Ebolavirus

 

 

 

 

 

 

อีโบลา (อังกฤษ: Ebola) เป็นคำสามัญที่ใช้กับทั้งกลุ่มของไวรัสที่อยู่ในสกุลอีโบราไวรัส (Ebolavirus) วงศ์ ฟิโลไวลิเดอี (Filoviridae) และใช้กับโรคที่ไวรัสชนิดนี้ก่อขึ้นคือโรค "ไข้เลือดออกอีโบลา" (Ebola hemorrhagic fever) ลักษณะของไวรัสจะเป็นรูปเส้นยาวล้อมด้วยลิปิดหรือไขมันตัวห่อหุ้มไวรัส (viral envelope) ไวรัสอีโบลามีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสมาร์เบิร์ก (Marburg virus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ฟิโลไวลิเดอีเช่นเดียวกัน และยังมีอาการของโรคคล้ายคลึงกันด้วย โรคระบาดอีโบลาสร้างปัญหาที่หนักและร้ายแรงและเป็นที่กล่าวขวัญมากกันที่สุด นับตั้งแต่เมื่อถูกค้นพบในการระบาดครั้งแรก รวมทั้งการถูกนำไปทำภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญ

เชื่อว่าอีโบลาเป็นไวรัสประเภทซูโนติก (zoonoticvirus -ผ่านจากสัตว์ไปยังคน) แม้องค์การอนามัยโลกจะได้พยายามอย่างหนักก็ยังไม่สามารถบอกได้โดยชัดเจนว่าสัตว์ชนิดใดเป็นตัวพาหะคาดเพียงว่าน่าจะเป็นค้างคาวประเภทกินผลไม้

เนื่องจากยังไม่อาจทราบได้ว่าสัตว์ชนิดใดเป็นพาหะของไวรัส องค์การอนามัยโลกจึงวางมาตรการเข้มงวดกำหนดให้จัดไวรัสอีโบลาไว้เป็น "ความปลอดภัยชีวภาพ ระดับ 4" (Biosafety Level 4) ซึ่งจะต้องจัดการห่อหุ่มในการขนย้ายและจัดเก็บด้วยความระมัดระวังอย่างสูง

ไข้เลือดออกอีโบลามีความร้ายแรงถึงเสียชีวิตเนื่องจากยังไม่มี วัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันและรักษาได้ นอกจากถูกจัดด้านการระมัดระวังไว้ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพไว้ที่ระดับ 4 แล้ว อีโบลา ยังถูกจัดเป็นตัวการที่อาจใช้ "ก่อการร้ายทางชีวภาพประเภท ก" (Category A bioterrorism) อีกด้วยโดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ขององค์การอนามัยโรคด้วย ไวรัสอีโบลามีศักยภาพที่จะนำมาใช้พัฒนาเป็นอาวุธได้ในสงครามชีวภาพทั้งโดย ฝ่ายสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ ประสิทธิภาพของอีโบลาได้แก่ความร้ายแรงที่สูงมากและความรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้กับหมู่บ้านเล็กๆ หรือโรงพยาบาลซึ่งเมื่อฆ่าประชากรทั้งหมดก็จะเผาทำลายให้หยุดก่อนระบาด เข้าไปในชุมชนที่ใหญ่

อาการโรคและการติดโรค
ภาพพยาบาลสองคนถ่ายในโรงพยาบาลเมืองคินชาซาเมื่อ พ.ศ. 2519 กำลังยืนอยู่หน้าเตียงคนไข้รายที่ 3 ซึ่งเป็นพยาบาลที่ติดโรค เธอได้รับการรักษาแต่ก็เสียชีวิต

อาการของโรคมีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน อาการแรกเริ่มได้แก่การมีไข้สูง (อย่างต่ำ 38.8°C หรือ 102°F) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อและช่องท้องรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกๆ ที่เกิดการระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักมากมักวินิจฉัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไข้หวัดใหญ่ รวทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียซึ่งมีอาการคล้ายคลึงแต่ไม่รุนแรงถึงชีวิต

อาการอาจรุนแรงลามถึงขั้นร้ายขึ้น เช่นอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและดับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% - 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย

การรักษา
หอผู้ป่วยแยกในโรงพยาบาลที่เมือง...ลู อูกานดา เมื่อคราวการระบาดเมื่อ พ.ศ. 2543

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบลา มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็ง ตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซำซ้อน (ถ้ามี)

#Ebolavirus
hanachoi
Screenwriter
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
18 เม.ย. 56 เวลา 13:49 2,466 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...