ตำนาน..ปลาร้า!!!

 

 

 

 

 

 

 

รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

ปลาร้า หรือ ปลาแดก ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นภาคอีสาน ของไทย และ ลาว รวมถึง บางส่วนของเวียดนาม โดยมักทำจากปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เช่น ปลาสร้อยขาว ปลากระดี่มาหมักกับรำข้าวและเกลือ แล้วบรรจุใส่ไห โดยทั่วไปจะหมักไว้ 7-8 เดือน และนำมารับประทานได้ หรือ นำไปปรุงอาหารอย่างอื่น เช่น ส้มตำ เป็นต้น โดยส้มตำที่ใส่ปลาร้า นั้นจะเรียกว่า ส้มตำลาว หรือ ส้มตำ ปลาร้าโดยในบางที่มีค่านิยมว่า หมักให้เกิดหนอนจะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้นจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าปลาร้า  เป็นอาหารของวัฒนธรรมอีสานมานานกว่า4,000 ปีแล้ว โดยพบวัสดุที่คล้ายกับไหหมักปลาร้า

  

                                                        

 

ปัจจุบัน การทำปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายเป็นน้ำหนักตามตลาดสดต่าง ๆ

                             

 

 

"ปลาร้า"เป็นอาหารที่แพร่หลายในเอเชียอาคเนย์มีกินกันทุกแห่งในดินแดนที่วัฒนธรรมมอญ-เขมร ได้เคยผ่านเข้าไป เมื่อ 2,000 ปี หรือ 3,000 ปีมาแล้ว
ทำไมคนโบราณจึงเกิดทำปล้าร้ากินกันขึ้นมา?
ตอบว่า เพราะธรรมชาติในหลายประเทศในเอเชียอาคเนย์อำนวยหรือบังคับให้ทำปลาร้า
ภูมิภาคนี้ตกอยู่ในเขตมรสุม ในระหว่างต้นฝนก็มีน้ำมาก แต่พอเข้าต้นหน้าแล้ง น้ำก็เริ่มลด
ระยะนี้ เป็นเวลาที่ปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมากตมแก่งต่างๆ หรือตามแม่น้ำลำคลอง
คนก็จับปลาเอามากิน แต่ปลามันมากเกินกว่าที่จะกินหมดได้ทัน จะทิ้งก็เสียดาย จึงเอาใส่เกลือเก็บไว้กินได้ตลอดปี
แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังใส่เกลือไม่ทัน ปลาเริ่มจะขึ้นและมีกลิ่น
ถึงจะมีกลิ่น ก็ยังใส่เกลือเก็บไว้กินจนได้
เลยอร่อยเพราะกลิ่นปลา ต่อมาจะเอาปลามาทำปลาร้าจึงปล่อยให้ปลาขึ้นและเริ่มมีกลิ่น แล้วจึงเอามาใส่เกลือทำปลาร้า
กลายเป็นวิธีทำปลาร้าที่ถูกต้องไป
ที่ผมว่าปลาร้าเป็นเรื่องของวัฒนธรรมมอญ-เขมรนั้น พิสูจน์ได้ด้วยความจริง เพราะมอญ-เขมรทุกวันนี้ก็ยังกินปลาร้ากันอย่างเอกอุ คือเข้ากับข้าวเกือบทุกอย่าง
ใช้กินเป็นประจำเหมือนคนไทยใช้น้ำปลา
ยำแตงกวาเมืองเขมรเขายังใส่ปลาร้า นอกจากนั้นก็ยังใส่แกงใส่ผัดอื่นๆอีกมาก
ในเมืองไทย แถวๆอำเภอชั้นนอกของสุพรรณบุรีและตามอำเภอของอยุธยาที่ใกล้กับสุพรรณ คนไทยก็ยังใช้ทำกับข้าวแบบนี้ คือเจือปนไปทั่ว เพราะสุพรรณนั้นได้ตกอยู่ใต้อิทธพลวัฒนธรรมของมอญ ที่เรียกว่าทวาราวดีนั้นมาก
แกงบอน
แกงบวน
แกงขี้เหล็ก
เป็นกับข้าวมอญ เพราะเข้ากับปลาร้าทั้งนั้น

  

                                            


ดินแดนอื่นๆ ที่เคยอยู่ใต้วัฒนธรรมมอญ-เขมร นั้นได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา andลาว
เวียดนามนั้นมีปลาร้า ถึงจะผสมสับประรดลงไปแบบเค็ม หมากนัสก็ยังเป็นปลาร้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ลาวเรียกปลาร้าว่า"ปลาแดก" ทำไม?
ตอบว่า "แดก"นั้น เป็นกิริยาอย่างหนึ่งในภาษาไทยแปลว่า อัดหรือยัดอะไรเข้าไปในภาชนะ เช่น ไห จนแน่นที่สุดเท่าที่จะอัดเข้าไปได้ คนที่ใช้กิริยาอย่างนี้ในการกินอาหาร จึงเรียกในภาษไทยว่า แดก อีกเช่นเดียวกัน
พม่านั้นก็ยังมีมอญอยู่ จึงมีปลาร้ากิน
ส่วนมาเลเซียนั้นวัฒนธรรมมอญ-เขมร เฉียดๆไป แต่ก็มีอะไรคล้ายๆปลาร้ากินเหมือนกัน
ปลาร้านั้นมีกลิ่น เพราะทำด้วยปลาที่เริ่มเน่า ปลาร้าจึงมีชื่อว่า เหม็น

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
คาก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง

                   
นอกจากนั้น หากอะไรที่กลิ่นไม่ดี เราก็พูดกันว่า "มีกลิ่นทะแม่งๆ"
"ทะแม่ง" เป็นภาษามอญ แปลว่า ปลาร้า
ทางด้านโบราณคดี ปลาร้าจึงเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตของวัฒนธรรมมอญ-เขมร
ปลาร้าอยู่ที่ไหน วัฒนธรรมมอญ-เขมร เคยอยู่ที่นั่น
และวัฒนธรรมมอญ-เขม่ร นั้น ยังมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงเหนือชีวิตของคนจำนวนมากในเอเซียอาคเนย์
การกินหมากที่เคยแพร่หลายไปทั่ว ก็เนื่องอยู่ในวัฒนธรรมนี้ มีขนบธรรมเนียมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการกินหมากอยู่มาก
ภาษาเวียดนามปัจุบัน ก็เป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร
และอื่นๆอีกมาก
อย่าไปดูถูกปลาร้า

                        


ปลาร้ามีประโยชน์มากในทางโภชนาการ เพราะมีโปรตีนสูง เป็นประโยชน์แก่ผู้ยากไร้ หาแหล่งโปรตีนจากอื่น เช่น ทีโบนสเต็คไม่ได้
นอกจากนั้นก็ยังมีวิตามิน K ซึ่งได้จากปลาเน่าหรือเริ่มจะเน่า

 

17 พ.ค. 56 เวลา 16:08 5,418 1 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...