Crusade war สงครามครูเสดแห่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์

จากจุด เริ่มต้นของศรัทธาและความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่สุดท้ายกลายเป็นมหาสงครามที่ต่อเนื่องยาว นานนับศตวรรษระหว่างคริสเตียนและมุสลิม ในแผ่นดินที่ถูกเรียกว่า ดินแดนศักดิ์สิทธิ์

(นครเยรูซาเล็ม) 

ในยุคกลาง ชาวคริสต์ในยุโรปเชื่อว่า นครเยรูซาเล็มในดินแดนปาเลสไตน์อันเป็นสถานที่ซึ่งพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขน และเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์ คือดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่ชาวมุสลิมก็ถือว่า เยรูซาเล็มเป็นสถานที่ที่พระศาสดาโมฮัมหมัดได้กลับสู่สรวงสวรรค์ ดังนั้นนครแห่งนี้จึงมีความสำคัญต่อชาวมุสลิมเช่นกัน

ความที่เยรูซาเล็ม เป็นสถานที่ฝังพระศพของพระเยซูคริสต์ จึงทำให้มีชาวคริสต์จำนวนมากเดินทางไปจาริกแสวงบุญยังนครแห่งนี้ และแม้ว่าในศตวรรษที่ 7 ชาวมุสลิมจะเข้ามายึดครองนครเยรูซาเล็มรวมทั้งดินแดนแถบนี้เอาไว้ แต่ชาวคริสต์ก็ยังได้รับอนุญาตให้เดินทางไปแสวงบุญยังดินแดนแห่งนี้ได้ ทว่าเมื่อชาวเซลจุคเติร์กซึ่งเป็นมุสลิมอีกพวกหนึ่งได้เข้าครอบครอง ปาเลสไตน์ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์ที่เดินทางไปจาริกแสวงบุญก็ถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากผู้ปกครองใหม่ ของดินแดนแห่งนี้

   (นักรบเซลจุคเติร์ก)

ในปี ค.ศ. 1095 การขยายอำนาจของชาวเซลจุกเติร์กทำให้จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่1 แห่งอาณาจักรไบแซนไทน์รู้สึกถึงอันตรายที่กำลังมาเยือนอาณาจักรของพระองค์ ทว่ากำลังทหารของไบแซนไทน์ก็ไม่เข้มแข็งพอจะทำศึกกับชาวเติร์กได้ ดังนั้นเมื่อจักรพรรดิอเล็กซิอุสทรงทราบข่าวที่ชาวเติร์กคุกคามบรรดาผู้แสวง บุญในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ก็ได้ส่งข่าวนี้ไปยังกรุงโรมทันที

เมื่อพระสัน ตปะปาเออร์บันที่สองแห่งกรุงโรมทรงทราบเรื่อง ก็ทรงเห็นว่านี่เป็นโอกาสอันเหมาะที่คริสตจักรจะขยายอำนาจเข้าครอบครองดิน แดนปาเลสไตน์ พระองค์จึงทรงมีประกาศเรียกร้องให้ชาวคริสต์ทั้งมวลในยุโรปรวมพลังกันทำ สงครามเพื่อชิงนครเยรูซาเล็มและดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมา และนี่เองคือ จุดเริ่มต้นของ มหาสงครามครูเสด โดยคำว่า ครูเสด (Crusade) หมายถึง ไม้กางเขน ซึ่งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของเหล่านักรบชาวคริสต์จากยุโรปที่เข้าร่วมในมหา สงครามครั้งนี้ ทั้งนี้สงครามครูเสดนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะสงครามระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายและสงครามระหว่างชาวคริสต์กับ พวกที่นับถือศาสนาอื่นๆอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สงครามครูเสดที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ สงครามเพื่อแย่งชิงนครเยรูซาเล็มและดินแดนศักดิ์สิทธิ์

ประกาศเรียกร้องของ พระสันตปะปาส่งผลให้เกิดกระแสขานรับจากมหาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การที่องค์สันตปะปาได้ออกประกาศว่า ผู้ที่ไปร่วมรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์ทุกคนจะได้รับมอบสิทธิพิเศษในการพ้นจาก ผิดบาปทั้งมวล ทำให้ชาวคริสต์มากมายสนใจเข้าร่วมเป็นนักรบครูเสด เนื่องจากเชื่อกันว่า หากตนรอดกลับมาจากสงครามครั้งนี้ก็จะได้มีชีวิตที่สงบสุขและไร้ซึ่งผิดบาป ทั้งปวง หรือหากว่าโชคร้ายต้องตายในสงคราม วิญญาณของพวกเขาก็จะได้ขึ้นสู่สรวงสวรรค์  อีกทั้งในเวลานั้น ยังมีข่าวลือแพร่ไปทั่วยุโรปว่า ดินแดนของชาวมุสลิมมีทรัพย์สมบัติมากมายอีกด้วย ซึ่งยิ่งกระตุ้นความสนใจของผู้คนทั้งหลายเพิ่มมากขึ้น

ทั้งแรงศรัทธารวมกับ ความปรารถนาในความมั่งคั่ง ได้ทำให้ทั้งขุนนางและประชาชนพากันหลั่งไหลมาเข้าร่วมทัพเพื่อเตรียมยกพลไป ทำสงครามกับชาวเติร์ก โดยนักประวัติศาสตร์ได้เรียก สงครามครูเสดครั้งนี้ว่า สงครามครูเสดครั้งที่หนึ่ง ซึ่งถือกันว่าเป็นสงครามครูเสดครั้งที่สำคัญที่สุด

(ปีเตอร์ จ้าวนักนักพรต นำทัพครูเสด)

ในสงครามครั้งนี้ ได้มีประชาชนจำนวนมากรวมกำลังกันภายใต้การนำของผู้นำที่มีชื่อว่า ปีเตอร์ จ้าวนักพรต (Peter the Hermit) และ วอลเตอร์ ผู้ยากไร้ (Walter the penniless) โดยทัพประชาชนนี้มีกำลังรบมากกว่าหนึ่งหมื่นคน ซึ่งกองทัพประชาชนได้เคลื่อนพลเป็นทัพหน้าออกไปก่อนเหล่าขุนนางที่ยังคงจัด ทัพไม่เสร็จ ทว่าชาวบ้านเหล่านี้ มีเพียงศรัทธาแต่ขาดแคลนทั้งเสบียงอาหารและอาวุธที่ดีรวมทั้งไม่มียุทธวิธี ในการรบ อีกทั้งยังขาดความรู้เกี่ยวกับดินแดนที่พวกตนจะเดินทางไปอีกด้วย ทำให้เมื่อเคลื่อนทัพเข้าเขตเอเชียไมเนอร์และได้เผชิญหน้ากับกองทัพเซลจุ คเติร์กแล้ว กองทัพประชาชนก็ถูกพวกเติร์กสังหารหมู่จนเกือบสิ้นทัพ

   (ทัพครูเสดของเหล่าขุนนาง)

ในเวลาต่อมา เมื่อกองทัพใหญ่ของเหล่าขุนนางซึ่งมีทหารจำนวนห้าหมื่นนายภายใต้การนำของสาม แม่ทัพ อันได้แก่ โรเบิร์ต เคอโทส ดยุคแห่งนอมังดี โอรสของพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งอังกฤษ, กอดฟรีย์แห่งบูวียอง และบอลวินด์แห่งเอเดสสา เคลื่อนพลมาถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์แล้ว ก็ได้เข้าโจมตีกองทัพเติร์กจนแตกพ่ายก่อนจะเข้ายึดนครนิคาเอียและแอนติออค จากนั้นจึงเคลื่อนทัพไปถึงนครเยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 1099

(ทัพครูเสดตีเมืองแอนติออค)

อิฟติ คาร แม่ทัพชาวอียิปต์ที่รักษานครเยรูซาเล็มได้นำทหารเซลจุคเติร์กต่อสู้กับพวก ครูเสด แต่ก็ต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน  ในที่สุด พวกครูเสดก็สามารถทลายกำแพงนครเยรูซาเล็มและบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ แม่ทัพอิฟติคารยอมจำนนต่อทัพครูเสดและถูกปล่อยตัวออกจากเมือง ทั้งนี้หลังจากทัพครูเสดบุกเข้านครเยรูซาเล็มได้แล้ว ก็ได้ปล้นสะดมภ์และสังหารหมู่ชาวเมืองทั้งผู้ใหญ่และเด็ก นับแสนคน  

 (ทัพครูเสดยึดเยรูซาเล็ม)

หลังจากยึดนคร เยรูซาเล็มได้แล้ว กอดฟรีย์แห่งบูวียองได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม แต่ก็ครองราชย์ได้เพียงหนึ่งปีก็สิ้นพระชนม์โดยไร้รัชทายาท ทำให้บอลวินด์แห่งเอเดสสาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งอาณาจักร เยรูซาเล็มและขยายอาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนเกือบตลอดแนวชายฝั่งจากนคร เยรูซาเล็มขึ้นไปจนถึพรมแดนอาร์เมเนีย

 

สงครามครูเสดครั้งที่สอง

ในปี ค.ศ. 1144 สงครามครูเสดครั้งที่สองได้ก่อตัวขึ้น โดย อิมาดุดดีน ชางกี ซึ่งเป็นอดีตแม่ทัพที่ได้รับมอบอำนาจจากสุลต่านของเซลจุคเติร์กให้ปกครอง เมืองอเลปโปและได้ตั้งตนเป็นอิสระหลังการล่มสลายของราชวงศ์เดิม ได้นำกองทัพเข้าโจมตีนครเอเดสสาของฝ่ายครูเสดและสามารถยึดเมืองไว้ได้ในวัน ที่ 24 เดือนธันวาคมปีเดียวกัน จากนั้นจึงเคลื่อนทัพเข้ายึดซีเรียและโจมตีกองทัพครูเสดอีกครั้ง ทว่าสุลต่าน  ชางกี ได้ถูกทาสของตนลอบสังหารในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1146 บุตรชายของเขา นามว่า นูรุดดีน ได้ขึ้นเป็นสุลต่านของราชวงศ์ชางกี (ตั้งชื่อตามผู้นำคนแรก) ผู้นำฝ่ายมุสลิมต่อจากบิดาและทำสงครามกับพวกครูเสดต่อไป

(อัศวินเทมพลา (templar) กำลังสำคัญของพวกครูเสด)

ในเวลานั้น ทางด้านยุโรป นักบุญเซนเบอร์นาร์ดได้เทศนาปลุกระดมให้ชาวคริสต์ร่วมกันปกป้องดินแดน ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งการเทศนาในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้มีขุนนางและสามัญชนจำนวนมากเข้ามาร่วมทัพครูเสดแล้ว ยังมีกษัตริย์อีกสองพระองค์คือ มีพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมัน เสด็จนำทัพมาร่วมทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ด้วย ซึ่งไพร่พลที่เข้าร่วมรบในครูเสดครั้งที่สองนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 90,000 คน

สงครามครูเสดครั้งที่ สองเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1147 และจบลงเมื่อปี ค.ศ. 1149 ด้วยความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของฝ่ายครูเสด อย่างไรก็ตาม ในสงครามครั้งนี้ ฝ่ายครูเสดยังคงรักษานครเยรูซาเล็มเอาไว้ได้

สำหรับสาเหตุความพ่าย แพ้ของฝ่ายครูเสดในสงครามครั้งที่สองนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความไร้วินัยของทัพครูเสดและการขาดผู้นำที่เข้มแข็งจึงทำให้ ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายมุสลิม

หลังสงครามครูเสด ครั้งที่สองผ่านไป อาณาจักรเยรูซาเล็มยังคงดำรงอยู่มาจนถึงปี ค.ศ. 1185 ซึ่งในปีดังกล่าว กษัตริย์บอลวินด์ที่ 4 แห่งเยรูซาเล็มได้สิ้นพระชนม์ลงและน้องเขยของพระองค์ กีย์ เดอ ลูซินยองได้ขึ้นครองราชย์แทน ขณะเดียวกันทางฝ่ายมุสลิมก็มีผู้นำคนใหม่คือ ศอเลาะ ฮุดดิน หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ ซาลาดิน สุลต่านพระองค์แรกแห่งราชวงศ์อัยยูบียะ

(ซาลาดิน)

แต่เดิมนั้น ซาลาดิน เป็นบุตรชายของ อัยยูบ น้องชายของนายพล ชีร์กูฮ์ แม่ทัพสำคัญของสุลต่านนูรุดดีน ทั้งนี้นับแต่ยังหนุ่ม ซาลาดินได้ติดตามลุงของตนออกรบและสร้างผลงานในสงครามหลายครั้งเป็นที่เลื่อง ลือ จนในภายหลังได้รับตำแหน่งเป็นถึงอัครมหาเสนาบดี ครั้นเมื่อสุลต่านนูรุดดีนสิ้นพระชนม์ลงโดยทิ้งราชบัลลังก์ไว้ให้ อัสซาลีห์ โอรสวัยสิบสี่ชันษา ได้มีเหล่าขุนนางจำนวนมากคิดเห็นว่าในภาวะที่กำลังเผชิญหน้ากับพวกครูเสด เช่นนี้ ซาลาดินเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมจะเป็นผู้นำฝ่ายมุสลิมมากกว่าสุลต่านผู้ เยาว์วัย อย่างไรก็ตาม ยังมีฝ่ายของอัสซาลีห์ที่ทำการต่อต้านซาลาดินอยู่ จวบจนเมื่อสุลต่านอัสซาลีห์สิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ. 1181 ด้วยวัยเพียง 19 ชันษา เหล่าผู้ต่อต้านทั้งหมดก็พากันยอมแพ้ต่อซาลาดิน และในปี ค.ศ. 1183 ซาลาดินก็ได้ขึ้นครองราชย์และตั้งราชวงศ์อัยยูบียะขึ้น 

ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว นั้น ฝ่ายครูเสดและฝ่ายมุสลิมได้มีข้อตกลงสงบศึกระหว่างกันอยู่ ทว่าหลังจากพระเจ้าบอลวินด์ที่สี่สิ้นพระชนม์ลง และ กีย์ เดอ ลูซินยอง ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าว โดยกีย์ได้ให้ แม่ทัพของพระองค์คือ เรโนลด์ เดอ ชาร์ติยอง นำกองทหารเข้าปล้นกองคาราวานของฝ่ายมุสลิมที่มีพระขนิษฐา (น้องสาว) ของซาลาดินเดินทางมาด้วย ซึ่งนอกจากจะปล้นทรัพย์สินแล้ว เรโนลด์ยังได้สังหารนางด้วย

 (สมรภูมิแห่งทุ่งฮัททีน)

เรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้ซาลาดินทรงพิโรธมากและเรียกร้องให้ฝ่ายครูเสดรับผิดชอบในสิ่งที่เกิด ขึ้น ทว่ากีย์ได้ปฏิเสธและระดมทหารเตรียมทำสงครามกับฝ่ายมุสลิม โดย กีย์ เดอ ลูซินยอง ได้นำทัพเยรูซาเล็มเข้าปะทะกับกองทัพของซาลาดินที่ทุ่งฮัททีน ซึ่งในการรบครั้งนี้ ฝ่ายเยรูซาเล็มพ่ายแพ้ยับเยิน เรโนลด์ เดอ ชาร์ติยอง ถูกจับและถูกประหาร ส่วนกีย์นั้น ซาลาดีนได้ละเว้นชีวิตและให้คุมขังเป็นเชลย จากนั้นทัพมุสลิมก็เข้าตีนครเยรูซาเล็มและยึดเมืองไว้ได้ในปี ค.ศ. 1187

13 ธ.ค. 56 เวลา 22:08 2,649 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...