ทำไม จึงชื่อ โรงพยาบาล ยันฮี

 

 

 

 

 

คำถามที่มีคนถามเวลาเห็นชื่อโรงพยาบาลนี้ คือ ทำไมถึงชื่อนี้ 
หลายคนพยายามบอกว่า “ก็เพราะว่าทำศัลยกรรมตกแต่งตั้งแต่หัว ยัน ฮี” ไง 

แต่หลายคนก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่าที่ชั้น8หรือ9ของโรงพยาบาลนี้ก็มีแผนกเส้นเลือดขอด ซึ่งปกติจะดูแลที่ขาด้วย (และที่จริงมีทุกแผนก แผนกอายุรกรรม แผนกฝ่าตัด ความงาม กระดูก สูตินรีเวช หัวใจ ไต ฯลฯ อย่างหัวใจนี่สวนหัวใจเยอะโฮก)
ดังนั้นก็ไม่น่าจะมาจากคำนี้ 

คำว่ายันฮีมาจากไหน 

คำว่ายันฮีที่ใช้กันแพร่หลายในไทย มาจากชื่อเขื่อนยันฮีครับ เขื่อนยันฮีหรือที่ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อเขื่อนภูมิพลนี่แหละ 
จากการอ่านต่วยตูน พบเรื่องเล่าอยู่สองแบบ 

แบบที่หนึ่ง 
ตอนที่ต้องการหาที่สร้างเขื่อน มีการไปสำรวจแม่น้ำ บริเวณนั้นมีตำนานเกี่ยวกับพระนางจามเทวีหลายเรื่อง เช่น ผาสามเงา ซึ่งมีพระพุทธรูปที่มาประดิษฐานไว้ตั้งแต่สมัยที่พระนางจามเทวีเสด็จมาทางเรือจะไปหริภุญชัยแล้วเกิดอาเพศ เมื่อพระนางตั้งจิตแล้วอธิษฐาน ก็เกิดฟ้าผ่าและมีพระพุทธรูปปรากฏที่หน้าผา 
มีตำนานที่เล่าโดยชาวไฟฟ้า(ตามคำกล่าวในหนังสือต่วยตูน) 
เกี่ยวกับระดับความสูงของน้ำ แต่นัยว่าน่าจะเป็นdirty joke สมัยนั้นจึงไม่ขอเล่าต่อ 

แบบที่สอง 
ยันฮี แปลงมาจากคำว่า ย่านรี เป็นภาษาที่คนในแถบนั้นเรียกพื้นที่คุ้งน้ำตรงนั้น โดยมีความหมายเป็นไปได้สองประการคือ ก.แม่น้ำที่ถูกภูเขาบีบจนแคบรี ข. แม่น้ำที่อ้อมภูเขาจนมีลักษณะโค้งรี 

ไม่ว่ายันฮีจะมาจากอะไร แต่สุดท้ายเมื่อเขื่อนสร้างขึ้น เขื่อนก็ถูกเรียกว่าเขื่อนยันฮี 
เขื่อนถูกสร้างในปี 2496 และเปิดใช้ 2507 โดยระหว่างนั้นได้มีการไฟฟ้ายันฮีถือกำเนิดขึ้น

แล้วเขื่อนมาเกี่ยวอะไรกับโรงพยาบาล เขื่อนอยู่จังหวัดตาก โรงพยาบาลอยู่จรัญสนิทวงศ์ 

     เพราะในปี 2500 ได้มีการตั้งการไฟฟ้ายันฮีขึ้นเพื่อดูแลคุมเรื่องไฟฟ้าที่มาจากเขื่อนนี้ 
และการไฟฟ้ายันฮีตั้งอยู่ที่บางกรวย นนทบุรี ตรงข้างแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาในปี 2512 การไฟฟ้ายันฮีได้ควบรวมกับการลิกไนต์และการไฟฟ้า-ตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนชื่อเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
 
     และเวลาใครจะไปจะมาเดินทาง ก็มักจะเรียกติดปากว่าไปการไฟฟ้ายันฮี ในปี2527 ยันฮีโพลีคลินิกได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณใกล้กับการไฟฟ้ายันฮี (ตั้งตรงหน้าตึกการไฟฟ้า) การตั้งชื่อก็ตั้งตามชื่อย่านนั้นที่คนรู้จักกันดี ผอ.เลยตั้งชื่อว่ายันฮีโพลีคลินิก เป็นตึก2ชั้น หลังจากตั้งได้ราว 3-4ปี ก็ได้ย้ายไปตั้งตรงที่ตั้งปัจจุบัน สร้างเป็นตึกที่ใหญ่ขึ้นเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลยันฮี ส่วนการไฟฟ้ายันฮี เปลี่ยนชื่อเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตั้งแต่2512 ดังนั้นชื่อยันฮีที่หมายถึงโรงไฟฟ้าก็ค่อยๆเลือนหายไปช้าๆ เหลือแต่โรงพยาบาลที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 

เป็นที่มาของชื่อโรงพยาบาลยันฮีดังเช่นปัจจุบัน
 
รูปภาพ : ทำไม จึงชื่อ โรงพยาบาล ยันฮี 

คำถามที่มีคนถามเวลาเห็นชื่อโรงพยาบาลนี้ คือ ทำไมถึงชื่อนี้ 
หลายคนพยายามบอกว่า “ก็เพราะว่าทำศัลยกรรมตกแต่งตั้งแต่หัว ยัน ฮี”ไง 

แต่หลายคนก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่าที่ชั้น8หรือ9ของโรงพยาบาลนี้ก็มีแผนกเส้นเลือดขอด ซึ่งปกติจะดูแลที่ขาด้วย (และที่จริงมีทุกแผนก แผนกอายุรกรรม แผนกฝ่าตัด ความงาม กระดูก สูตินรีเวช หัวใจ ไต ฯลฯ อย่างหัวใจนี่สวนหัวใจเยอะโฮก)
ดังนั้นก็ไม่น่าจะมาจากคำนี้  

คำว่ายันฮีมาจากไหน 
คำว่ายันฮีที่ใช้กันแพร่หลายในไทย มาจากชื่อเขื่อนยันฮีครับ เขื่อนยันฮีหรือที่ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อเขื่อนภูมิพลนี่แหละ 
จากการอ่านต่วยตูน พบเรื่องเล่าอยู่สองแบบ 
แบบที่หนึ่ง 
ตอนที่ต้องการหาที่สร้างเขื่อน มีการไปสำรวจแม่น้ำ บริเวณนั้นมีตำนานเกี่ยวกับพระนางจามเทวีหลายเรื่อง เช่น ผาสามเงา ซึ่งมีพระพุทธรูปที่มาประดิษฐานไว้ตั้งแต่สมัยที่พระนางจามเทวีเสด็จมาทางเรือจะไปหริภุญชัยแล้วเกิดอาเพศ เมื่อพระนางตั้งจิตแล้วอธิษฐาน ก็เกิดฟ้าผ่าและมีพระพุทธรูปปรากฏที่หน้าผา 
มีตำนานที่เล่าโดยชาวไฟฟ้า(ตามคำกล่าวในหนังสือต่วยตูน)   
เกี่ยวกับระดับความสูงของน้ำ แต่นัยว่าน่าจะเป็นdirty joke สมัยนั้นจึงไม่ขอเล่าต่อ 

แบบที่สอง 
ยันฮี แปลงมาจากคำว่า ย่านรี เป็นภาษาที่คนในแถบนั้นเรียกพื้นที่คุ้งน้ำตรงนั้น โดยมีความหมายเป็นไปได้สองประการคือ ก.แม่น้ำที่ถูกภูเขาบีบจนแคบรี ข. แม่น้ำที่อ้อมภูเขาจนมีลักษณะโค้งรี 

ไม่ว่ายันฮีจะมาจากอะไร แต่สุดท้ายเมื่อเขื่อนสร้างขึ้น เขื่อนก็ถูกเรียกว่าเขื่อนยันฮี 
เขื่อนถูกสร้างในปี 2496 และเปิดใช้ 2507 โดยระหว่างนั้นได้มีการไฟฟ้ายันฮีถือกำเนิดขึ้น

แล้วเขื่อนมาเกี่ยวอะไรกับโรงพยาบาล เขื่อนอยู่จังหวัดตาก โรงพยาบาลอยู่จรัญสนิทวงศ์ 

เพราะในปี 2500 ได้มีการตั้งการไฟฟ้ายันฮีขึ้นเพื่อดูแลคุมเรื่องไฟฟ้าที่มาจากเขื่อนนี้ 
และการไฟฟ้ายันฮีตั้งอยู่ที่บางกรวย นนทบุรี ตรงข้างแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาในปี 2512 การไฟฟ้ายันฮีได้ควบรวมกับการลิกไนต์และการไฟฟ้า-ตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนชื่อเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 
และเวลาใครจะไปจะมาเดินทาง ก็มักจะเรียกติดปากว่าไปการไฟฟ้ายันฮี 
ในปี2527 ยันฮีโพลีคลินิกได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณใกล้กับการไฟฟ้ายันฮี (ตั้งตรงหน้าตึกการไฟฟ้า) การตั้งชื่อก็ตั้งตามชื่อย่านนั้นที่คนรู้จักกันดี  ผอ.เลยตั้งชื่อว่ายันฮีโพลีคลินิก เป็นตึก2ชั้น หลังจากตั้งได้ราว 3-4ปี ก็ได้ย้ายไปตั้งตรงที่ตั้งปัจจุบัน สร้างเป็นตึกที่ใหญ่ขึ้นเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลยันฮี 
ส่วนการไฟฟ้ายันฮี เปลี่ยนชื่อเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตั้งแต่2512 ดังนั้นชื่อยันฮีที่หมายถึงโรงไฟฟ้าก็ค่อยๆเลือนหายไปช้าๆ เหลือแต่โรงพยาบาลที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 

เป็นที่มาของชื่อโรงพยาบาลยันฮีดังเช่นปัจจุบัน
16 ก.พ. 57 เวลา 16:49 6,957 3 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...