เล่าด้วยภาพ: ไครโอนิกส์ การแช่แข็งมนุษย์รอวันคืนชีพ

ยิ่งเทคโนโลยีของมนุษย์ก้าวไปไกลเท่าไหร่ ดูเหมือนว่า มนุษย์ก็พยายามฝีนกฎของธรรมชาติยิ่งขึ้นไปเท่านั้น สิ่งที่สามารถพิสูจน์ข้อความข้างต้นได้อย่างชัดเจนก็คือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า ไครโอนิกส์ (cryonics) มันคือการแช่แข็งเนื้อเยื่อร่างกายของมนุษย์เพื่อให้เซลล์ของร่างไร้วิญญาณคงสภาพได้เป็นระยะเวลานาน จนถึงวันที่วิทยาการก้าวหน้าพอที่จะชุบชีวิตของร่างที่ไร้วิญญาณนี้ให้ฟื้นคืนกลับมาได้ 

เพื่อให้เห็นภาพว่าขั้นตอนของไครโอนิกส์นั้นมีอะไรบ้าง เราจะไปดูผ่านภาพถ่ายของเมอร์เรย์ บัลลาด (Murray Ballard) ช่างภาพที่มีโอกาสได้ก้าวไปสู่โลกของไครโอนิกส์ค่ะ 

ขั้นตอนแรกของกระบวนการแช่แข็งร่างก็คือ หลังจากที่ร่างนั้นเพิ่งเสียชีวิต จะมีการใช้ชุดเครื่องมือที่มีหน้าที่กำจัดเลือดออกจากร่างกายแล้วแทนที่ด้วยของเหลวที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเย็นลงอยางรวดเร็ว เพื่อให้การเสื่อมของเซลล์เกิดขึ้นน้อยที่สุดในระหว่างการขนส่งร่างไปยังสถานที่ที่ใช้สำหรับเก็บร่างนั้น



ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการแช่แข็ง (cryopreservation) คือการนำร่างไปแช่ในถังที่บรรจุไว้ด้วยไนโตรเจนเหลว ซึ่งไนโตรเจนเหลวนี้จะแช่แข็งร่างกายไว้ที่อุณหภูมิประมาณ -196 องศาเซลเซียส จากนั้นก็ไม่ต้องไปรบกวนเจ้าถังที่บรรจุนี้อีก แต่อาจจะมีการคอยเติมไนโตรเจนเหลวบ้างเป็นบางครั้ง 


แต่ก่อนที่ร่างกายจะถูกแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลว ต้องทำให้อุณหภูมิของร่างนั้นค่อยๆเย็นลงจนมีอุณหภูมิเท่ากับไนโตรเจนเหลว ที่ทำดังนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียหายของเนื้อหนังและอวัยวะสำคัญๆนั่นเอง 


ถังสีขาวขนาดใหญ่ที่เห็นด้านล่างเป็นที่ที่ร่างไร้วิญญาณได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้



สถานที่ที่ใช้เก็บรักษาร่างกายแบบไครโอนิกส์นั้นมีที่สหรัฐฯและรัสเซียเท่านั้น ถ้าหากใครอยากเก็บรักษาร่างกายด้วยวิธีนี้ก็ต้องส่งร่างไปยังประเทศดังกล่าว



คนที่ต้องการใช้วิธีไครโอนิกส์ มักจะเก็บดีเอ็นเอของตัวเองไว้ส่วนหนึ่ง ในกรณีที่พวกเขาตายอย่างปัจจุบันทันด่วนจนไม่สามารถใช้วิธีการแช่แข็งร่างของพวกเขาไว้ได้ทัน



ด้านล่างคือร่างไร้วิญญาณที่รอจะเก็บไว้ในถังแช่แข็งที่คริโอรุส ในรัสเซีย ในสหรัฐฯ กระบวนการไครโอนิกส์รวมถึงการเก็บรักษาร่างไว้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณ 25,000 เหรียญ หรือประมาณ 750,000 บาท แต่ที่อื่นจะเก็บค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 เหรียญ (3,000,000 บาท) แต่ก็มีแพคเกจที่ถูกกว่า แต่จะเก็บรักษาแค่ส่วนหัวไว้ให้เท่านั้น

ด้านล่างคือ โรเบิร์ต เอ็ตทิงเกอร์ (Robert Ettinger) เขาเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันไครโอนิกส์ (Cryonics Institute) และได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งไครโอนิกส์"  

หากการฟื้นคืนชีวิตทำได้จริง เราคงไม่ต้องทนเจ็บปวดกับการจากไปของคนที่รัก แต่บางครั้งการเป็นอมตะก็อาจจะไม่มีความสุขอย่างที่เราคิดฝันไว้ว่าจะเป็นก็ได้ เพราะยังไม่เคยมีใครบนโลกนี้มีชีวิตอยู่จนเป็นอมตะและมาบอกเล่าให้เราฟังได้ว่า ความเป็นอมตะมันดียังไง...
แล้วคุณล่ะคะ ชอบการเป็นอมตะด้วยวิธีนี้ไหม? และคิดว่าจะมีวิทยาการที่สามารถฟื้นชีวิตมนุษย์ได้จริงไหม?

เรียบเรียงข้อมูลและรูปภาพจาก BBC

เรียบเรียงภาษาไทยโดย   http://knowledge.truelife.com/content/detail/112004

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...