผู้ดูแลทำพิธีในวิหารต่างๆ แต่อาเคนาเตน ได้นำเอาศาสนาพระเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม) คือ สุริยเทพอาเตน มายัดเยียด และได้ปฏิรูปศาสนา อย่างถอนรากถอนโคน อาทิ

หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ฟาโรห์ก็ ทรงมีบัญชาให้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ กลางดินแดนอียิปต์ระหว่างเมืองธีบิสกับเมมฟิส สำหรับการสักการบูชาเทพอาเตน โดยเฉพาะชื่อของนครนี้ คือ อาเคตาเตน (Akhetaten) แปลว่า “ขอบฟ้าแห่งเทพอาเตน” ทรงย้ายสมาชิกในราชวงศ์ ตลอดจนขุนนาง และบริพารใกล้ชิดไปอยู่ที่เมืองหลวงใหม่นี้ ใจกลางนครมีมหาวิหารสถิตเทพอาเตนกับมีพระราชวังหลวง โดยมีอาคารพักอาศัยของข้าราชบริพารอยู่รอบนอก มีสุสานของพระราชวงศ์อยู่ที่หน้าผานอกเมือง

แม้แต่พระนามเดิมของฟาโรห์คือ เอเมนโฮเทปที่ 4 ก็ยังทรงเปลี่ยนมาเป็น อาเคนาเตน ซึ่งแปลว่า “วิญญาณอันรุ่งโรจน์ของอาเตน” เทพอาเตน มีสัญลักษณ์เป็นแผ่นกลมที่มีรัศมีแผ่ออกมาเป็นรูปมือเล็กๆ ซึ่งหมายถึงกำเนิดชีวิต หรือจะหมายถึงพลังแห่งสุริยเทพก็ได้มหาวิหารทีฟาโรห์และมเหสีสร้างถวาย เทพอาเตนนั้น เป็นแบบวิหารสุริยโบราณที่ไม่มีหลังคา ปล่อยให้แสงแดดส่องลงมาได้เต็มที่

นอกจากจะคลั่งไคล้บูชาอาเตนเต็มที่แล้ว ฟาโรห์ยังกระทำยํ่ายีศาสนาเดิม โดยมีบัญชาให้ปิดวิหารเทพเจ้าอื่นๆ จนสิ้น ลบรูปสัญลักษณ์ต่างๆในวิหาร ริบข้าวของสมบัติต่างๆ ภายในวิหารแล้วนำเอารูปเทพอาเตน เข้าไปตั้งแทน เพื่อให้ราษฎรอียิปต์สักการบูชา สร้างความโกรธเป็นเดือดเป็นแค้นแก่ นักบวชที่เคยมีอิทธิพลต่อจิตใจ ของชนอียิปต์อย่างมากมาย

ในปีที่ 1336 ก่อนคริสตกาล ฟาโรห์อาเคนาเตน สิ้นพระชนม์ แผ่นดินตกอยู่ในการปกครองของผู้สำเร็จราชการนาม เนเฟอร์เนเฟอรู อาเตน ซึ่งไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเขาเป็นใครมาจากไหน บางคน กล่าวว่า เป็นลูกพี่ลูกน้องกับอาเคนาเตน ผู้มีนามว่า เสม็นคาเร แต่หลายคนกล่าวว่า เขามิใช่ใครอื่น หากแต่เป็นมเหสีเอกเนเฟอร์ติตีนั่นเอง

เนเฟอร์ติตินั้นไม่ปรากฏพระองค์ หรือมีบทบาทใดๆ ให้เห็นในช่วงท้ายๆ รัชกาลอาเคนาเตน จะเป็นด้วยเหตุผลใดไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าทรงรู้ดีว่าพระองค์นั้นมีส่วนร่วมกับฟาโรห์ทำลายล้างศาสนาเดิม และได้สร้างศัตรูไว้มากมาย จึงต้องทรงซ่อนเร้นและปกครองอียิปต์ต่อมาอย่างไม่เปิดเผยพระองค์ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นราว 3 ปี ในฐานะผู้สำเร็จราชการนี้ ได้มีความพยายามที่จะประนีประนอมรื้อฟื้นการบูชาเทพเจ้าดั้งเดิมขึ้นใหม่ เพื่อบรรเทาความอาฆาตแค้นของศัตรู หากแต่ไม่เป็นผล การสิ้นพระชนม์ของเนเฟอร์ติตีเป็นเรื่องลึกลับ บางคนถึงกับอ้างว่า พระนางสิ้นพระชนม์ก่อนหน้า พระสวามีด้วยซํ้า

อย่างไรก็ตาม โดยที่มีผู้เกลียดชังมาก ทำให้ภาพของเนเฟอร์ติติตามวัง และวิหารต่างๆ ถูกลบพระพักตร์ ออก อันเป็นการกระทำ ที่เกิดจากความเคียดแค้นอาฆาต ที่สะสมมานาน และโดยเหตุที่พระนาง มีใบหน้าที่สวยงามกว่านางใดในแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้เองที่ใบหน้า ของพระนางในรูปเขียนต่างๆ จึงถูกทำลายอย่างเฉพาะเจาะจง! และแม้แต่มัมมี่ของพระนาง ก็ยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าอยู่หนใด!

รูปปั้นครึ่งตัวของเนเฟอร์ติติ จากพิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน

จวบจนกระทั่งนักอียิปต์ วิทยาได้สันนิษฐานว่ามัมมี่ 1 ใน 3 ร่าง ที่พบในสุสานหมายเลข KV 35 แห่งหุบเขากษัตริย์ ใกล้เคียงกับสุสานของตุตันคาเมน นั่นน่าจะเป็นมัมมี่ของเนเฟอร์ติติดังที่กล่าว ในเบื้องต้นนั่น เหตุผลของการสันนิษฐานประมวลได้ว่า มัมมี่ร่างนั้นมีคอเรียวยาวดุจหงส์ ซึ่งละม้ายกับรูปลักษณ์ของเนเฟอร์ติติผู้งดงาม และอายุของมัมมี่นี้ก็อยู่ในยุคเดียวกับพระนาง นอกจากนี้ ตลอดร่างของมัมมี่ก็ถูกทำลายเสียหาย เช่น ใบหูถูกเจาะ ศีรษะถูกโกน คิ้วถูกกดเป็นรอย ลำตัวมีริ้วรอย ซึ่งล้วนตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อภาพเขียนทั้งหลายของพระนาง และที่สำคัญคือ ได้พบวิกผมสไตล์นูเบียน ตกอยู่ใกล้ๆ กับมัมมี่ทั้ง 3 เป็นแบบวิกผมที่ เนเฟอร์ติติ และสมาชิกราชวงศ์ของเธอสวมใส่ อยู่เป็นประจำ! ทำให้น่าเชื่อได้ว่า มัมมี่นี้ก็คือพระศพ ของพระนางเนเฟอร์ติติ ราชินีผู้มีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะเมียและแม่นั่นเอง

รูปแกะสลักของเนเฟอร์ติติกับ อาเคนาเตน และธิดาสามองค์ จากเมืองอามาร์นา

สำหรับรูปแกะสลักของเนเฟอร์ติติกับ อาเคนาเตน และธิดาสามองค์ จากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เนเฟอร์ติติ (1370 – 1330 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นอาเคนาเตน) และพระมารดาสะใภ้ของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์เป็นช่วงเวลาสั้นๆหลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงศิริราชสมบัติ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ชื่อของพระนางอาจแปลได้โดยสังเขปว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองคำรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของเธอสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด”เนเฟอร์”

รูปแกะสลักในท่ายืนของเนเฟอร์ติติจากเมืองอามาร์นา

เนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องจากเป็นตัวอย่างของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า

พระนางถูกเรียกขานมากมายหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกที่ขานพระนางว่าเป็น ‘ผู้สืบทอด’ ‘ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน’ ‘ผู้มีสเน่ห์’ ‘ผู้แผ่ความสุข’ ‘ชายาผู้อ่อนหวาน’ ‘ผู้เป็นที่รัก’ ‘ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง’ ‘ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน’ ‘ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง’ ‘ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่’ ‘ผู้ที่กษัตริย์ทรงรัก’ ‘สตรีแห่งดินแดนทั้งสอง’ ‘เนเฟอร์ติติ’ พระเศียรจำลองของ “เนเฟอร์ติติ” ถูกค้นพบในอียิปต์เมื่อปี 1912 บริเวณ เตล เอล อมาร์นา ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงในรัชสมัยของฟาโรห์อเคนาเตน พระราชสวามีของพระองค์

เรียบเรียงโดย : teen.mthai.com

ข้อมูลและภาพ : วิกิพีเดีย, trueplookpanya, sites.google.com

2 ต.ค. 57 เวลา 10:10 1,734 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...