สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4

 


ภาพที่ 1
ชื่อไทย
ม่งกลม, สีกุนกลม
ชื่อสามัญ
BAREBREAST JACK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Carangoides gymnostethoides Bleeker
ถิ่นอาศัย
อยู่ในบริเวณผิวน้ำแถบชายฝั่งพบในทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-90 ซม.
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 2
ชื่อไทย
มงแซ่
ชื่อสามัญ
LONGFIN CAVALLA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Carangoides ciliarius
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-65 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ปรุงเป็นอาหารได้

 


ภาพที่ 3
ชื่อไทย
ลัง, ทูโม่ง, โม่ง, โม่งลัง
ชื่อสามัญ
INDIAN MACKERREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rastrelliger kanagurta Ruppell
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 4
ชื่อไทย
ยอดจากหูยาว
ชื่อสามัญ
YELLOW PIKE-CONGER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Congresox talabon (Cuvier)
ถิ่นอาศัย
ส่วนใหญ่พบทั้งในบริเวณปากแม่น้ำ ชายฝั่งและในบริเวณที่มีระดับน้ำทะเลลึกถึง 100 เมตร ทางภาคตะวันออก และชายฝั่งอ่าวไทย ภาคใต้ พบมากที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และจังหวัดสงขลา
อาหาร
กินเนื้อสัตว์ และซากสัตว์น้ำอื่น ๆ
ขนาด
ความยาวประาณ 60-80 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นอาหารที่มีราคาแพง

 


ภาพที่ 5
ชื่อไทย
ริวกิว, เลียวเซียว, ลู่ทู่
ชื่อสามัญ
GIANT CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Arius thalassinus
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามดินเป็นโคลน โคลนเหลว บางครั้งพบในบริเวณปากแม่น้ำ พบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณหน้าดิน
ขนาด
พบทั่วไปมีความยาว 30-40 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาวถึง 1.20 เมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดีและทำเป็นปลาเค็ม

 


ภาพที่ 6
ชื่อไทย
โรนันจุดขาว
ชื่อสามัญ
WHITE-SPOTTED SHOVELNOSE RAY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rhynchobatus djiddensis Gunther
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามพื้นทะเลหากินบริเวณชายฝั่ง พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล
ขนาด
ความยาวประมาณ 60-180 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร

 


ภาพที่ 7
ชื่อไทย
ลิ้นหมา, ลิ้นหมาเกล็ดใหญ่
ชื่อสามัญ
LARGESCALE TONGUE SOLE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cynoglossus macrolepidotus (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
พบในบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป เช่น จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี ภูเก็ตและระนอง
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามบริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร โดยนำมาใส่เกลือตากแห้ง

 


ภาพที่ 8
ชื่อไทย
อานม้า, สลิดหิน
ชื่อสามัญ
DAMSEL FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dascyllus aruanus (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามแนวปะการังและชายทะเลที่มีดอกไม้ทะเล พบในอ่าวไทย
อาหาร
เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันในตู้กระจก

 


ภาพที่ 9
ชื่อไทย
สลิดหินแขก
ชื่อสามัญ
STREAKED SPINEFOOT
ชื่อวิทยาศาสตร์
Siganus javus (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
พื้นท้องทะเลและกองหิน แพร่กระจายในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
อาหาร
สัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร

 


ภาพที่ 10
ชื่อไทย
สลิดหินจุดขาว
ชื่อสามัญ
WHITESPOTTED SPINEFOOT
ชื่อวิทยาศาสตร์
Siganus canaliculatus
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามหน้าดินก้นทะเลตามแถบบริเวณกองหินและในหมู่หินปะการังทั่วไป พบมากในแถบจังหวัด สงขลา สุราษฏร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรีและระยอง
อาหาร
กินแพลงค์ตอน แมลงน้ำและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
ขนาด
โดยทั่วไปจะมีความยาวประมาณ 11-19 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อย

 


ภาพที่ 11
ชื่อไทย
สายรุ้ง
ชื่อสามัญ
BLUE-BANDED WHIPTAIL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pentapus setosus Cuvier & Valenciennes
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามหน้าดิน บริเวณที่พบได้แก่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
อาหาร
พืชไม้น้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็กและซากพืชซากสัตว์
ขนาด
ความยาวประมาณ 14-22 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร

 


ภาพที่ 12
ชื่อไทย
สีกุนตาพอง
ชื่อสามัญ
BIGEYE SCAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caranx crumenophthalmus (Bloch)
ถิ่นอาศัย
อยู่รวมกันเป็นฝูงอาศัยอยู่ตามผิวน้ำและกลางน้ำบริเวณชายฝั่งทะเล
อาหาร
แพลงค์ตอนและสัตว์น้ำซึ่งมีขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-23 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภคและทำปลาตากแห้ง

 


ภาพที่ 13
ชื่อไทย
สีกุนทองตาวัว
ชื่อสามัญ
OXEYE SCAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Selar boops Bleeker
ถิ่นอาศัย
เป็นปลารวมฝูง ชอบอยู่ในบริเวณกลางน้ำในบริเวณอ่าวไทยหลังสวน เกาะเต่า
อาหาร
แพลงค์ตอนและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวโดยทั่วไป 14-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อย

 


ภาพที่ 14
ชื่อไทย
ไส้ตันหลังแถบ
ชื่อสามัญ
COMMERSON'S ANCHOVY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Stolephorus commersonii Lacepede
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามผิวน้ำตามแถบชายฝั่งทะเลทั่วไป ทั้งในประเทศไทยและชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา อินเดีย เอธิโอเปีย
อาหาร
กินแพลงค์ตอน ไข่ของแมลงและแมลงน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
ในประเทศไทย นิยมใช้ทำน้ำปลา

 


ภาพที่ 15
ชื่อไทย
อีโต้มอญ, หน้ามอม, อีโต้
ชื่อสามัญ
COMMON DLOPHINFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Coryphaena hippurus Linnaeus
ถิ่นอาศัย
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงละไม่มากตัว อยู่ตามใต้เรือ แพ ขอนไม้และสิ่งอื่น ๆ ที่ล่องลอยอยู่ในทะเล พบทั่วไปทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
ขนาด
ที่พบทั่วไปมีความยาว 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร
ประโยชน์
จัดเป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมส์กีฬา เนื้อใช้เป็นอาหารได้ดี

 


ภาพที่ 16
ชื่อไทย
หมูสีฟ้า
ชื่อสามัญ
STARRY EMPEROR
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lethrinus nebulosus (Forskal)
ถิ่นอาศัย
ตามหน้าดินบริเวณชายฝั่งทะเลตื้น ๆ
อาหาร
ลูกกุ้ง ลูกปลา ที่อยู่ตามหน้าดิน
ขนาด
โดยทั่วไป 20-65 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร

 


ภาพที่ 17
ชื่อไทย
เหลืองปล้องหม้อ
ชื่อสามัญ
BLUE AND GOLD FUSILIER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caesio caerulaureus Lacepede
ถิ่นอาศัย
ตามกองหินใต้น้ำ ข้างเกาะที่เป็นน้ำใส พื้นท้องทะเลที่เป็นหิน ปะการัง ทรายและที่มีความเค็มของน้ำทะเล
อาหาร
พืชน้ำและแมลง
ขนาด
ความยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร

 


ภาพที่ 18
ชื่อไทย
หัวแบนด่าง
ชื่อสามัญ
SPOTTED FLATHEAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thysanophrys crocodilus
ถิ่นอาศัย
พบบริเวณหน้าดินที่เป็นโคลนเลน พบห่างฝั่งตั้งแต่ 40-100 ม.พบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
สัตว์น้ำวัยอ่อน
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร

 


ภาพที่ 19
ชื่อไทย
หางกิ่วหม้อ
ชื่อสามัญ
DUSKY JACK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard
ถิ่นอาศัย
ตามทะเลเปิดทั่วไป บางครั้งจะเข้ามาอาศัยอยู่ตามโป๊ะ อยู่รวมกันเป็นฝูง พบมากบริเวณช่องเกาะคราม แสมสาร เกาะเต่าและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
ปลาขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลามีรสดี ใช้ปรุงอาหารได้

 


ภาพที่ 20
ชื่อไทย
หางแข็งบั้ง
ชื่อสามัญ
BANDED CREVALLE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caranx mate Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามทะเลเปิดทั่วไป
อาหาร
กินปลา กุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 13-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ดี นิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาเค็ม
19 เม.ย. 56 เวลา 11:36 3,140 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...