เมื่อ พังก์ร็อคพม่า ไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นวิถี ขบถ ที่มีชีวิต และยัง Still Resistant!

 

 

 


เมื่อ พังก์ร็อคพม่า ไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นวิถี ขบถ ที่มีชีวิต

และยัง Still Resistant!

 

 

กลุ่มชายหญิงในเสื้อผ้าสีสันแปลกตา และผมทรงประหลาด ในกรุงย่างกุ้ง อาจไม่ใช่ภาพชินตาของผู้คนทั่วไป และอาจคิดต่อไปว่า นี่อาจเป็นเพียงแค่กระแสแฟชั่นครั้งคราว ที่ผ่านมาและเลยผ่านไป แต่ภายใต้เสื้อผ้าสีสันฉุดฉาด มันยังมีอะไรมากกว่านั้น


"พังก์ร็อค" คือคำนิยาม จากการแต่งตัวเช่นนี้ได้ เพราะสาวกหรือชาวพังก์ร็อคนั้นแต่งตัวด้วยสีสีสันแปลกตา สีสันฉูดฉาด หรือใส่ชุดหนัง สวมสร้อย โซ่ และเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึง ทรงผมที่ดูผิดแผกจากคนทั่วไป แต่ภายใต้เครื่องแต่งกายหรือการตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอกนั้น พังก์ร็อคโดยเนื้อแท้แล้ว การแต่งตัวที่แปลกตานั้น มันสะท้อนถึง "ความขบถ" ที่มีชีวิต เป็นความ "ขบถ" ต่อแบบแผนและชุดความคิดหลักในสังคม "ขบถ" โดยสร้างชุดของวัฒนธรรมย่อย เพื่อสร้างความหมายใหม่หรือกระตุ้นให้เกิดการตีความวัฒนธรรมหลัก หรือชุดความคิดหลักในสังคม


และแน่นอน การจะเป็น "พังร็อคเกอร์" ย่อมถูกตัดสินจากสายตาของผู้พบเห็นทั่วไป หรือผลงาน/เพลงอาจถูกแบน หรือมีที่ให้เล่นดนตรีน้อยมาก แต่นั่นคงเทียบไม่ได้กับการที่เป็นพังก์ร็อคภายใต้บริบททางการเมือง อย่างไม่ถูกที่ถูกเวลา คุณจะอาจมีประสบการณ์ในการถูกกดขี่ที่มากกว่าที่กล่าวมา และอาจถึงขั้นของคำว่า "โหดร้าย" เช่น การทรมาน จำคุก ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งซึ่งถูกเรียกว่า "การเยียวยาทางศีลธรรม" การเยียวยาที่ในบางครั้ง ก็เยียวยาจนถึงขั้นเสียชีวิต


แต่ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งเร้าให้ "พังก์ร็อค" เบ่งบานยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพม่า ...


 

ในพม่า "พังก์ร็อค" นั้นอยู่ห่างไกลจากการเป็น "copy cat"


มันไม่ใช่ กระแสที่เลียนแบบจากตะวันตก แต่ในพม่ามันได้กลายเป็นวัฒนธรรมย่อยที่สื่อถึงความ "ขบถ" ต่อระบอบการปกครองที่กดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า

"พังก์" ได้สร้างพื้นที่ให้หนุ่มสาวชาวพม่ามีโอกาสแสดงออกซึ่ง "สาร/สัญญะ" ที่สื่อถึงการต่อต้านการกดขี่ของรัฐบาลซึ่งแม้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าจะลดบทบาทลงโดยเปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และให้ปล่อยนักโทษการเมืองบางส่วน แต่พม่าก็ยังคงเป็นรัฐที่ยังคงอยู่ห่างไกลจากคำว่านิติรัฐอยู่มาก


นับย้อนไป 5 ปี ในปี 2007 ซึ่งพม่ายังอยู่ภายใต้บู้ตอันหนักอึ้งของระบอบทหาร พังค์ร็อคได้เริ่มปรากฎตัวขึ้น โดยเหล่านักดนตรีพังก์ได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารของพม่า ซึ่งนำโดยวงดนตรี 2 วงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ "โน ยู เทิร์น" และ "รีเบล ไรออท"



"กอ กอ" ชายหนุ่มวัย 24 ปี หนึ่งในสมาชิกวง "รีเบล ไรออท" และยังเป็นคนงานโรงงานทอผ้าในกรุงย่างกุ้งโดย เขาได้รับค่าจ้างราวเดือนละ 1,760 บาท ได้บอกเล่าว่า วงดนตรีและแฟนเพลงของเขาถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งดูจะกลายเป็นเรื่องปกติและเป็นวิถีปฏิบัติของตำรวจไปแล้ว

"พวกเรา.. คนหนุ่มสาวในพม่า จงเป็น ′พังก์′ เพื่อประท้วง/ต่อต้าน ระบบเศรษฐกิจและระบอบการเมืองที่เป็นอยู่ตอนนี้"


นี่คือสิ่งที่ กอ กอ มักพูดปลุกเร้าระหว่างที่เขาทำการแสดง โดยเขาไม่ได้พูดคนเพียงไม่กี่คน แต่เป็นชาวพังก์ราว 200 คน ในกรุงย่างกุ้ง และบางทีอาจมีมากถึง 1000 คนในมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า

นอกจากนั้น เนื้อเพลงบางส่วนของวง "รีเบล ไรออท" ก็ยังเป็นเนื้อเพลงที่พูดถึงตัวตนและความเชื่อที่พวกเขายึดถือ


"อย่ากลัว อย่านิ่งเฉย จงใช้ความโกรธต่อต้านระบอบของผู้กดขี

เรา จน เราหิว และเราไม่มีทางเลือก - สิทธิมนุษยชนไม่เคยมีอยู่ที่นี่

เราคือเหยื่อ เราคือเหยื่อ เราคือเหยื่อ"


กอกอ บอกเล่าว่า เหตุผลที่เขาฟอร์มวง รีเบล ไรออท ขึ้นมาในปี 2007 ว่า ถ้าเขายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงมันก็จะไม่มาถึง เขาจึงพยายามทำทุกๆ อย่างที่จะปลุกผู้คนให้ตื่นขึ้นจากภวังค์ และที่สำคัญในปี 2007 ที่เขาฟอร์มวงนั้น เป็นปีเดียวกับที่เกิด "การปฏิวัติชายผ้าเหลือง" โดยพระสงฆ์พม่า ซึ่งผลสุดท้ายมีผู้ร่วมชุมนุมกว่าพันคนได้ถูกจับกุม และทหารยังได้รับคำสั่งให้ยิงประชาชนตัวเอง ซึ่งได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับประชาชนชาวพม่า ซึ่งในนั้นก็มี "กอกอ" รวมอยู่ด้วย

ด้าน "โกนัง" ผู้จัดคอนเสิร์ตพังก์ในพม่า เขายังเป็นชาวพังก์ยุคบุกเบิก โดยเขาเล่าว่า ช่วงปี 1990 เป็นปีแรกที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับ "เซ็กซ์ พิสทอล" ตำนานวงพังก์อังกฤษ ซึ่งเขาไปเจอบทความนี้ในถังขยะของสถานทูตประจำกรุงย่างกุ้ง

มันทำให้เขาและเพื่อนเริ่มแต่งตัวคล้ายกับในหนังสือเล่มนั้น ในตอนแรกเขาก็คิดเพียงแค่ มันแปลกและแค่เป็นเรื่องบ้าๆ เท่านั้น .. แต่เมื่อมีกะลาสีเรือนำเทปของดนตรีพังก์จากตะวันตกเทปแรกมาสู่พม่า


เขากล่าวว่า นี่คือ ผู้ที่ให้กำเนิด "พังก์" ในพม่า และมันวันเวลาผ่านไปพังก์ได้ทำหน้าที่ปลดปล่อยและระบายความรู้สึกของผู้คนที่ถูกกดขี่ พังก์ในพม่า จึงไม่ใช่แค่กระแส แต่มันคือ วิถีชีวิต

 

"นี่เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนสมควรได้รับการยอมรับและเคารพ" โกนัง กล่าว

 

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...