อเมซอน...ดินแดนแห่งความลี้ลับ และอันตราย part 1

 

 

 

 

 

อเมซอน...ดินแดนแห่งความลี้ลับ และอันตราย
 
 
โลกเรานี้มีป่าดงดิบอยู่หลายแห่ง แต่ไม่มีป่าดงดิบใด จะกว้างใหญ่ไพศาล และคงความบริสุทธิ์ยิ่งไปกว่าป่า อเมซอน (Amazon) แห่งอเมริกาใต้ มีเรื่องราวหลายหลาก ที่ซ่อนเร้นอยู่ในป่าดิบแห่งนี้ 



ป่าอเมซอนกินเนื้อที่กว้างถึง 2 ใน 5 ของ อเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของบราซิล ที่เหลือนั้นแผ่เข้าไปในอีก 8 ประเทศใกล้เคียง คิดเป็นเนื้อที่ป่าได้ราว 2.5 ล้านตารางไมล์ (6.4 ล้านตารางกิโลเมตร) ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ขนานกับเส้นศูนย์สูตร และสิ่งที่แบ่งป่า ออกเป็นตอนเหนือกับตอนใต้ ก็คือ แม่นํ้าอเมซอน 




ซึ่งมีต้นนํ้าอยู่ที่เทือกเขา แอนดีส (Andes) ของเปรู แล้วไหลจากตะวันตกไปตะวันออก เป็นระยะทางถึง 6,400 กิโลเมตร ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก แต่ที่น่าตื่นตะลึงก็คือ ขนาดปริมาตรของมันที่ไม่มีแม่นํ้าใดเทียมทัน ทั้งนี้เพราะมีแควที่ไหลลงมาสู่แม่นํ้านี้ถึง 1,100 สาย และความกว้างของแม่นํ้าอเมซอน ก็มีขนาดใหญ่มาก ประมาณว่าเหนือจากปากอ่าวขึ้นไปในทวีป 1,000 กว่ากิโล ก็ยังกว้างถึง 10 กิโลเมตร ส่วนความกว้างที่ปากอ่าวปาเข้าไป 320 กิโลเมตร!!
 


ดังนั้น ปริมาณนํ้าที่พุ่งลงสู่มหาสมุทรจึงมีปริมาตรมหาศาล ดันนํ้าเค็มให้ห่างจากฝั่งออกไปได้ถึงเกือบ 200 กิโลเมตร นอกจากนี้แม่นํ้าอเมซอนยังลึกมาก ว่ากันว่า เรือสินค้าสามารถแล่นทวนนํ้าเข้าไปในแผ่นดินบราซิลได้ไกลถึง 3,700 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้การคมนาคมทางนํ้าในดินแดนนี้จึงมีความสำคัญกว่าทางบกหลายเท่า

และแน่นอน ในแม่นํ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลกนี้ก็มีปลาที่ดุร้ายที่สุดของโลกเช่นกัน ซึ่งเรารู้จักกันดีก็คือ ปลาปิรันยา (piranha) ซึ่งมันมีฟันที่คมกริบและกัดเก่ง ว่ากันว่าชาวประมงที่ตกมันได้ และปลดจากเบ็ดโยนไว้ที่ท้องเรือนั้น หลายคนมีนิ้วมือหรือนิ้วเท้าเพียง 9 นิ้ว !! 



แต่ถ้าจำเป็นต้องลงไปอยู่ในนํ้า ชาวพื้นเมือง เค้าก็มีเทคนิคเฉพาะตัว ก็คือให้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อย่าลอยคอเล่น แล้วท่านจะพ้นภัยจากปิรันยา 




สัตว์ในวารีที่น่ากลัวอีกชนิดหนึ่งก็คือ ไคมาน (caiman) จระเข้ขนาดใหญ่ที่สุดของ อเมซอน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ดุเท่าใดนัก และตกเป็นเหยื่อของนักล่าที่ชำแหละหนังของมันไปขายได้ราคางาม จนจำนวนของมันร่อยหรอลง


สัตว์ที่น่ากลัวอีกอย่างก็ อนาคอนดา (anaconda) งูยักษ์ มีผู้เคยพบอนาคอนดาที่ยาวถึง 13 เมตร ในป่าอเมซอนนี้ 










สัตว์บกที่อาศัยหากินอยู่ตามชายตลิ่งแม่นํ้า อเมซอนนั้นมีหลายชนิด อาทิ สมเสร็จ (tapir) หุ่นของมันคล้ายแรดผสมม้า หนังหนาถึง 2 นิ้ว ทำให้มันลอยตัวหากินพืชนํ้าตามตลิ่งได้สบาย





คาปีบารา (capybara) สัตว์ประเภทหนู (rodent) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวขนาดเท่า หมูนั่นแหละครับ โตเต็มที่ยาวถึงเมตรกว่า และหนักเกือบ 80 กิโล ชอบอยู่เป็นฝูงราว 20 ตัว กินหญ้าและพืชนํ้าเป็นอาหาร 

หรือตัว พะยูน (manatee) ตัวอ้วนกลมไร้ขนดูน่าเกลียดน่าชัง แขนขาของมันเหมือนพายทำให้มุดนํ้าดำว่ายได้คล่องเช่นกัน มันมักชอบว่ายคลอไปข้างๆ เรือ จัดเป็นสัตว์ที่มีความเป็นมิตรที่สุดในโลก



อีกตัวหนึ่งซึ่งชอบนํ้า แต่หากินบนบก คือ ตัวกินมด (anteater) ที่อเมซอนนี่จัดเป็นตัวกินมดขนาดยักษ์ (giant anteater) มันจะขุดคุ้ยหามด และปลวกกินในพื้นที่สูงๆ กรงเล็บเท้าหน้าของมันยาวและทรงพลัง ทลายจอมปลวกได้อย่างง่ายดาย แล้วใช้งวงหรือจมูกอันแข็งแรงคุ้ยหาเหยื่อ ลิ้นอันเหนียวหนึบของมันยาวถึง 10 นิ้ว 




ทีนี้มาดูสัตว์ที่หากินบนบกจริงๆ บ้าง 


อันที่จริงคำว่า "บก" สำหรับป่าอเมซอนนั้นคงใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุที่ว่าพื้นที่แผ่นดินนี้เป็นแอ่งราบลุ่มชุ่มไปด้วยนํ้า อย่างที่บอกแล้วว่ามีแควหรือสาขาแม่นํ้าอยู่มากมาย ดังนั้นจึงเกิดนํ้าท่วมทุกปี หรือพูดอีกอย่างว่าท่วมเกือบตลอดปีก็ว่าได้ และพอนํ้าลงก็จะมีนํ้าขังอยู่เป็นหย่อมๆ ซึ่งชนบราซิลเรียกทะเลสาบนํ้าขังนี้ว่า "วาร์ซีอา (varzea)" 

แผ่นดินที่ชุ่มฉํ่านั้นมีผลต่ออุณหภูมิของป่า คือค่อนข้างคงที่อยู่ระหว่าง 20-32 เซลเซียส ไม่มีฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือฤดูใบไม้ผลิ มีก็แต่ฤดูเปียกกับแห้ง (wet and dry seasons) 


เมื่ออุณหภูมิคงที่ ต้นไม้จึงผลัดใบ แตกหน่อแตกตา ผลิดอกออกผล ตลอดเวลาทั้งปี เช่นว่า หลังฝนตกใหญ่ บางทีต้นไม้ก็ชูช่อดอกไสว ราวกับฤดูใบไม้ผลิมาถึงแล้วนั้นเอง พอถึงตอนเที่ยงวันอันอบอ้าว เสียงนกกาเงียบหายไป ใบไม้หุบ กลีบดอกจะร่วงพรูลงดินเหมือนอยู่ในเหมันตฤดู และพอความมืดเข้ามาเยือน อากาศก็เย็นเยียบลงเฉียบพลันจวบจนอรุณรุ่งจึงจะมีความสดชื่นเข้ามาแทนที่อีกครั้ง ชีวิตในหนึ่งวันเป็นดังเหมือนผ่านฤดูกาลทั้งปี 

...ต่อภาค 2 ค่ะ

 

 




 

 

2 พ.ย. 56 เวลา 19:49 5,833 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...